วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พระเจ้าอโศกมหาราช

may 2011 พระราชประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราช Author: dharma | Filed under: Uncategorized เพื่อให้อนุชนพุทธบริษัทได้รำลึกนึกถึงคุณูปการอันยิ่งใหญ่ต่อพระพุทธศาสนาที่พระเจ้า อโศกมหาราชทรงกระทำไว้ ขอรวบรวมประมวลข้อเขียนเกี่ยวกับเกร็ดพระราชประวัติของ พระองค์มานำเสนอไว้ในหนังสือ ก่อนอื่น พึงทราบว่าพระราชประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราชนั้นปรากฏเป็นหลักฐาน ให้อนุชนชาวพุทธได้ศึกษาค้นคว้าทั้งในคัมภีร์ภาษาบาลีของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ทั้งใน คัมภีร์ภาษาสันสกกฤตของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และจากหลักศิลาจารึกที่พระองค์ทรง โปรดให้จารจารึกบันทึกเกร็ดพระประวัติการบำเพ็ญพระจริยาวัตรของพระองค์ไว้ที่กระจายอยู่ทั่ว แผ่นดินชมพูทวีป ดังที่ท่านอาจารยิ์เสถียร โพธินันทะ นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาที่มี ชื่อเสียงของไทย ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา” ความตอนหนึ่งว่า “….พระเจ้าอโศกเป็นจักรพรรดิราชพระองค์เดียวซึ่งประกอบด้วยพระเดชและพระคุณ ตรึงตราอยู่ในความทรงจำของประชากรนับจำนวนหลายร้อยล้านคน นับตั้งแต่เบื้องปุริมกาล ตราบเท่าปัจจุบัน และจะต้องเป็นดังนี้ต่อไปอีกในอนาคต บรรดาพุทธศาสนิกชนเป็นหนี้บุญคุณ ต่อจักรพรรดิราชพระองค์นี้อย่างไม่รู้จะชดเชยได้หมด พระพุทธศาสนาได้แผ่ขยายออกไปใน นานาประเทศ ก็ด้วยอานุภาพอุปการะของพระองค์ พระองค์เป็นผู้ริเริ่มงานธรรมทูตในดินแดน นอกประเทศอินเดีย ตำนานว่าด้วยประวัติของพระเจ้าอโศก ได้ปรากฏในคัมภีร์สันสกฤตชื่อ “อโศกอวทาน” ตำนานเล่มนี้ได้เรียบเรียงขึ้นราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๕ และได้แปลออกสู่พากย์ จีน ๓ ครั้ง ครั้งแรกแปลโดยอังหวบคิม ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๗ ในรัชสมัยพระเจ้าจิ้นฮุ่ยเต้ ครั้งที่สอง แปลโดยคุณภัทร ราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๙ ครั้งที่สาม แปลโดยสังฆปาละ ราว พุทธศตวรรษที่ ๑๐ ส่วนในพากย์บาลี เราหารายละเอียดเกี่ยวกับพระเจ้าอโศกได้ในคัมภีร์ มหาวังสะ และสมันตปาสาทิกา นอกจากนี้ จริยาวัตรของพระองค์ เรายังอาจทราบได้จาก ศิลาจารึกซึ่งถูกค้นพบเรื่อยๆ ศิลาจารึกเหล่านี้มีกระจัดกระจายทั่วไปในอินเดีย จมดินจมทราย อยู่ เมื่อศิลาจารึกเหล่านี้ได้ถูกขุดค้นขึ้นมา เรื่องราวของพระเจ้าอโศกก็ยิ่งปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้น และบรรดานักปราชญ์ทั้งฝรั่งและแขกต่างค้นคว้าอ่านศิลาจารึกเหล่านั้นเป็นการใหญ่ ต่างผลิต ตำราว่าด้วยเรื่องพระเจ้าอโศกออกมาแข่งขันกัน นักเขียนคนหนึ่งชื่อ เอช. จี. เวลส์ เขียน สรรเสริญพระเจ้าอโศกว่า ในบรรดามหาราชาธิราชนับจำนวนพันๆ องค์ ที่ปรากฏพระนามใน ประวัติศาสตร์ มีแต่พระนามของพระเจ้าอโศกเท่านั้น ที่เป็นดารารุ่ง ณ เบื้องนภากาศ ซึ่งส่องสาดรัศมีนับแต่ลุ่มแม่น้ำโวลก้าจนจดประเทศญี่ปุ่น ฉะนั้น การศึกษาเรื่องราวของพระเจ้าอโศก จึงเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งซึ่งเราจะข้ามพ้นไปเสียมิได้เลย…”* และดังที่ท่านศาสตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์ วรรณปก กล่าวไว้ในบทความ “จาก พระพุทธเจ้าถึงพระเจ้าอโศกมหาราช” ความตอนหนึ่งว่า “…เรื่องราวของพระเจ้าอโศกมหาราชกับพระพุทธศาสนา แม้ทรงจารึกไว้มากมาย นำไป ประดิษฐานยังส่วนต่างๆ แห่งพระราชอาณาจักร พอสิ้นสุดยุคพระเจ้าอโศก สิ้นสุดราชวงศ์ โมริยะไม่นาน เรื่องราวเหล่านี้ก็ถูกลืม หลักฐานต่างๆ ก็ถูกทิ้งให้จมหายไปในดินเป็นศตวรรษๆ แทบไม่มีใครรู้เรื่อง นักประวัติศาสตร์อินเดียก็ดูเหมือนจงใจลืมมหาราชผู้ยิ่งใหญ่พระองค์นี้ รวมถึงพระพุทธศาสนาด้วย มาในยุคหลังนี้เท่านั้น ที่ความจริงอันจมลึกอยู่ใต้แผ่นดินถูกขุดขึ้นมาศึกษาแล้วเผยแพร่ ให้รับทราบกันโดยทั่วไป ประวัติพระพุทธศาสนา ประวัติพระเจ้าอโศก ในช่วงเวลานี้ จึงทอ แสงเจิดจ้าแจ่มแจ้ง ยากที่จะมีอะไรมาปิดบังไว้ได้ต่อไป เรื่องราวพระเจ้าอโศก และกิจกรรมที่พระเจ้าอโศกกระทำเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ไม่ ค่อยมีบันทึกไว้ในหลักฐานฝ่ายอื่นนอกจากคัมภีร์ฝ่ายเถรวาท ข้อมูลอีกส่วนหนึ่งหาได้จากศิลา จารึกของพระองค์เอง และศิลาจารึกนี้ก็ถูกละเลยให้จมดินไปเป็นศตวรรษๆ ถ้าไม่ได้นักวิชาการ ฝรั่งมาขุดขึ้นมาศึกษา ก็ไม่แน่นักว่า ชื่ออโศกมหาราชจะเด่นดังในประวัติศาสตร์อินเดียเหมือน ปัจจุบัน…”** ในการนำเสนอพระราชประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราชในที่นี้ ผู้รวบรวมเรียบเรียง นอกจากจะยึดหลักฐานข้อมูลสำนวนภาษาบาลีตามที่ พระพุทธโฆสาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ ผู้มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา รจนาไว้ในพาหิรนิทาน ตอนว่าด้วยประวัติการ ทำตติยสังคายนา แห่งคัมภีร์สมันตปสาทาทิกา ซึ่งเป็นคัมภีร์ชั้นอรรถกถา คือคัมภีร์อธิบาย ความพระวินัยปิฎก เป็นหลักในการนำเสนอแล้ว ยังได้เสริมสอดแทรกข้อความเกร็ดประวัติ พระจริยาวัตรต่างๆ ของพระองค์ตามที่นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาทั้งหลายได้คัดลอกถอด ความมาจากคัมภีร์สันสกฤตบ้าง หลักศิลาจารึกบ้าง ซึ่งสามารถสืบค้นข้อมูลได้ทางเว็บไซท์ อินเตอร์เน็ตในสังคมโลกออนไลน์ปัจจุบัน ดังต่อไปนี้ พระชาติภูมิ : ทรงเป็นกษัติรย์แห่งราชวงศ์โมริยะ นักปราชญ์ทางประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาบันทึกไว้ว่า หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับ ขันธปรินิพพานแล้ว ในปีพุทธศักราช ๑ แคว้นมคธ ที่มีกรุงราชคฤห์ เป็นนครหลวง ภายใต้ การปกครองโดยระบอบกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราช ก็ยังคงเป็นแคว้นมหาอำนาจที่มีความ เจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในอินเดียภาคกลาง เพราะสามารถรวบอำนาจการปกครองทั้งแคว้น โกศลและแคว้นวัชชีไว้ได้ โดยขณะนั้น ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าอชาตศัตรู พระราชโอรส ของพระเจ้าพิมพิสาร พุทธมามกกษัตริย์องค์สำคัญแห่งแคว้นมคธเมื่อครั้งพุทธกาล พระเจ้าอชาตศัตรูได้ทรงสร้างเมืองปาฏลีบุตร ขึ้นเพื่อใช้เป็นเมืองหน้าด่านในการ ต่อสู้กับแคว้นวัชชี ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำคงคา ต่อมาพระเจ้าอชาตศัตรูถูกพระราชโอรส สำเร็จโทษจนสวรรคต แล้วกษัตริย์ผู้ครองราชย์องค์ต่อๆ มา ได้โปรดให้ย้ายนครหลวงจากนคร ราชคฤห์มาอยู่ที่ปาฏลีบุตร จากนั้น พระนครราชคฤห์ก็เสื่อมลงๆ ในขณะที่พระนครปาฏลีบุตร ได้เจริญมากขึ้นๆ จนจัดได้ว่าเป็นหนึ่งในหกของมหานครที่ยิ่งใหญ่แห่งอินเดียโบราณ ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า กษัตริย์ในราชวงศ์พระเจ้าพิมพิสารนี้ พระโอรสทุกพระองค์ ได้สำเร็จโทษพระราชบิดา แล้วขึ้นครองราชสมบัติถึง ๕ ชั่วโคตร จนในที่สุด ประชาชนทนอยู่ ในการปกครองของกษัตริย์ในราชวงศ์นี้ไม่ได้ จึงพร้อมใจกันสำเร็จโทษกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่ง ราชวงศ์ของพระเจ้าพิมพิสาร แล้วสถาปนาให้พระเจ้าสุสูนาคเป็นกษัตริย์ปกครองต่อมา พระเจ้ากาฬาโศก ได้เสวยราชย์สืบต่อจากพระเจ้าสุสูนาค และทรงครองราชย์อยู่นาน ๒๘ ปี พระองค์ทรงมีพระโอรส ๑๐ องค์ ได้แก่ ภัทรเสน โกรัณฆวรรณ มังกร สัพพัญหะ ชาลิกะ สัญชัย อุภคะ โกรพยะ นันภิวัฑฒนะ ปัญจมตะ และพระโอรสได้ครองราชย์ต่อมา ครั้นเมื่อ พ.ศ. ๑๔๐ ราชวงศ์สุสูนาคก็สิ้นสุดลงด้วยถูกนายโจรนันทะพิฆาตจนหมดสิ้น ต่อจากนั้น นายโจรนันทะได้ตั้งราชวงศ์นันทะขึ้น โดยมีเจ้าครองนครสืบต่อกันมาอีก ๙ องค์ ดังนี้ คือ อุคคเสนนันทะ กนกนันทะ จันทคุติกนันทะ ภูตปาลนันทะ รัฏฐปาลนันทะ โควิสาณกนันทะ ทสสิทธิกนันทะ เกวฏนันทะ และธนนันทะ รวมเวลาครองราชย์อยู่ ๒๒ ปี เจ้ามหาปัทมนันทะ ผู้เป็นโอรสสืบเชื้อสายจากเจ้าธนนันทะ ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาต่อมา ๔๐ ประวัติความสำคัญของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา [กช.ผพ. อเล็กซานเดอร์มหาราชบุกอินเดีย : ในสมัยเดียวกับราชวงศ์นันทะนี่เอง ประเทศ อินเดียได้ถูกย่ำยีจากข้าศึกต่างด้าวทางยุโรป คือ กองทัพกรีก ซึ่งมีอเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรมาซิโดเนีย เป็นนายทัพ บุกเข้ามาตีประเทศอินเดียทางภาคเหนือ เข้าสู่บริเวณแถบลุ่มแม่น้ำสินธุ โดยตีกรุงตักกสิลา ในแคว้นคันธาระแตก แล้วบุกตะลุยลง มาตีแคว้นปัญจาบอเล็กซานเดอร์มหาราชถูกต่อต้านจากกองทัพของพระเจ้าเปารวะ ผู้นำทัพ ที่มีฉายาว่า “สิงห์แห่งปัญจาบ” การสู้รบเป็นไปอย่างดุเดือดบนฝั่งแม่น้ำวิตัสสะ อันเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำ สินธุ ในที่สุด พระเจ้าเปารวะพ่ายแพ้ ถูกจับเป็นเชลยศึก ต่อมาภายหลัง อเล็กซานเดอร์ มหาราชได้คืนบ้านเมืองให้แก่พระเจ้าเปารวะปกครองตามเดิม แต่อยู่ในฐานะเมืองขึ้น จากนั้น อเล็กซานเดอร์มหาราชก็ได้เตรียมการยกพลเพื่อมาตีแคว้นมคธที่มีความมั่งคั่ง สมบูรณ์ต่อไป แต่พวกนายทัพนายกองทั้งปวงเกิดแข็งข้อ ไม่ยอมเดินทัพต่อไป ทุกคนอ้างว่า อิดโรยมากและคิดถึงลูกคิดถึงเมีย อยากกลับบ้านเกิดเมืองนอน อเล็กซานเดอร์มหาราชจึงจำ พระทัยเลิกทัพกลับไปยังประเทศกรีก เมื่อเสด็จกลับถึงกรุงบาบิโลน แห่งลุ่มแม่น้ำไตกริส กับ ยูเฟรตีส ก็ได้สิ้นพระชนม์ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐ ทรงมีพระชนมายุได้เพียง ๓๓ ปีเท่านั้น จันทรคุปต์กู้ชาติ : เมื่ออเล็กซานเดอร์มหาราชตีได้บ้านเมืองใดแล้ว พระองค์ก็มักทรง แต่งตั้งให้ชาวเมืองหรือเจ้าของเดิมเป็นผู้ดูแลปกครองบ้านเมืองต่อไป และได้จัดให้นายทัพ นายกองซึ่งเป็นชาวกรีกคอยควบคุมอีกทีหนึ่ง แต่ครั้นเมื่ออเล็กซานเดอร์มหาราชสวรรคตลง บรรดาแม่ทัพนายกองทั้งหมดทั้งมวลต่างต้องการอิสรภาพ ไม่ต้องขึ้นต่ออาณาจักรกรีกในยุโรป อีกต่อไป ทุกคนต้องการเป็นตัวแทนของอเล็กซานเดอร์กันทั้งนั้น จึงทำสงครามรบพุ่งกันอย่าง ยุ่งเหยิงเป็นพัลวัน ครั้งนั้น ข้าหลวงชาวกรีกผู้หนึ่งซึ่งได้รับมอบให้กำกับควบคุมพระเจ้าเปารวะ เป็นกบฏ จับพระเจ้าเปารวะปลงพระชนม์เสีย ทำให้ชาวอินเดียโกรธแค้นลุกขึ้นจับอาวุธขับไล่ พวกชาวกรีก ในหมู่ชาวอินเดียกู้ชาติเหล่านี้ มีคนสำคัญคนหนึ่งนามว่า จันทรคุปต์ อยู่ด้วย จันทรคุปต์เป็นคนหนุ่ม ที่ใฝ่สูงและกล้าหาญ เล่ากันว่า จันทรคุปต์มีเชื้อสายโมริยะ ซึ่งสืบมาแต่ศากยวงศ์ของพระพุทธองค์ ที่หนีรอดตายมาจากสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์พวกเจ้า ศากยะที่ถือชั้นวรรณะจัดจนเป็นเหตุให้พระเจ้าวิฑูฑภะ กษัตริย์แห่งแคว้นโกศล พระโอรสของ พระเจ้าปเสนทิโกศล พุทธมามกกษัติย์องค์สำคัญครั้งพุทธกาล เกิดความความอาฆาตแค้นแสน สาหัสที่ได้ถูกดูหมิ่นเหยียดหยามว่าเป็นลูกหญิงรับใช้จากพวกเจ้าศากยะเมื่อคราวเสด็จเยี่ยม พระเจ้ามหานามะ กษัตริย์เจ้าศากยะ ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระเจ้าตา โดยเหตุที่พระเจ้าวิฑูฑภะนั้น ประสูติจากพระนางวาสภขัตติยา ผู้เป็นธิดานางทาสีหรือหญิงรับใช้ของเจ้ามหานามะ แต่พวก เจ้าศากยะส่งไปเป็นพระชายาของพระเจ้าปเสนทิโกศลซึ่งมีความประสงค์จะเป็นพระญาติของ พระพุทธเจ้าโดยการอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงศากยะ โดยพวกเจ้าศากยะไม่สามารถขัดพระราช ประสงค์ของพระเจ้าปเสนทิโกศล ซึ่งมีพระราชอำนาจมากในครั้งนั้นได้ แต่เพราะความมี อติมานะถือตัวและถือชั้นวรรณะจัดของพวกเจ้าศากยะ จึงลวงว่าพระนางวาสภขัตติยาเป็นเจ้า หญิงศากยะผู้มีพระชาติเสมอกันกับพระเจ้าปเสนทิโกศลเมื่อพวกเจ้าศายะเหล่านั้นหนีอพยพขึ้นไปทางแถบภูเขาหิมาลัย ได้พบสถานที่น่ารื่นรมย์ กึกก้องด้วยเสียงนกยูง จึงได้สร้างนครขึ้นใหม่ขึ้นชื่อว่า “โมริยนคร” ดำรงสกุลวงศ์สืบเชื้อสาย กษัตริย์ต่อเนื่องกันมา จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๒ พระราชาผู้ครองนครถูกลอบปลงพระชนมน์ แต่ พระมเหสีของพระองค์ซึ่งมีพระครรภ์แก่สามารถเสด็จหลบหนีภัยไปได้ จนมาอาศัยอยู่ที่เมือง ปาฏลีบุตร และได้ประสูติโอรสชื่อว่า จันทรคุปต์ ที่เมืองปาฏลีบุตรนั่นเอง จันทรคุปต์เมื่อเติบใหญ เป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง มีลักษณะเป็นชายชาติทหาร จึงมี ความฮึกเหิมมักใหญ่ใฝ่สูงที่จะเป็นผู้นำหรือเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ ถึงขนาดเคยซ่องสุมจัด กำลังผู้คนเพื่อจะชิงราชสมบัติของกษัตริย์ในราชวงศ์นันทะ แต่ความได้ล่วงรู้ถึงพระเจ้านันทะ เสียก่อน จันทรคุปต์จึงต้องหลบหนีราชภัยไปอยู่ที่เมืองตักกศิลา และได้เข้าไปขันอาสาพระเจ้า อเล็กซานเดอร์มหาราชว่าจะนำทัพกรีกเข้าตีแคว้นมคธ แต่เมื่อทัพกรีกเลิกทัพไปเสียก่อน จันทรคุปต์ก็เที่ยวป้วนเปี้ยนรวบรวมสมัครพรรคพวก อยู่แถวแคว้นปัญจาบและชายแดนมคธ บังเอิญจันทรคุปต์ได้เสนาธิการเป็นพราหมณ์ที่ชื่อ จาณักยะ ซึ่งเป็นคนฉลาดแกมโกงและมีไหวพริบดีมาก เป็นผู้วางแผนการโจมตีแคว้นต่างๆ จน สามารถขับไล่อิทธิพลของกรีกในปัญจาบไปได้ แล้วจันทรคุปต์จึงได้บุกเข้าปล้นเมืองใหญ่ๆ ของ แคว้นมคธ จนในที่สุดสามารถรบชนะพระเจ้าธนนันทะ กษัตริย์องค์ที่ ๙ แห่งราชวงศ์นันทะได้ จันทรคุปต์จึงได้ปราบดาภิเษกเป็นปฐมบรมกษัตริย์และตั้งราชวงศ์โมริยะขึ้น ทรง ครองราชย์อยู่ในนครปาฏลีบุตรนาน ๒๔ ปี โดยมีอาณาเขตพระนครและหัวเมืองขึ้นเป็นจำนวน มาก เวลานั้นมีแต่การรบพุ่งปราบปรามแว่นแคว้นต่างๆ ทั้งในลุ่มแม่น้ำสินธุและแม่น้ำคงคา ตลอดจนสามารถขับไล่กรีกให้พ้นไปจากอินเดียได้ ภายหลังจากที่พระจันทรคุปต์เสด็จสวรรคต พระเจ้าพินทุสาร พระราชโอรสของพระองค์ได้เป็นรัชทายาทปกครองนครปาฏลีบุตรสืบแทน และทรงครองราชย์อยู่นานถึง ๒๘ ปี กำเนิดอโศกราชกุมาร : พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงประสูติเมื่อปีพุทธศักราช ๑๘๔ (บางตำราว่าทรงประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑) ณ นครปาฏลีบุตร แคว้นมคธ ทรงมีพระนามว่า “อโศก” หรืออ่านว่า “อโศกะ” แปลว่า “ผู้ปราศจากความทุกข์โศก” (แต่ทรงโปรดให้เรียก พระองค์ในศิลาจารึกว่า “เทวานัมปิยทัสสี” แปลว่า “กษัตริย์ผู้เป็นที่รักใคร่ของเทพเจ้า”) พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในจำนวนพระราชโอรส ๑๐๑ พระองค์ ของ พระเจ้าพินทุสาร กษัตรย์ พระองค์ที่ ๒ แห่งราชวงศ์โมริยะ (หรือ เมารยะ ในภาษาสันสกฤต) ทรงประสูติจากพระครรภ์ ของพระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสิริธัมมา หรือ พระนางศิริธรรมา บางแห่งเรียกว่า พระนางธรรมา บ้าง พระนางสุภัทรา บ้าง และพระองค์ทรงมีพระอนุชาร่วมครรภ์พระมารดา เดี่ยวกันองค์หนึ่งนามว่า ติสสะ หรือ ติสสราชกุมาร (ในคัมภีร์สันสกฤต กล่าวว่า เจ้าชายอโศกเป็นเพียงโอรสของพระเจ้าพินทุสาร ที่ประสูติจากนางพราหมณี ผู้เป็นพระสนมเอกของ พระเจ้าพินทุสารเท่านั้น และได้มีอนุชาร่วมครรภ์มารดาอยู่ผู้หนึ่งชื่อว่า วีตโศก) มีเรื่องเล่าเพิ่มเติมว่า เมื่อพระนางสิริธัมมา พระราชมารดา ทรงครรภ์อโศกราชกุมาร นั้น มีอันเป็นให้พระนางทรงนึกปรารถนาจักเหยียบดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ พร้อมทั้งทรง ปรารถนาอยากจะเสวยดวงดาวและเมฆกับรากดินภายใต้พื้นปฐพี และต่อมาวันหนึ่ง พระเจ้า พินทุสารทรงอุ้มอโศกราชกุมารให้นั่งเล่นอยู่บนพระเพลา ทรงหยิบมหาสังข์ทักษิณาวัตรให้อโศก ราชกุมารเล่น แต่อโศกราชกุมารกลับถ่ายมูตรลงใส่มหาสังข์นั้น พระราชบิดาจึงทรงยกสังข์ขึ้น รดลงยังเศียรเกล้าของพระราชโอรส พระนางสิริธัมมาทรงให้บอกความแก่อาชีวกคนหนึ่งที่ทรง นับถือ อาชีวกนั้นพยากรณ์ว่า พระโอรสอโศกราชกุมารผู้นี้ต่อไปจักได้เป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ แห่งชมพูทวีปด้วยนิมิตนั้น กระแสความคำพยากรณ์ของอาชีวกนี้ได้ทราบถึงพระเจ้าพินทุสาร ดำรงตำแหน่งอุปราช ครองเมืองอุชเชนี โดยเหตุที่พระเจ้าพินทุสารทรงมีพระราชโอรสนับจำนวนรวมทั้งเจ้าชายอโศกได้ ๑๐๑ พระองค์ ซึ่งพระราชโอรสองค์หัวปีที่เป็นพระเชษฐาหรือพี่ชายใหญ่ มีพระนามว่า สุมนะ (หรือ สุสิมะ ในคัมภีร์สันสกฤต) ได้เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าพินทุสารเช่นกันถึงขั้นตั้งพระทัยจะ มอบราชสมบัติให้ แต่เจ้าชายอโศกได้แสดงความสามารถในการรณรงค์ยงยุทธกับพวกเจ้าเมือง ตักศิลา ซึ่งเป็นกบฏตั้งแข็งเมืองจนได้ชัยชนะ โดยตอนแรก พระเจ้าพินทุสารได้ส่งเจ้าชาย สุมนะพร้อมกองทัพไปปราบ แต่เจ้าชายสุมนะไม่สามารถปราบสำเร็จได้ พระองค์จึงส่งเจ้าชาย อโศกไปแทน เมื่อเจ้าชายอโศกปราบกบฏได้สำเร็จโดยที่ขณะนั้นเจ้าชายอโศกทรงมีพระชนมายุ ได้เพียง ๑๗ พรรษา ทำให้เจ้าชายอโศกมีชื่อเสียงปรากฏเลื่องลื่อว่ามีความสามารถเก่งกาจใน การรบโดดเด่นโด่งดังมากกว่าพระโอรสองค์อื่นๆ พร้อมกับเลื่องลือว่าทรงมีพระนิสัยดุร้ายมาก ดังนั้น พระเจ้าพินทุสารจึงทรงแต่งตั้งเจ้าชายอโศกให้ไปดำรงตำแหน่งอุปราช ปกครองกรุง อุชเชนี นครหลวงแห่งแคว้นอวันตี ซึ่งเป็นการเสือกไสให้ไกลออกไปจากราชธานีป้องกันไม่ให้ มาแย่งราชสมบัติกับเจ้าชายสุมนะ เพราะพระเจ้าพินทุสารทรงเกิดความปริวิตกกังวลพระทัย เกรงว่าจะมีการรบราฆ่าฟันแย่งชิงราชสมบัติในระหว่างพระราชโอรสของพระองค์ด้วยกัน อภิเษกสมรส กล่าวกันว่า ขณะเสด็จดำเนินไปครองเมืองอุชเชนีตามพระราชบัญชา เจ้าชายยอโศก เสด็จผ่านเมืองเวทิส ทรงพบสาวสวยนางหนึ่งนามว่า เวทิสา ผู้เป็นธิดาของเศรษฐีประจำเมือง จึงทรงตกหลุมรักและขออภิเษกสมรสตั้งนางเป็นมหาเทวีหรือพระวรชายาครองเมืองอุชเชนีอยู่ ด้วยกัน ทรงมีพระโอรสและพระธิดาที่ประสูติจากพระนางเวทิสามหาเทวี ๒ พระองค์ด้วยกัน คือ พระโอรสองค์แรก พระนามว่า มหินทะ ทรงประสูติเมื่อเจ้าชายอโศกมีพระชนมายุได้ ๒๐ พรรษา และพระธิดาองค์แรก พระนามว่า สังฆมิตตา ทรงประสูติเมื่อเจ้าชายอโศกมีพระชนมายุ ได้ ๒๒ พรรษา ภายหลังจากที่เจ้าชายอโศกราชทรงครองราชสมบัติ ณ นครปาฏลีบุตรแล้ว ได้ทรง สถาปนา พระนางอสันธิมิตตา เป็นพระอัครมเหสี กล่าวกันว่า พระองค์ทรงมีพระโอรสและ พระธิดากับพระมเหสีองค์อื่นๆ รวมกันทั้งหมด ๑๑ พระองค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น