วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การฝึกว่ายนำ้

ฝึกทักษะการว่ายน้ำเบื้องต้นอย่างง่าย ฝึกทักษะการว่ายน้ำเบื้องต้นอย่างง่ายครับ สำหรับคนที่ว่ายน้ำไม่เป็น ลองไปหัดดูนะครับ ถ้าเกิดน้ำท่วมใหญ่มา อย่างน้อยจะพอปะทัง เอาตัวรอดได้ ... ส่วนใหญ่ของสาเหตุของคนที่ไม่กล้าว่ายน้ำ .... - กลัวจม - กลัวหายใจไม่ออก - เกร็งและตื่นตระหนกขณะว่ายน้ำ - แม้กระทั่งมีความหลังฝังใจในการจมน้ำ ทั้งปัจจุบัน และ อดีตที่ผ่านมา ... ฉนั้นสำหรับใครที่อยากว่ายน้ำได้หรือแบบเอาแค่ตกน้ำแล้วเอาตัวรอดได้หละก็ทำตามขั้นตอนง่ายๆดังนี้ < ฝึกหายใจเข้าออกขณะอยู่ในน้ำ หรือ ภาษาว่ายน้ำเรียกว่า "ปั้มลม" > วิธีการง่ายๆเลย - ให้จับขอบสระไว้ทั้งสองมือในเอาริมที่ตื้นๆที่เรายืนได้ก่อน - หายใจเข้าเหนือผิวน้ำให้เต็มปอด - แล้วนั่งยองๆลงไปในน้ำ ปล่อยลมหายใจออกใต้น้ำ โดยให้ค่อยๆหายใจออก - เมื่อลมใกล้จะหมดก็ให้ขึ้นมาหายใจให้เต็มปอดอีกครั้ง - ทำสลับกันไปเรื่อยๆเป็นจังหวะช้าๆ เพื่อทำความคุ้นเคยกับการหายใจออกใต้ผิวน้ำ < ฝึกเหยียดตัวตรงตีเท้าในน้ำ > หลังจากที่เราฝึกปั้มน้ำจนชินแล้ว ก็เปลี่ยนจากท่าลุกนั่งไปเป็นเกาะขอบสระเหยียดตัวตรง - เริ่มด้วยท่าเดิมคือเกาะขอบสระฝั่งที่ตื้นๆไว้ก่อน - จากนั้นเมื่อพร้อมก็ให้หายใจเข้าแล้วเหยียดตัวตรงในท่าคว่ำหน้าลงไปในน้ำ โดยยังไม่ต้องตีขาก่อน - ค่อยๆหายใจออกเหมือนในท่าลุกนั่ง - เมื่อลมใกล้หมด ให้เงยหน้าขึ้นตรงๆแล้วหายใจเข้า เหมือนท่าเรานอนอ่านหนังสือนั่นแหละครับ - จากนั้นก็ทำสลับกันไปชนจินในจังหวะหายใจของเราแล้ว - เมื่อชินกับจังหวะหายใจด้วยท่าเหยียดตรงคว่ำหน้าแล้ว - ก็ให้เพิ่มการตีขาสลับซ้ายขวา ขึ้นลง ช้าๆร่วมเข้าไปกับการฝึกหายใจด้วยไป - ข้อควรระวังคือ ให้ตีขาสลับแบบช้าๆไปก่อนจนชินแล้วค่อยๆเพิ่มความเร็วกันไป อย่าเพิ่งไปตีขาเร็วๆ เพราะจำให้เราเสียจังหวะจนทำให้เราสำลักน้ำได้ < ฝึกลอยตัวในน้ำด้วยโฟม > หลังจากเราคุ้นเคยกับการหายใจด้วยการลุกนั่งกับยืดตัวที่ขอบสระแล้วก็ลองใช้โฟมกันดู - หาโฟมว่ายน้ำสักแผ่นเอาแบบที่เราจับเหมาะๆนะ - ทีนี้เราจะหันหน้าออกสระน้ำกันแล้ว เอาง่ายๆก่อนเลย - ถือโฟมแล้วเดินออกไปจากขอบสระประมาณ 5 เมตรก่อน แล้วหันหน้ากลับเข้าขอบสระ - ถือโฟมเหยียดแขนตรงเหมือนว่าเราจะตีเท้าที่ขอบสระแล้ว - จากนั้นก็เริ่มใช้ท่าเหยียดตรงนั้นแหละครับ มือถือโฟมเหยียดไปข้างหน้าพร้อมกับค่อยๆตีเท้าไปแบบไม่ช้าไม่เร็ว - เพราะถ้าช้าไปตัวอาจจะจมได้ และ ถ้าเร็วไปก็จะทำให้ตัวเราไม่นิ่งซึ่งอาจจะส่งผลให้ตกใจได้ - เมื่เริ่มตีเท้าจากจุด 5 เมตรแล้ว ให้ตีเท้าสลับเงยหน้าหายใจตามจังหวะของเราไปเรื่อยๆๆๆๆๆๆ - จนถึงขอบสระ ก็ถือว่าสำเร็จ เย้ๆๆๆ - ทำในระยะ 5 เมตรนี้ไปเรื่อยๆ จนชิน ก็ค่อยๆเพิ่มระยะไปเป็น 10 15 20 25 หรือตามแต่จะวางแผนกันไปครับ - ฝึกบ่อยบ่อยให้เชี่ยวชาญ ได้ท่าเดียวให้รอดก็พอแล้วครับ สมาชิก 39 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ปาฏิหาริย์ ในข้อความที่เขียนด้านบน sponsor links 03-08-2008, 12:08 PM #2 ปาฏิหาริย์ สมาชิก วันที่สมัคร: Jan 2006 ข้อความ: 1,293 Groans: 8 Groaned at 2 Times in 2 Posts ได้ให้อนุโมทนา: 9,783 ได้รับอนุโมทนา 15,647 ครั้ง ใน 1,258 โพส พลังการให้คะแนน: 494 ส่วนวิธีปฐมพยาบาล คนจมน้ำ ถ้าว่ายน้ำเป็นกันแล้ว ลองมาดูวิธีการปฐมพยาบาลคนจมน้ำบ้าง การจมน้ำ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยและมีความรุนแรง มักจะทำให้ตายในเวลาเพียงไม่กี่นาที มักเกิดกับ เด็กเล็ก และคนที่ว่ายน้ำไม่เป็น อาจเกิดจากอุบัติเหตุ (เช่น ตกน้ำ เรือคว่ำ เรือชน) เมาเหล้า โรคลมชัก โรคหัวใจวาย หรืออื่น ๆ คนที่จมน้ำมักจะตายเนื่องจากขาดอากาศหายใจ เพราะสำลักน้ำ บางคนอาจตายเนื่องจากภาวะ เกร็งของกล่องเสียง (laryngospasm) ทำให้หายใจไม่ได้ สาเหตุเหล่านี้มักจะทำให้คนที่จมน้ำ ตาย ภายใน 5-10 นาที คนที่จมน้ำถึงแม้จะรอดมาได้ในระยะแรก แต่ก็อาจ จะตายเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนในภายหลังได้ เช่น ปอดอักเสบ การเปลี่ยนแปลงของระดับเกลือแร่ในร่างกาย ภาวะเลือดเป็นกรด ภาวะปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) ภาวะปอดไม่ทำงาน (ปอดล้ม ปอดวาย) เป็นต้น ภาวะเหล่านี้มักเกิดขึ้นไม่ต่างกันมากนัก ทั้งในพวกที่จมน้ำจืด (แม่น้ำ ลำคลอง บ่อ สระน้ำ) และพวก ที่จมน้ำทะเล รวมทั้งอาการแสดงและการรักษาก็ไม่ต่างกันมาก ข้อแตกต่าง คือ น้ำจืดจะมีความเข้มข้นน้อยกว่า เลือด(พลาสมา) ดังนั้น ถ้ามีน้ำอยู่ในปอดจำนวนมาก ก็จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดทันที ทำให้ปริมาตรของเลือดที่ไหลเวียนเพิ่มจากเดิม (hypervolemia) มีผลทำให้ระดับเกลือแร่ (เช่น โซเดียม โพแทสเซียม) ในเลือดลดลง ซึ่งอาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจวายได้ นอกจากนี้ ยังอาจเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (hemolysis) ได้อีกด้วย ส่วนน้ำทะเลจะมีความเข้มข้นมากกว่าเลือด น้ำทะเลที่สำลักอยู่ในปอด จะดูดซึมน้ำเลือด (พลาสมา) จากกระแสเลือดเข้าไปในปอด ทำให้เกิดภาวะปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) ระบบไหลเวียนมี ปริมาตรลดลง (hypovolemia) และระดับเกลือแร่ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจวาย หรือเกิดภาวะช็อกได้ แต่อย่างไรก็ตาม คนที่จมน้ำมักตาย เนื่องจากขาดอากาศหายใจมากกว่า การเปลี่ยนแปลงของระดับ เกลือแร่ และปริมาตรของเลือด อาการ คนที่จมน้ำมักจะมีอาการหมดสติ และหยุดหายใจ บางคนหัวใจอาจหยุดเต้น (คลำชีพจรไม่ได้) ร่วมด้วย ถ้าไม่ถึงกับหมดสติ ก็อาจมีอาการปวดศรีษะ เจ็บหน้าอก อาเจียน กระวนกระวาย หรือ ไอมีฟองเลือดเรื่อ ๆ (ซึ่งแสดงว่ามีภาวะปอดบวมน้ำ) บางคนอาจตรวจพบภาวะหัวใจเต็นเร็วผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันเลือดต่ำ หรือภาวะช็อก การรักษา การปฐมพยาบาล การช่วยเหลือคนที่จมน้ำอย่างถูกต้องก่อนส่งไปโรงพยาบาล มีผลต่อความเป็นความตายของผู้ป่วย มาก ควรแนะนำวิธีปฐมพยาบาลดังนี้ 1. ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้ทำการเป่าปาก ช่วยหายใจทันที อย่ามัวเสียเวลาในการพยายามเอาน้ำออกจาก ปอดของผู้ป่วย (เช่น การจับแบก พาดบ่า) หรือทำการผายปอดด้วยวิธีอื่น เพราะจะไม่ทันกาลและไม่ได้ผล ถ้าเป็นไปได้ ควรลงมือเป่าปาก ตั้งแต่ก่อนขึ้นฝั่ง เช่น หลังจากพาขึ้นบนเรือ หรือพาเข้าที่ตื้น ๆ ได้ แล้ว เมื่อขึ้นบนฝั่งแล้ว ให้ทำการผายปอดด้วยการเป่าปากต่อไป จนกว่าผู้ป่วยจะหายใจได้เอง หรือพา ไปส่งถึงโรงพยาบาลแล้ว วิธีการเป่าปากโดยละเอียด ดูใน "โรคที่ 75 หมดสติ" เมื่อเริ่มเป่าปากสักพัก ถ้าหากรู้สึกว่าลมเข้าปอดได้ไม่เต็มที่เนื่องจากมีน้ำอยู่เต็มท้อง อาจจับผู้ป่วยนอนคว่ำ แล้วใช้มือ 2 ข้าง วางอยู่ใต้ท้องผู้ป่วย ยกท้องผู้ป่วยขึ้นจะช่วยไล่น้ำออกจากท้องให้ไหลออกทางปากได้ แล้วจับผู้ป่วยพลิกหงาย และทำการเป่าปากต่อไป 2. ถ้าคลำชีพจรไม่ได้ หรือหัวใจหยุดเต้น ให้ทำการนวดหัวใจทันที 3. ถ้าผู้ป่วยยังหายใจได้เอง หรือช่วยเหลือจนหายใจได้แล้ว ควรจับผู้ป่วยนอนตะแคงข้าง และศีรษะ หงายไปข้างหลัง เพื่อให้น้ำไหลออกทางปาก ใช้ผ้าห่มคลุมผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความอบอุ่น อย่าให้ ผู้ป่วยกินอาหารและดื่มน้ำทางปาก 4. ควรส่งผู้ป่วยที่จมน้ำไม่ว่าจะมีอาการหนักเบาเพียงใด ไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลทุกราย ในรายที่หมดสติและหยุดหายใจ ควรผายปอด ด้วยวิธีเป่าปากไปตลอดทาง อย่าเพิ่งรู้สึกหมดหวัง แล้วหยุดให้การช่วยเหลือ (เคยพบว่า การเป่าปากนานเป็นชั่วโมง ๆ สามารถช่วยให้ผู้ป่วยรอดและ หายขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าจมน้ำที่มีความเย็น อุณหภูมิต่ำกว่า 70 ํฟ. หรือ 21.1 ํ ซ.) การรักษา ควรรับผู้ป่วยไว้รักษาที่โรงพยาบาลทุกราย ไม่ว่าจะมีอาการหนักเบาเพียงใด เพื่อเฝ้าสังเกตอาการ และหาทางป้องกันและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ควรเจาะเลือดตรวจระดับแก๊สในเลือด และตรวจหาความเข้มข้นของเกลือแร่ เอกซเรย์ดูว่า มีการ อักเสบของปอด หรือปอดแฟบหรือไม่ หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ การรักษา ให้ออกซิเจน, ต่อเครื่องช่วยหายใจ ให้น้ำเกลือ พลาสมาหรือเลือด ถ้ามีภาวะหัวใจวายก็จะให้ยาขับปัสสาวะและ ยารักษาโรคหัวใจ (เช่น ลาน็อกซิน) ถ้ามีปอดอักเสบ จะให้ยาปฏิชีวนะ และสเตอรอยด์ ข้อแนะนำ 1. วิธีผายปอดแก่ผู้ป่วยจมน้ำที่แนะนำในปัจจุบัน คือ วิธีการเป่าปาก และให้ลงมือทำให้เร็วที่สุด อย่าเสียเวลาในการจับแบกพาดบ่าเพื่อเอาน้ำออกจากปอด ดังที่เคยแนะนำกันในสมัยก่อน ส่วนการผายปอดด้วยมือ เช่น วิธีของซิลเวสเตอร์ (Silvester method ) หรือวิธีของโฮลเกอร์นีลเซน (Holger Nielsen method) เป็นต้น ไม่แนะนำให้ทำ เพราะได้ผลน้อย 2. ผู้ป่วยที่จมน้ำทุกรายไม่ว่าจะหมดสติ หรือหยุดหายใจหรือไม่ก็ตาม ควรพักรักษาตัวใน โรงพยาบาลอย่างน้อย 24-72 ชั่วโมง เพื่อเฝ้าระวัง ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในเวลาต่อมา การป้องกัน ควรหาทางป้องกัน โดย 1. ระวังอย่าให้เด็กเล็กเล่นน้ำหรือเล่นในบริเวณ ใกล้กับน้ำตามลำพัง 2. ควรส่งเสริมให้เด็กฝึกว่ายน้ำให้เป็น 3. เวลาลงเรือหรือออกทะเล ควรเตรียมชูชีพไว้ให้พร้อมเสมอ 4. คนที่เมาเหล้า หรือเป็นโรคลมชัก ห้ามลงเล่นน้ำ ที่มา http://www.thailabonline.com/accident.html สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ปาฏิหาริย์ ในข้อความที่เขียนด้านบน 03-08-2008, 05:23 PM #3 sutatip_b สมาชิก วันที่สมัคร: Aug 2007 ข้อความ: 3,355 Groans: 3 Groaned at 30 Times in 26 Posts ได้ให้อนุโมทนา: 20,360 ได้รับอนุโมทนา 58,939 ครั้ง ใน 3,319 โพส พลังการให้คะแนน: 2986 อ้างอิง: ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ปาฏิหาริย์ ฝึกทักษะการว่ายน้ำเบื้องต้นอย่างง่ายครับ สำหรับคนที่ว่ายน้ำไม่เป็น ลองไปหัดดูนะครับ ถ้าเกิดน้ำท่วมใหญ่มา อย่างน้อยจะพอปะทัง เอาตัวรอดได้ ... ส่วนใหญ่ของสาเหตุของคนที่ไม่กล้าว่ายน้ำ .... - กลัวจม - กลัวหายใจไม่ออก - เกร็งและตื่นตระหนกขณะว่ายน้ำ - แม้กระทั่งมีความหลังฝังใจในการจมน้ำ ทั้งปัจจุบัน และ อดีตที่ผ่านมา ... ฉนั้นสำหรับใครที่อยากว่ายน้ำได้หรือแบบเอาแค่ตกน้ำแล้วเอาตัวรอดได้หละก็ทำตามขั้นตอนง่ายๆดังนี้ < ฝึกหายใจเข้าออกขณะอยู่ในน้ำ หรือ ภาษาว่ายน้ำเรียกว่า "ปั้มลม" > วิธีการง่ายๆเลย - ให้จับขอบสระไว้ทั้งสองมือในเอาริมที่ตื้นๆที่เรายืนได้ก่อน - หายใจเข้าเหนือผิวน้ำให้เต็มปอด - แล้วนั่งยองๆลงไปในน้ำ ปล่อยลมหายใจออกใต้น้ำ โดยให้ค่อยๆหายใจออก - เมื่อลมใกล้จะหมดก็ให้ขึ้นมาหายใจให้เต็มปอดอีกครั้ง - ทำสลับกันไปเรื่อยๆเป็นจังหวะช้าๆ เพื่อทำความคุ้นเคยกับการหายใจออกใต้ผิวน้ำ < ฝึกเหยียดตัวตรงตีเท้าในน้ำ > หลังจากที่เราฝึกปั้มน้ำจนชินแล้ว ก็เปลี่ยนจากท่าลุกนั่งไปเป็นเกาะขอบสระเหยียดตัวตรง - เริ่มด้วยท่าเดิมคือเกาะขอบสระฝั่งที่ตื้นๆไว้ก่อน - จากนั้นเมื่อพร้อมก็ให้หายใจเข้าแล้วเหยียดตัวตรงในท่าคว่ำหน้าลงไปในน้ำ โดยยังไม่ต้องตีขาก่อน - ค่อยๆหายใจออกเหมือนในท่าลุกนั่ง - เมื่อลมใกล้หมด ให้เงยหน้าขึ้นตรงๆแล้วหายใจเข้า เหมือนท่าเรานอนอ่านหนังสือนั่นแหละครับ - จากนั้นก็ทำสลับกันไปชนจินในจังหวะหายใจของเราแล้ว - เมื่อชินกับจังหวะหายใจด้วยท่าเหยียดตรงคว่ำหน้าแล้ว - ก็ให้เพิ่มการตีขาสลับซ้ายขวา ขึ้นลง ช้าๆร่วมเข้าไปกับการฝึกหายใจด้วยไป - ข้อควรระวังคือ ให้ตีขาสลับแบบช้าๆไปก่อนจนชินแล้วค่อยๆเพิ่มความเร็วกันไป อย่าเพิ่งไปตีขาเร็วๆ เพราะจำให้เราเสียจังหวะจนทำให้เราสำลักน้ำได้ < ฝึกลอยตัวในน้ำด้วยโฟม > หลังจากเราคุ้นเคยกับการหายใจด้วยการลุกนั่งกับยืดตัวที่ขอบสระแล้วก็ลองใช้โฟมกันดู - หาโฟมว่ายน้ำสักแผ่นเอาแบบที่เราจับเหมาะๆนะ - ทีนี้เราจะหันหน้าออกสระน้ำกันแล้ว เอาง่ายๆก่อนเลย - ถือโฟมแล้วเดินออกไปจากขอบสระประมาณ 5 เมตรก่อน แล้วหันหน้ากลับเข้าขอบสระ - ถือโฟมเหยียดแขนตรงเหมือนว่าเราจะตีเท้าที่ขอบสระแล้ว - จากนั้นก็เริ่มใช้ท่าเหยียดตรงนั้นแหละครับ มือถือโฟมเหยียดไปข้างหน้าพร้อมกับค่อยๆตีเท้าไปแบบไม่ช้าไม่เร็ว - เพราะถ้าช้าไปตัวอาจจะจมได้ และ ถ้าเร็วไปก็จะทำให้ตัวเราไม่นิ่งซึ่งอาจจะส่งผลให้ตกใจได้ - เมื่เริ่มตีเท้าจากจุด 5 เมตรแล้ว ให้ตีเท้าสลับเงยหน้าหายใจตามจังหวะของเราไปเรื่อยๆๆๆๆๆๆ - จนถึงขอบสระ ก็ถือว่าสำเร็จ เย้ๆๆๆ - ทำในระยะ 5 เมตรนี้ไปเรื่อยๆ จนชิน ก็ค่อยๆเพิ่มระยะไปเป็น 10 15 20 25 หรือตามแต่จะวางแผนกันไปครับ - ฝึกบ่อยบ่อยให้เชี่ยวชาญ ได้ท่าเดียวให้รอดก็พอแล้วครับ จัดฝึกจริงเลยไหมคะ จะได้เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์บุญหมายเลข ๒ __________________ สมาชิก 22 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ sutatip_b ในข้อความที่เขียนด้านบน 05-08-2008, 12:00 AM #4 ปาฏิหาริย์ สมาชิก วันที่สมัคร: Jan 2006 ข้อความ: 1,293 Groans: 8 Groaned at 2 Times in 2 Posts ได้ให้อนุโมทนา: 9,783 ได้รับอนุโมทนา 15,647 ครั้ง ใน 1,258 โพส พลังการให้คะแนน: 494 จัดตอนไป ตาฮิติ เมืองไทย อีกรอบ ดีไหมครับ อาจารย์ไก่ สมาชิก 15 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ปาฏิหาริย์ ในข้อความที่เขียนด้านบน 05-08-2008, 11:43 AM #5 monsodsai2 สมาชิก วันที่สมัคร: Oct 2006 ข้อความ: 116 Groans: 1 Groaned at 0 Times in 0 Posts ได้ให้อนุโมทนา: 5,662 ได้รับอนุโมทนา 2,152 ครั้ง ใน 127 โพส พลังการให้คะแนน: 131 อ้างอิง: ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ปาฏิหาริย์ จัดตอนไป ตาฮิติ เมืองไทย อีกรอบ ดีไหมครับ อาจารย์ไก่ เห็นด้วยค่ะ คราวนี้จะไม่ยอมให้พลาดเลย...หุ.หุ...จะเตรียมผ้าถุงไปตีโป่งด้วยนะเอย..นะเอย...อิ.อิ... __________________ " พุทโธ เมนาโถ พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของเรา ธัมโม เมนาโถ พระธรรมเป็นที่พึ่งของเรา สังโฆ เมนาโถ พระสงฆ์เป็นที่พึ่งของเรา " สมาชิก 15 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ monsodsai2 ในข้อความที่เขียนด้านบน 06-08-2008, 09:45 PM #6 เมทิกา สมาชิก วันที่สมัคร: Jun 2008 ข้อความ: 249 Groans: 18 Groaned at 1 Time in 1 Post ได้ให้อนุโมทนา: 3,739 ได้รับอนุโมทนา 2,208 ครั้ง ใน 249 โพส พลังการให้คะแนน: 78 อายจัง แต่ก็ว่ายน้ำไม่เป็นแหละ (ผลของการโดดเรียนว่ายน้ำตั้งแต่ตอนเป็นเด็ก) __________________ http://twitter.com/a_rai_wa_thalok ตามมาทวีตกันได้ สมาชิก 14 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เมทิกา ในข้อความที่เขียนด้านบน 07-08-2008, 06:02 AM #7 marine24 สมาชิก วันที่สมัคร: Aug 2005 อายุ: 51 ข้อความ: 2,182 Groans: 22 Groaned at 9 Times in 8 Posts ได้ให้อนุโมทนา: 19,738 ได้รับอนุโมทนา 21,361 ครั้ง ใน 1,715 โพส พลังการให้คะแนน: 1572 ตอนนี้ต้องเริ่มฝึกแล้วครับ เพราะแนวโน้มมีโอกาสเจอภัยทางน้ำ คนที่ว่ายน้ำไม่เป็นจะลำบากและเสี่ยงมาก แม้คนที่ว่ายน้ำเป็น ถ้าทิ้งไปนาน 2-3 ปี(ไม่เคยไปว่ายน้ำเลย) จะเหนื่อยมากไปว่ายแค่ 30 - 50 เมตร เพราะการว่ายน้ำจะใช้กำลังจากแขน 70 % (ผมเอง ไปว่ายน้ำที่ระยอง หอบแหกๆเลย) สมาชิก 15 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ marine24 ในข้อความที่เขียนด้านบน 07-08-2008, 08:18 AM #8 ปาฏิหาริย์ สมาชิก วันที่สมัคร: Jan 2006 ข้อความ: 1,293 Groans: 8 Groaned at 2 Times in 2 Posts ได้ให้อนุโมทนา: 9,783 ได้รับอนุโมทนา 15,647 ครั้ง ใน 1,258 โพส พลังการให้คะแนน: 494 งานนี้ต้องพี่มารีน มาช่วยแนะนำน้องน้องกันแล้ว อ้างอิง: ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ marine24 ตอนนี้ต้องเริ่มฝึกแล้วครับ เพราะแนวโน้มมีโอกาสเจอภัยทางน้ำ คนที่ว่ายน้ำไม่เป็นจะลำบากและเสี่ยงมาก แม้คนที่ว่ายน้ำเป็น ถ้าทิ้งไปนาน 2-3 ปี(ไม่เคยไปว่ายน้ำเลย) จะเหนื่อยมากไปว่ายแค่ 30 - 50 เมตร เพราะการว่ายน้ำจะใช้กำลังจากแขน 70 % (ผมเอง ไปว่ายน้ำที่ระยอง หอบแหกๆเลย) สมาชิก 12 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ปาฏิหาริย์ ในข้อความที่เขียนด้านบน 08-08-2008, 01:25 AM #9 ชนินทร พลังจิตนานาชาติ วันที่สมัคร: Oct 2007 ข้อความ: 1,914 Groans: 6 Groaned at 3 Times in 3 Posts ได้ให้อนุโมทนา: 12,294 ได้รับอนุโมทนา 22,176 ครั้ง ใน 1,608 โพส พลังการให้คะแนน: 715 แล้วสำหรับคนที่ว่ายน้ำเป็น... แต่ลงน้ำทีไร... ขาเป็นตะคริวทุกที (ทั้งๆ ที่เล่นกีฬาอย่างอื่นเป็นปกตินะคะ)... ควรทำอย่างไรดีค่ะ... ขอบพระคุณค่ะ... __________________ "บุญกุศลและความดีทั้งหลายที่ข้าพเจ้าและสมาชิกพลังจิตพิชิตภัยพิบัติได้สร้างได้บำเพ็ญมานับแต่อดีต ปัจจุบัน และจะบำเพ็ญต่อไปในอนาคต ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายแทบพระบาทองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็นพระมหาธรรมมิกราชามหาโพธิสัตว์ผู้ทรงเปี่ยมล้นไปด้วยพระคุณอันประเสริฐ อีกทั้งองค์สมเด็จพระสังฆราช ผู้ทรงเป็นองค์พระประมุขแห่งพุทธศาสนจักร ขออำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนไตรและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วสากลจักรวาล ได้โปรดอภิบาลทั้งสองพระองค์ท่านให้ทรงพระเกษมสำราญมีพระพลานามัยที่แข็งแรง ทรงพระชนมายุยิ่งยืนนาน แผ่พระบารมีปกเกล้าชาวไทยตลอดไปด้วยเทอญ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ" สมาชิก 10 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชนินทร ในข้อความที่เขียนด้านบน 08-08-2008, 11:09 AM #10 ปาฏิหาริย์ สมาชิก วันที่สมัคร: Jan 2006 ข้อความ: 1,293 Groans: 8 Groaned at 2 Times in 2 Posts ได้ให้อนุโมทนา: 9,783 ได้รับอนุโมทนา 15,647 ครั้ง ใน 1,258 โพส พลังการให้คะแนน: 494 ตะคริว เป็นอาการหดตัวของกร้ามเนื้ออย่างรวดเร็ว มักเกิดที่น่องและต้นขา เมื่อคลำ ที่กล้ามเนื้อบริเวณที่บวดจะรู้สึกเป็นก้อนแข็งแต่จะบรรเทาปวดลงเมื่อเหยียดขาและนวดเบา ๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว หรือทำให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณนั้นดีขึ้น ตะคริวเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น คุณอาจออกกำลังกายมากเกินไป โดยที่กล้ามเนื้อ ไม่เคยได้รับการฝึกฝนมาก่อนหรือเกิดจากการไหลเวียนของหลอดเลือดไม่สะดวก เนื่องจากท่านั่ง หรือยืนที่ทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก หรือในผู้สูงอายุที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว นอกจากนี้ยามอาการเย็นก็อาจทำให้เป็นตะคริวได้ และในรายที่ขาดแคลเซียมต่ำใน เลือดหรือร่างกายที่มีการสูญเสียเกลือแร่ในร่างกายอย่างมากในขณะท้องเสีย อาเจียน หรือเหงื่อออกมาก ๆ เมื่อคุณเป็นตะคริว คุณจะรู้สึกเจ็บปวดบริเวณกล้ามเนื้ออย่างมาก การปฐมพยาบาลจะช่วย บรรเทาลงได้... ถ้าเป็นตะคริวที่น่อง ..ให้เหยียดขาข้างที่เป็นตะคริวให้ตรง ใช้มือข้าวหนึ่งยกประคองส้นเท้าและ ใช้มืออีกข้างค่อย ๆ ดันปลายเท้าขึ้นลงให้เต็มที่อย่างช้า ๆ ประมาณ 5 นาที แล้วนวดเบา ๆ ที่น่อง หรืออาจทา ครีมหรือน้ำมันเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในบริเวณนั้นไม่ควรนวดแรง ๆ เนื่องจากอาจทำให้ กล้ามเนื้อเจ็บได้และอาจเป็นตะคริวซ้ำได้อีก ถ้าเป็นตะคริวที่ต้นขา.. ให้เหยียดขาข้างที่เป็นตะคริวให้ตรง ใช้มือข้างหนึ่งยกประคองส้นเท้า อีกข้างหนึ่งกดลงบนหัวเข่าจากนั้นค่อย ๆ นวดบริเวณที่เป็นตะคริวเบา ๆ ถ้าเป็นตะคริวที่นิ้วเท้า.. ให้เหยียดนิ้วเท้าให้ตรง และลุกขึ้นยืนเข่ยงเท้า จากนั้นค่อย ๆ นวดบริเวณ นิ้วเท้าเบา ๆ ถ้าเป็นตะคริวที่นิ้วมือ.. ให้เหยียดนิ้วมือออกและค่อย ๆ นวด บริเวณนิ้วมือเบา ๆ สำหรับคนที่เป็นตะคริวบ่อย ๆ ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เวลานอนให้ยกขาสูง โดยใช้หมอนรองขา แต่ถ้าเป็น ๆ หาย ๆ บ่อยครั้งควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุแห่งการ ผิดปกติในระบบไหลเวียนของเลือดครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น