วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การดูแลสุขภาพ

๑. รับประทานอาหาร อย่างถูกต้องเหมาะสม อาหารเช้า สำคัญมากเพราะช่วงเช้าร่างกายขาดน้ำตาล ถ้าไม่รับประทานอาหารเช้าจะเกิดภาวะขาดน้ำตาลซึ่งจะมี ผลทำให้ความคิดตื้อตันไม่ปลอดโปร่ง วิตกกังวล ใจสั่น อ่อนเพลีย หงุดหงิด โมโหง่าย มื้อเช้ารับประทานได้เช้า ที่สุดยิ่งดี (ระหว่างเวลา ๖.๐๐ – ๗.๐๐ น.) เพราะท้องว่างมานาน หากยังไม่มีอาหารให้ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำข้าวอุ่น ๆ ก่อน ควรทานข้าวต้มร้อน ๆ จะช่วยให้ง่ายต่อการขับถ่ายอุจจาระ ถ้าจำเป็นต้องรับประทาน(สาย) ใกล้อาหารมื้อ กลางวัน อย่ารับประทานมาก อาหารเพล (อาหารมื้อกลางวัน) ควรเป็นอาหารหนัก เช่น ข้าวสวย พร้อมกับข้าวครบ ๕ หมู่ เพราะร่างกายต้องใช้พลังงานมาก และควร รับประทานให้เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย ๒. ขับถ่าย อุจจาระ ปัสสาวะ สม่ำเสมอทุกวัน ๓. ใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสม กับฤดูกาล เช่น หน้าหนาวก็ใส่เสื้อผ้าหนา ๆ สวมหมวก ถุงมือ ถุงเท้า ขณะนอนตอนกลางคืนควรห่มผ้าปิดถึงอก ๔. ออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายกลางแจ้งทุกวัน ๕. รักษาความสะอาดของสถานที่พักอาศัย เพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมดี อากาศดี ๖. รักษาอารมณ์ให้ปลอดโปร่ง แจ่มใสตลอดทั้งวัน และอย่าลืมนั่งสมาธิทุกวัน ๗. พักผ่อนให้เพียงพอ เหมาะสมกับเพศ และวัยไม่ควรนอนดึกเกิน ๒๒.๐๐ น. ติดต่อกันหลายวัน ๘. มีท่าทาง และอิริยาบถที่ถูกต้องเหมาะสม ในการทำงานในชีวิตประจำวัน

ประวัติภาษาอังกฤษ

ประวัติภาษาอังกฤษ เมษายน 11, 2012 3 share ประวัติภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษมาจากไหน (Where did the English Language Come from ?) ในโลกนี้มีคนพยายามเรียนภาษาอังกฤษมากกว่าภาษาอื่น ๆ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการทำข้อตกลงทางการเมือง การกระทำธุรกิจระหว่างประเทศใช้เป็นภาษาสากลในทางวิทยาศาสตร์และยา มีข้อตกลงที่เป็นสากลกล่าวว่าผู้ที่เป็นนักบินต้องพูดภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศและเป็นภาษาหลักที่สอนอยู่ในอเมริกาใต้และ ยุโรป ในประเทศฟิลิปปินส์และประเทศญี่ปุ่น เด็กนักเรียนเริ่มเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่อายุยังน้อย ภาษาอังกฤษได้ถูกใช้เป็นภาษาทางการมากกว่า 75 ประเทศ รวมทั้งประเทศอังกฤษ แคนดา สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และแอฟริกาใต้ ในประเทศต่าง ๆ ที่มีคนพูดหลาย ๆ ภาษาในประเทศเดียวกัน ภาษาอังกฤษได้ถูกใช้เป็นภาษาทางการ เพื่อช่วยเหลือคนเหล่านั้นในการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน ประเทศอินเดียเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเรื่องนี้ ในประเทศอินเดียภาษาอังกฤษเป็นเรื่องธรรมดา เพราะว่าภาษาที่ใช้พูดในประเทศนี้อย่างน้อยที่สุด 24 ภาษา ในประชากร ล้านกว่าคน ถ้าถามว่าภาษาอังกฤษมาจากไหน ทำไมถึงเป็นที่นิยมใช้ภาษานี้ก่อนที่จะตอบคำถามเหล่านี้ เราต้องเดินทางย้อนกลับไปในช่วงเวลาประมาณ 5 พันปีมาแล้ว ที่ดินแดนทางเหนือของทะเลดำ (Black Sea) ในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าคนในบริเวณดินแดนแห่งนี้ได้พูดภาษาที่เรียกว่า โปรโต - อินโด - ยุโรเปียน (Proto – Indo – European) ภาษาที่ว่านี้ไม่ได้ใช้เป็นภาษาพูดอีกต่อไป นักวิจัยหลายคนไม่ทราบเป็นที่แน่นอนว่าภาษาที่ว่านี้มีลักษณะเป็นเช่นไร อย่างไรก็ตามเชื่อกันว่าภาษา โปรโต – อินโด – ยุโรเปียน เป็นภาษาของบรรพบุรุษของภาษาของชาวยุโรปส่วนใหญ่ รวมทั้งภาษากรีกโบราณ ภาษาเยอรมันโบราณ และภาษาละตินโบราณ ภาษาละตินนั้นไม่ปรากฏว่าเป็นภาษาพูดอีก อย่างไรก็ตามภาษาละตินจะแฝงอยู่ข้างหลัง (ผสมผสาน) ใน 3 ภาษาที่สำคัญ ๆ คือ ภาษาสเปนยุคใหม่ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอิตาเลียน ภาษาเยอรมันโบราณก็ได้สืบทอดและกลายเป็นภาษาดัทช์ ภาษาแดนิช ภาษาเยอรมัน ภาษานอรเวเจียน ภาษาสวีดิช และอีกภาษาหนึ่งที่ได้พัฒนามาเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษเป็นผลลัพธ์ของการเข้าไปรุกราน (แผ่ขยาย) ในเกาะบริเตน เป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว ผู้รุกรานเหล่านั้นอาศัยอยู่ทางตอนเหนือตามชายฝั่งทะเลของยุโรป การรุกรานครั้งแรกโดยกลุ่มคนที่เรียกว่า แองเกิล (Angles) เมื่อประมาณ 1,500 ปีมาแล้ว พวกแองเกิลเป็นคนเยอรมัน (German tribe) เป็นพวกที่เข้ามาทางช่องแคบอังกฤษ หลังจากนั้นมีอีก 2 กลุ่ม ที่เข้ามาสู่บริเตน คือพวกเซกซันและจูทส์ (Saxons and Jutes) กลุ่มคนเหล่านี้ได้พบกับพวกเคลท์ซึ่งเป็นพวกที่อาศัยอยู่บนเกาะบริเตนนับเป็นเวลาหลายพันปีมาแล้ว พวกเคลท์ก็ได้ทำการสู้รบกับผู้ที่รุกรานเหล่านั้น หลังจากนั้นไม่นานนัก พวกเคลท์ส่วนใหญ่ ถูกฆ่าตาย หรือไม่ก็ตกเป็นทาสของผู้ที่รุกราน บางกลุ่มก็หนีไปอาศัยในดินแดนที่เรียกว่า เวลล์ (Wales) หลายปีผ่านไปพวกเซกซัน (Saxons) พวกแองเกิล (Angles) และพวกจูทส์ (Jutes) ได้มีการผสมผสานกันระหว่างภาษาที่แตกต่างของพวกเขา ผลลัพธ์ ก็คือภาษานั้นถูกเรียกว่า ภาษาแองโกล – แซกซัน (Anglo – Saxon) หรือ ภาษาอังกฤษโบราณ (old English) งานเขียนต่าง ๆ หลายชิ้นยังได้ดำรงไว้จากภาษาอังกฤษโบราณ (old English) บางที่ชิ้นงานที่สำคัญมาก ๆ ที่เรียกว่า บีโอวูล์ฟ (Beowulf) เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นบทประพันธ์ที่เก่าแก่ที่สุด ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า มันถูกเขียนขึ้นในเกาะบริเตนมานานกว่า 1,000 ปีมาแล้ว โดยไม่ปรากฏชื่อผู้เขียนว่าเป็นใคร บีโอวูล์ฟ (Beowulf) เป็นเรื่องของกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ ผู้ทำการสู้รบกับสัตว์ มหรรศจรรย์ พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ดีที่มีพสกนิกรรักใคร่ หนังสือใหม่ที่เขียนโดย เชมัส ฮีนีย์ (Seamus Heaney) ได้บอกถึงเรื่องโบราณนี้เป็นภาษาอังกฤษยุคใหม่ (Modern English) การรุกรานครั้งใหญ่ของบริเตนมาจากทางเหนือสุดเริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 1100 ปีมาแล้ว พวกเฟิร์ซ (Fierce) หรือที่เรียกว่าไวกิ้งส์ (Vikings) ได้จู่โจมอย่างกะทันหันทางด้านบริเวณชายฝั่งของเกาะบริเตน พวกไวกิ้งส์มาจากประเทศเดนมาร์ก นอรเวย์ และประเทศอื่น ๆ ทางตอนเหนือ พวกเขาเข้ายึดและครอบครองสินค้า พวกทาสและสิ่งของอันมีค่าต่าง ๆ ในบางพื้นที่พวกไวกิ้งส์เจริญอำนาจ พวกเขาจะสร้างบ้านที่มันชั่วคราวบางครั้งฐานที่มันชั่วคราวกลายเป็นฐานที่มันถาวร ต่อมาพวกไวกิ้งส์เหล่านี้เป็นจำนวนมากได้อาศัยอยู่ในเกาะบริเตน มีภาษาอังกฤษหลายคำที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ที่มาจากภาษาไวกิ้งส์โบราณ เช่นคำว่า sky, leg, skull, egg, crawl, lift และ take มาจากภาษาของประเทศทางเหนือสุดเหล่าโน้น การรุกรานเกาะบริเตนในครั้งต่อมาเกิดขึ้นเมื่อ 900 กว่าปีมาแล้ว ในปี คศ. 1066 ผู้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์เรียกการรุกรานครึ้งนี้ว่า Norman Conquest นำโดยพระเจ้าวิลเลี่ยม (William the Conqueror) พวกนอร์แมน เป็นชนที่พูดภาษาฝรั่งเศสจากแคว้นนอร์มังดี (Normandy) ในตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศสพวกเขากลายเป็นชนชั้นปกครองในเกาะบริเตน ชนชั้นปกครองใหม่เหล่านี้จะพูดเฉพาะภาษาฝรั่งเศสอย่างเดียวเท่านั้น มันเป็นภาษาที่สำคัญมากในโลกในสมัยนั้น เป็นภาษาของคนมีการศึกษา แต่ว่ายังเป็นเรื่องธรรมดาของประชากรบนเกาะบริเตนที่พูดภาษาอังกฤษโบราณอยู่ ภาษาอังกฤษยุคโบราณ(Old English)ได้ยืมภาษาฝรั่งเศสของพวกนอร์แมน ภาษาฝรั่งเศสใช้โดยชนชั้นปกครองชาวนอร์แมนได้เปลี่ยนแปลงแนวทางการพูดภาษาอังกฤษอย่างยิ่งใหญ่เมื่อ 800 กว่าปีที่ผ่านมา ในช่วงเวลาที่ผ่านไปการปกครองของชาวนอร์แมนไม่ได้พูดภาษาฝรั่งเศสเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป ภาษาของพวกเขาจะผสมผสานระหว่างภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษยุคกลาง (Middle English)หลายคำ เช่น damage, prison และ marriage เป็นต้น คำในภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ที่ใช้อธิบายกฎหมาย และใช้ทางราชการมาจากภาษาฝรั่งเศส เช่นคำว่า jury, parliament, และ justice ภาษาอังกฤษยุคกลางก็เหมือนกับภาษาอังกฤษยุคใหม่ แต่ว่าเป็นการยากลำบากมากที่จะเข้าใจในปัจจุบันนี้ งานเขียนต่าง ๆ จำนวนมากที่เขียนในยุคนี้ ยังคงดำรงอยู่ งานเขียนที่สำคัญที่สุดเขียนโดย เจฟฟรีย์ ชอเซอร์) Geoffrey Chaucer นักกวีผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในลอนดอนและ สิ้นชีวิต ณ ที่นั้นในศตวรรษที่ 14 งานชิ้นสำคัญของชอเซอร์ คือ “The Canterbury Tales” ซึ่งงานชิ้นนี้ได้เขียนขึ้น 600 ปีมาแล้ว งานเขียน “The Canterbury Tales” เป็นการรวบรวมของบทกวี เกี่ยวกับการเดินทางของบุคคลที่แตกต่างกันไปยังเมือง Canterbury ผู้เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษกล่าวว่า Geoffrey Chaucer เป็นนักเขียนที่สำคัญคนแรกที่ใช้ภาษาอังกฤษ พวกเขาเห็นด้วยกับบทกวีภาษาอังกฤษยุคกลางที่ยิ่งใหญ่ของชอเซอร์ ทำให้มองเห็นภาพพจน์ของคนในสมัยของเขาอย่างชัดเจน บุคคลบางคนที่อธิบายไว้ใน “The Canterbury Tales” เป็นบุคคลที่ฉลาด และกล้าหาญ บางคนก็เป็นคนโง่ เซ่อ บางคนก็เชื่อว่าพวกเขาเป็นผู้สำคัญอย่างยิ่งยวด บางคนก็ดีแสนดี แต่พวกเขาทั้งหมดยังมองว่าเป็นเช่นนั้นจริง ๆ ภาษามีการวิวัฒนาการอย่างไร (How a Language Grew) การรุกรานมากกว่าสองครั้งได้เพิ่มคำศัพท์ต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษยุคโบราณมากมาย พวกไวกิ้งจากประเทศเดนมาร์ค ประเทศนอรเวย์ และประเทศสวีเดน เข้ามาอาศัยอยู่ในเกาะบริเตนกว่า 1,000 ปีมาแล้ว การรุกรานครั้งต่อมาเกิดขึ้นเมื่อปี 1066 โดยชาวฝรั่งเศสที่มีพระเจ้าวิลเลียม (William the Conqueror) เป็นผู้นำในการรุกรานครั้งนี้ ชนชั้นปกครองชาวนอร์แมน (Norman) ได้เพิ่มคำต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษอย่างมากมาย เช่น คำว่า parliament, jury, justic และคำอื่น ๆ อีกมากที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายที่มาจากชนชั้น ปกครองชาวนอร์แมน กาลเวลาได้ผ่านมาหลายยุคหลายสมัยภาษาต่าง ๆ เหล่านั้นได้รวมกันเข้า ผู้เชี่ยวชาญได้เรียกภาษาที่เกิดขึ้นเช่นนั้นว่า ภาษาอังกฤษยุคกลาง (Middle English) ขณะเดียวกันภาษาอังกฤษ ยุคกลางยังคงมีเสียงคล้ายกับภาษาเยอรมันเช่นกันการเริ่มต้นออกเสียงเหมือนภาษาอังกฤษยุคใหม่ (Modern English) ชอเซอร์ (Chaucer) ได้เขียนบทกวีเรื่อง “The Canterbury Tales” ซึ่งเขียนเป็นภาษาอังกฤษยุคกลาง (Middle English) ได้เขียนขึ้นในปลายศตวรรษที่ 13 เป็นการเขียนงานที่ใช้ภาษาที่ไม่ใช่ของชนชั้นปกครองเพราะชนชั้นปกครองเกาะบริเตนในสมัยนั้นยังคงใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาพูดที่เป็นภาษามากับพวกเขาในปี 1066 กษัตริย์ของบริเตนไม่ได้ใช้ภาษาที่ชนในเกาะบริเตนใช้อยู่ในสมัยนั้น จนกระทั่งตอนต้นของศตวรรษที่ 14 ภาษาฝรั่งเศสแบบนอร์แมนค่อย ๆ หายไปอย่างช้า ๆ และจนกระทั่งไม่ปรากฏ ภาษาอังกฤษได้รับอิทธิพลอย่างมากจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมากกว่า 1400 ปีมาแล้ว พวกที่นับถือศาสนาโรมันคาธอลิค ได้เริ่มพยายามที่จะให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาแห่งบริเตน ภาษาที่ชาวโรมันคาธอลิคเหล่านั้นใช้คือ ภาษาละติน (Latin) ภาษาละตินนั้นไม่ได้เป็นภาษาที่ใช้พูดเหมือนภาษาที่ใช้กันอยู่ในประเทศต่าง ๆ ในสมัยนั้น แต่ก็ยังมีการใช้อยู่ในเฉพาะ บางคน ภาษาละตินเป็นภาษาที่ใช้กันอยู่ในหมู่สมาชิกที่อยู่ในโบสถ์ ( ในหมู่พระหรือบาทหลวง) จากกรุงโรมซึ่งใช้พูดกับพระหรือบาทหลวงในเกาะบริเตน ผู้มีการศึกษาชั้นสูงจากประเทศต่าง ๆ สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยใช้ภาษาละติน ภาษาละตินมีอิทธิพลอันยิ่งใหญ่มาก ต่อภาษาอังกฤษ ต่อไปนี้เป็นเพียง 2- 3 ตัวอย่าง เช่นคำว่า discus ได้กลายเป็นคำทั่ว ๆ ไปในภาษาอังกฤษรวมทั้งคำว่า disk, desk, และภาษาละตินในคำว่า quietus กลายเป็นคำว่า quiet ในภาษาอังกฤษ ชื่อพืชพันธ์บางชนิดในภาษาอังกฤษ เช่น ginger, trees,cedar ที่มาจากภาษาละตินและยังมีคำที่ใช้ในวงการแพทย์บางคำเช่น cancer เป็นต้น ภาษาอังกฤษก็เสมือนกับสิ่งมีชีวิตที่ยังคงเจริญเติบโตภาษาอังกฤษเริ่มเจริญเติบโตอย่าง รวดเร็วเมื่อ วิลเลี่ยม แค็กตัน (William Caxton) กลับมาสู่เกาะบริเตนในปี ค.ศ.1476 โดยเขาได้ใช้ชีวิตอยู่ในฮอลแลนด์ (Holland) และบริเวณอื่น ๆ ของยุโรป ซึ่งเป็นที่เขาได้เรียนรู้ในเรื่องของการพิมพ์ เขากลับมาสู่เกาะบริเตนพร้อมกับมีสิ่งพิมพ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกสิ่งพิมพ์เหล่านั้นคนส่วนใหญ่สามารถซื้อหาได้ในรูปของหนังสือ ช่วยทำให้การศึกษาและภาษาอังกฤษขยายอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว จากนั้นการขยายตัวเริ่มช้าลงในระหว่างศตวรรษที่ 15 ภาษาอังกฤษได้กลายเป็นภาษาที่ทันสมัยทีเราคงจำได้ ผู้ที่พูดภาษาอังกฤษในช่วงศตวรรษที่ 16 ที่ผ่านมา มันเป็นช่วงเวลาที่นักเขียนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดท่านหนึ่งได้ผลิตผลงานของเขา โดยใช้ภาษาอังกฤษเขา คือ วิลเลี่ยม เชคเปียร์ (William shakespeare) บทละครของเขาได้รับการตีพิมพ์อย่างต่อเนื่อง ได้นำแสดงในโรงภาพยนต์ ที่สามารถสะท้อนอารมณ์ในตัวละครได้เป็นส่วนใหญ่ 400 ปี หลังจากที่เขาเสียชีวิต ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่างานของเชคเปียร์ได้เขียนขึ้นเพื่อการแสดงบนเวที ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ใช้อ่าน เท่านั้นยังไม่พอ ทุก ๆ คำพูดในบทละครของเขาสามารถสะท้อนให้เห็นเป็นภาพได้ และสามารถทำให้เกิดความรู้สึกโกรธ กลัว และเสียงหัวเราะ บทละครที่สำคัญของเชคเปียร์ คือ โรมิโอ และจูเลียท (Romeo and Juliet) เป็นเรื่องที่เศร้ามาก ทำให้คนร้องไห้เมื่อพวกเขาได้ดูบทละครที่สำคัญเรื่องนี้ การพัฒนาของภาษาอังกฤษเกิดขึ้นไปอีกก้าวหนึ่งแล้วการเสียชีวิตของเชคสเปียร์ เรือเล็ก ๆ 3 ลำจากบริติช ข้ามมหาสมุทร แอตแลนติก ในปี ค.ศ. 1607 พวกเขาได้จอดเรือเทียบท่าที่บริเวณซึ่งต่อมากลายเป็นรัฐ รัฐหนึ่งของอเมริกาตอนใต้ ชื่อเวอร์จิเนีย บริเวณนี้เริ่มเป็นอาณานิคมของอังกฤษเป็นเมืองแรกในบรรดาเมืองต่าง ๆ อาณานิคมเล็ก ๆ เมืองแรกอีกเมืองหนึ่ง ชื่อ เจมส์ทาวน์ (Jamestown) ในขณะนั้น ประชาชนที่อาศัยอยู่ในอาณานิคมเหล่านั้นเริ่มต้นเรียกพื้นที่แผ่นดินใหม่นี้โดยใช้ชื่อจากเจ้าของภาษาเดิมที่พวกเขาได้อาศัยอยู่ในที่นั้น ๆ ชื่อแม่น้ำสายสำคัญ ๆ ในอเมริกามาจากภาษาอเมริกันอินเดียน (อินเดียนแดง) เช่น the Mississippi, the Tennessee, the Missouri เป็นต้นเรื่องของพระเจ้าริชาร์ด ที่ 3 กษัตริย์ผู้กระหายอำนาจ เรื่องนี้ก็เป็นบทละครที่เป็นที่รู้จักกันดีอีกเรื่องหนึ่งของเชคสเปียร์ ภาษาอเมริกันคำอื่น ๆ หลายคำรวมคำว่า moccasin เป็นรองเท้าชนิดหนึ่งที่ทำจากหนังสัตว์ที่ชาวอินเดียนแดงใส่ การยืมหรือการเพิ่มคำจากภาษาต่างประเทศในภาษาอังกฤษเป็นการเพิ่มขยายทางภาษา ชื่อวัน 3 วันใน 1 สัปดาห์ เป็นตัวอย่างในเรื่องนี้ได้ดี ประชาชนตอนเหนือของยุโรปบูชาเทพเจ้า 3 องค์ โดยมีวันพิเศษในแต่ละสัปดาห์ เทพเจ้าเหล่านั้นคือ เทพเจ้า Odin เทพเจ้า Thor และเทพเจ้า Freya ดังนั้นคำว่า Odin’s –day ได้กลายเป็น Wednesday คำว่า Thor’s – day ได้กลายเป็น Thursday และคำว่า Freya’s- day ได้กลายเป็น Friday ในภาษาอังกฤษ ประเทศอังกฤษ (Britain) ได้มีเมืองขึ้นอื่น ๆ อีกในแอฟริกา ในเอเชีย ในแถบทะเลแคริบเบียน และประเทศอินเดีย ภาษาอังกฤษได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศที่เป็นอาณานิคมเหล่านี้ ในปัจจุบันนี้ประเทศอาณานิคมเหล่านี้ได้รับอิสระแล้ว แต่ภาษาอังกฤษยังคงเป็นภาษาพูดอีกภาษาหนึ่ง และภาษาอังกฤษเหล่านั้นได้เจริญเติบโตโดยมีภาษาเดิมของผู้พูดภาษาอังกฤษเข้ามาเพิ่มเติมอยู่ในภาษาอังกฤษของประเทศนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น คำว่า Shampoo หมายถึงน้ำยาสระผมมาจากประเทศอินเดีย หรือคำว่า Banana ได้เชื่อกันว่ามาจากประเทศแอฟริกา ผู้เชี่ยวชาญไม่สามารถอธิบายภาษาอังกฤษหลาย ๆ คำได้ เวลานับเป็นหลายร้อยปีมาแล้ว คำว่า dog ถูกเรียกว่า hound ซึ่งคำ คำนี้ยังคงมีใช้อยู่แต่ไม่เป็นที่นิยมเท่ากับคำว่า dog ผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นเองก็ไม่ทราบเช่นกันว่า คำว่า dog มาจากไหนหรือมีมาเมื่อไรที่ผู้พูดภาษาอังกฤษได้เริ่มใช้คำนี้ คำดั้งเดิมคำอื่น ๆ ที่ยังไม่ทราบที่ไปที่มาเช่นกัน เช่นคำว่า fun, bad และ คำว่า big เป็นต้น เช่นกันผู้พูดภาษาอังกฤษเองก็ได้คิดค้นคำใหม่ ๆ ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยวิธีการเชื่อมคำเก่า ๆ เข้าด้วยกัน ตัวอย่างที่ดีของคำเหล่านี้ เช่นคำว่า motor และ hotel เมื่อหลายปีมาแล้วบางคนได้เชื่อมคำทั้ง 2 นี้เข้าด้วยกันเป็นคำว่า motel คำว่า motel นั้นหมายถึงโรงแรมเล็ก ๆ อยู่ใกล้ถนน ซึ่งคนเดินทางโดยรถยนต์สามารถพักค้างคืนได้ชั่วข้ามคืน คำอื่น ๆ มาจากอักษรตัวแรกของชื่อกลุ่มหรืออุปกรณ์ เครื่องมือ ต่าง ๆ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ ค้นหาวัตถุที่ไม่สามารถมองเห็นเรียกว่า Radio Detecting and Ranging ได้กลายมาเป็นคำว่า Radar องค์กรสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (The North Atlandtic Treaty Organization) ซึ่งปกติแล้วได้เรียกชื่อองค์กรนี้ว่า NATO บ่อยครั้งที่มีคนมักจะถามว่าในภาษาอังกฤษมีคำกี่คำ จริง ๆ แล้วคงไม่มีใครทราบในเรื่องนี้ ในพจนานุกรมของ The Oxford English Dictionary ได้ทำรายการคำออกมาประมาณ 615,000 คำ เท่านั้นยังไม่พอเพราะคำที่ใช้ในทางวิทยาศาสตร์ยังไม่มีในพจนานุกรมของ The Oxford English Dictionary นี้ ถ้าได้รวมคำที่ใช้ในทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย คงมีมากกว่า 1 ล้านคำผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าภาษาอังกฤษมีคำมากที่จะอธิบายคำที่มีเป็นสิ่งเดียวกันซึ่งเหมือนกับภาษาอื่น ๆ เช่น คำว่า large , huge, vast,massive และคำว่า “enormous” ซึ่งคำทั้งหมดนั้นหมายถึงสิ่งที่จริงแล้วก็คือ ใหญ่ (big) นั้นเอง และผู้เชี่ยวชาญเองก็ไม่ค่อยมั่นใจนับคำที่มีอยู่ในภาษาอังกฤษได้ ตัวอย่างเช่น คำว่า mouse หมายถึงสัตว์ตัวเล็ก ๆ ที่อยู่ในประเภทสัตว์ที่ใช้ฟันแทะ (rodent family) แต่คำว่า mouse ยังมีความหมายที่แตกต่างออกไปอีกความหมายหนึ่ง เช่นกัน mouse หมายถึงอุปกรณ์ที่ต้องใช้มือช่วยในการใช้ควบคุมการใช้คอมพิวเตอร์ ถ้าหากว่าจะมีการนับคำว่า mouse ก็ต้องมีการนับถึง 2 ครั้งใช่ไหม ผู้ฟังกรายการของเสียงอเมริกา (Voice of America หรือVOA) จะได้ยินคนพูดถ่ายทอดออกไปมากกว่า 40 ภาษาที่แตกต่างกัน การกระจายเสียงส่วนใหญ่ของ VOA มาจากประเทศต่าง ๆ ที่ใช้ภาษานั้น องค์กรระหว่างประเทศ เช่น VOA พบว่ามันน่าจะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ใช้ภาษาที่ 2 (Secord Language) ที่คนทั่วไปนิยมใช้ ฉะนั้น ทำให้ VOA ได้ทำงานโดยใช้ภาษาอังกฤษในการ สื่อสาร ภาษาอังกฤษกลายเป็นภาษาที่ใช้กันเป็นปกติของประชากรในโลกกว้างจำนวนหลายล้านคน และภาษาอังกฤษได้ช่วยเหลือผู้ที่พูดภาษาแตกต่างกันมาใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน แปลและเรียบเรียง โดย อ. ณัฐวัชร์ ปรมาตร เอกสารอ้างอิง : The History of English : Writlen by Paul Thomsom : www. Voaspecialenglish. Com ( 21 and 28 December 2005) ———————————————– เตรียมตัวเรียนต่ออังกฤษ กับเรา Study Square co.,Ltd. Study Square Co., Ltd เตรียมทีมงานมืออาชีพ เพื่อแนะแนวเรียนต่อต่างประเทศ - เรียนต่ออังกฤษ เรียนต่อออสเตรเลีย เรียนต่ออเมริกา บริการด้วยแนะแนวเรียนต่ออย่างมีคุณภาพและความเป็นธรรม เพื่อความสำเร็จในการศึกษาต่อของนักเรียนใน สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย อย่างแท้จริง หลาย ๆ คนอาจคิดว่าการเรียนต่อ ประเทศอังกฤษ อเมริกา ประเทศออสเตรเลีย เป็นเรื่องไกลเกินเอื้อม ซึ่งในความเป็นจริงนั้น อาจไม่ยากอย่างที่คิด เพียงแค่ติดต่อเรา Study Square ยินดีบริการ เพื่อการเรียนในอังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย ด้วยทีมงานมืออาชีพ ให้ความรู้ในการศึกษาต่ออังกฤษ ศึกษาต่ออเมริกา ศึกษาต่อออสเตรเลีย อย่างถูกต้องรู้จริง บริการด้านวีซ่า วีซ่าอังกฤษ วีซ่าอเมริกา วีซ่าออสเตรเลีย ด้วยประสบการณ์อันยาวนาน ยินดีบริการด้วยใจอย่างเต็มความสามารถของทีมงาน ติดต่อเพื่อเรียนต่อกับเราที่ Study Square Co.,Ltd. 5 Leabkunaikim1 Lane, Leabkunaikim1 Rd, Srikan, Donmuang, Bangkok, 10210 Thailand. Tell : 089-1261024, 02-9291231 (พี่กฤต) email : studysquares@hotmail.com, studysquares@ymail.com MSN : studysquares@hotmail.com Facebook : http://www.facebook.com/profile.php?id=100001524093870 Share on Facebook Tags: ความเป็นภาษาอังกฤษ, ความเป็นมาภาษาอังกฤษ, ที่มาภาษาอังกฤษ, ประวัติภาษาอังกฤษ, ภาษาอังกฤษมาจากไหน, ภาษาอังกฤษยุคโบราณ, วิวัฒนาการภาษาอังกฤษ This entry was posted on เมษายน 11, 2012 at 8:29 am and is filed under เรื่องน่าสนใจในอังกฤษ. You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0 feed. ใส่ความเห็น ยกเลิกการตอบอีเมล์ของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย * ชื่อ * อีเมล์ * เว็บไซท์ Please check to prove YOU ARE human. Thank you. Comment * Main Menu Mainpage Studysquares.com ข่าวการศึกษาไทย ความรู้ทั่วไป ท่องเที่ยวไทย บันเทิง เรียนต่อออสเตรเลีย เรียนต่ออเมริกา Recommend 1. Middlesex University – มหาวิทยาลัยชั้นนำของอังกฤษใจกลางลอนดอน เป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก 2. แนะนำ London Study Centre เรียนภาษาใจกลางลอนดอน ค่าเรียนสุดคุ้ม 1.5 แสนบาท ลงเรียนได้ 1 ปีเต็ม 3. Kingstreet College London สถาบันสอนภาษา ใกล้แหล่งช๊อปปิ้งที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ เรียนภาษา 32 Weeks เพียง 1.8 แสนบาท เท่านั้น 4. Malvernhouse สถาบันสอนภาษาชั้นนำในลอนดอน มีถึง 3 Campus เรียน 1 ปีเพียง 1.5 แสนบาทเท่านั้น 5. แนะนำ Burlington School of English สถาบันคุณภาพใจกลางลอนดอน เรียนภาษา 1 ปีเพียงแค่ 1.5 แสนบาท เท่านั้น ความเห็นล่าสุด m บน ค่าเล่าเรียนในสหราชอาณาจักร (อังกฤษ สกอตแลนด์ และเวลส์ กับไอร์แลนด์เหนือ)สำหรับนักศึกษาต่างชาติ เรียนต่อต่างประเทศ กับเรา Study Square co.,Ltd. ติดต่อเพื่อเรียนต่อไปกับเรา บริษัทสทัดดีสแควร์ จำกัด เลขที่ 5 ซ.เลียบคูนายกิมสาย1 ถ.เลียบคูนายกิมสาย1 แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10210 โทร : 089-1261024 , 02-9291231 (พี่กฤต) email : studysquares@hotmail.com, studysquares@ymail.com MSN : studysquares@hotmail.com Facebook : http://www.facebook.com/profile.php?id=100001524093870

ประวัติภาษาไทย

ประวัติภาษาไทย on Tuesday, February 9, 2010 แบ่งปัน ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติของคนไทยมาแล้วช้านาน ถึงแม้คนไทยจะถูกชาติอื่นรุกราน ต้องถอยร่นลงมาทางใต้ จนถึงที่อยู่ปัจจุบัน แต่คนไทยก็ยังรักษาภาษาของตนไว้ได้ หลักฐานแสดงว่าภาษาไทยเป็นภาษาของ คนไทยโดยเฉพาะ ก็คือ ภาษาไทย มีลักษณะพิเศษไม่ซ้ำแบบของภาษาใดในโลก ที่มีผู้กล่าวว่า ภาษาไทยเป็นตระกูลเดียวกับภาษาจีน เนื่องจากเป็นภาษาคำโดดด้วยกัน และมีคำพ้องเสียงและความหมายเหมือนกันอยู่หลายคำ เช่น ขา โต๊ะ เก้าอี้ เข่ง หรือ จำนวนเลข การที่ภาษาไทยกับภาษาจีนมีลักษณะตรงกันบางประการดังกล่าว ใช่ว่าภาษาไทยมาจากจีนหรือจีนมาจากไทย แต่คงเป็นเพราะชาติไทยกับจีนเคยมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดช้านาน และคงเคยใช้อักษรจีนเขียนภาษาไทย ภาษาไทยกับจีนจึงมีส่วนคล้ายคลึงกันได้ ข้อสังเกตที่ว่า ภาษาไทยกับจีนเป็นคนละภาษาต่างหาก จากกันก็คือ ระเบียบการเข้าประโยคต่างกัน เช่น คำวิเศษณ์ในภาษาไทยส่วนใหญ่ อยู่หลังคำที่ประกอบหรือขยาย ส่วนภาษาจีน ส่วนใหญ่อยู่ข้างหน้า เมื่อไทยอพยพลงมาอยู่ในแหลมทอง ต้องเกี่ยวข้องกับชนเจ้าของถิ่นหลายชาติหลายภาษา เช่น ขอม มอญ ละว้า พม่า มลายู ต่อมาได้ติดต่อกับประเทศอื่นๆ ทางการค้าขาย ศาสนา และวัฒนธรรม เช่น อินเดีย (บาลี สันสกฤต) ชวา เปอร์เซีย โปรตุเกส อังกฤษ เป็นต้น ภาษาของชาติต่างๆดังกล่าว จึงเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยเป็นอันมาก ภาษาต่างชาติที่ประสมอยู่ในภาษาไทยมากที่สุด คือ บาลีและสันสกฤต เรารับภาษาบาลีเข้ามาทางพุทธศาสนา และรับภาษาสันสกฤตทางศาสนาพราหมณ์ ภาษาอื่นที่เจืออยู่ในภาษาไทยมากรองลงมา คือ ภาษาขอม (เขมร) ทั้งนี้ เพราะขอมหรือเขมร เคยเป็นชาติที่มีอำนาจมากและนานที่สุดในคาบสมุทรอินโดจีน ลักษณะของภาษาไทย วิวัฒนาการของภาษาไทย ภาษาไทยมีวิวัฒนาการเป็น ๒ สมัย คือ ภาษาไทยแท้ หรือภาษาไทยดั้งเดิม และภาษาไทยปัจจุบันหรือภาษาไทยประสม ภาษาไทยแท้ หรือ ภาษาไทยดั้งเดิม เป็นภาษาไทยก่อน อพยพเข้ามาอยู่ในสุวรรณภูมิ หรือ แหลมทอง ภาษาไทยปัจจุบัน หรือ ภาษาไทยประสม คือ ภาษาไทยนับตั้งแต่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในสุวรรณภูมิแล้ว ลักษณะภาษาไทยแท้ ภาษาไทยแท้เป็นภาษาดั้งเดิมประจำชาติไทย นับถอยหลังตั้งแต่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศจีน ปัจจุบันขึ้นไปเป็นภาษาในระยะที่ยังไม่ได้ เกี่ยวข้องกับชาติอื่นมากนัก ภาษาไทยมีลักษณะดังนี้ 1.คำส่วนมากเป็นคำโดด คือ คำพยางค์เดียว เช่น พ่อ แม่ มือ แขน ช้าง ม้า ฯลฯ 2.ไม่ค่อยมีคำควบกล้ำ 3.คำขยาย อยู่ข้างหลังคำที่ถูกขยาย เช่น บ้านใหญ่ พูดมาก ดียิ่ง คำที่เขียนตัวหนาเป็นคำขยาย 4.ถ้าต้องการ สร้าง คำใหม่ ใช้วิธีรวมคำมูลเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดคำประสมขึ้น เช่น โรงเรียน แม่น้ำ พ่อตา 5.ในการเขียน ใช้ตัวสะกดตรงตามมาตราแม่ กก ใช้ ก สะกด แม่ กน ใช้ น สะกด แม่ กบ ใช้ บ สะกด เช่น นก กิน กบ 6.ในการเขียน ไม่ใช้ตัวการันต์ คำทุกคำอ่านออกเสียงได้หมดทุกพยางค์ 7.ไม่มีหลักไวยกรณ์ คือ ระเบียบของภาษาแน่นอนเหมือนภาษาของบางชาติ เช่น บาลี สันสกฤต และอังกฤษ เป็นต้น กล่าวคือ ไม่มีระเบียบพิเศษเกี่ยวกับ พจน์ เพศ วิภัตติ ปัจจัย อุปสรรค กาล มาลา วาจก 8.เป็นภาษามีเสียงดนตรี นิยมใช้ไม้วรรณยุกต์กำกับเสียง ลักษณะภาษาไทยปัจจุบัน เป็นภาษาไทยเริ่มตั้งแต่คนไทยย้ายถิ่นฐานลงมาอยู่ในแหลมทอง ซึ่งเป็นที่ตั้งประเทศไทยทุกวันนี้ เมื่อไทยเข้ามาอยู่ในดินแดนแถบนี้ได้เกี่ยวข้องกับชนหลายชาติหลายภาษา ซึ่งมีระเบียบภาษาแตกต่างไปจากไทย ภาษาของต่างชาติที่เข้ามามีอิทธิพลเหนือภาษาไทยปัจจุบัน คือ บาลี สันสกฤต เขมร ชวา มอญ จีน พม่า มลายู เปอร์เซีย และภาษาของชาติยุโรปบางภาษา เช่น โปรตุเกส และอังกฤษ เป็นต้น เมื่อภาษาไทยต้องเกี่ยวข้องกับภาษาของต่างชาติดังกล่าว ประกอบกับสถานะทางภูมิศาสตร์และเหตุการณ์ทางสังคมเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา ภาษาไทยปัจจุบันจึงมีลักษณะผิดเพี้ยนไปจากเดิมมากคือ มีลักษณะพิเศษเพิ่มขึ้นจากภาษาไทยแท้ดังนี้ 1.มีคำหลายพยางค์เพิ่มขึ้น 2.มีคำควบกล้ำมากขึ้น 3.มีการสร้างคำใหม่ตามวิธีการสมาส และสนธิของภาษาบาลีและสันสกฤต และตามวิธีแผลงคำตามอย่างภาษาเขมร 4.ใช้ตัวสะกดไม่ค่อยตรงตามมาตรา ตามอย่างภาษาอื่น เช่น แม่ กก ใช้ ข ค ฆ สะกด แม่ กน ใช้ ญ ณ ร ล ฬ สะกด แม่ กด ใช้ จ ช ฎ ฏ ฐ ฒ ต ถ ท ธ สะกดเพิ่มขึ้น 5.มีตัวการัตน์เพิ่มขึ้น ลักษณะเด่นของภาษาไทย ภาษาไทยไทม่ว่าจะเป็นภาษาไทยแท้ หรือ ภาษาไทยปัจจุบัน มีลักษณะเด่นผิดแผกจากลักษณะของภาษาบาลีสันสกฤต หรือ อังกฤษ ดังนี้ 1.ภาษาไทยประกอบด้วยคำโดด มากกว่าภาษาบาลี สันสกฤต หรือ อังกฤษ เช่น คำไทย บาลี อังกฤษ พ่อ ปิตุ father น้ำ อุทก water ฟ้า นภา sky 2.ไม่มีหลักไวยกรณ์ เช่นเกี่ยวกับ ปัจจัย อุปสรรค กาล เพศ พจน์ ฯลฯ แน่นอนอย่างภาษาบาลีสันสกฤต หรือ อังกฤษ คำไทยแท้ไม่มีการเปลี่ยนรูปคำโดยการลงปัจจัย เพื่อแสดงชนิดของคำ กาล เพศ พจน์ ฯลฯ ถ้าต้องการบอกชนิดของคำ ใช้คำมาเพิ่มข้างหน้า ถ้าต้อการบอก กาล เพศ พจน์ ใช้คำมาต่อข้างหน้าหรือข้างหลัง โดยไม่เปลี่ยนรูปคำเดิม เช่น เดิน กริยา การเดิน นาม ดี วิเศษณ์ ความดี " กินอยู่ กาลสามัญปัจจุบัน กินแล้ว อดีตกาลสมบูรณ์ ช้างพลาย เพศชาย ช้างพัง เพศหญิง เด็กคนเดียว เอกพจน์ เด็กหลายคน พหูพจน์ คำบาลีสันสกฤต หรือ อังกฤษ มีการเปลี่ยนรูปคำในตัวเพื่อแสดงหน้าที่กาล เพศ พจน์ ของคำ เช่น กร (ทำ) กริยา การก (ผู้ทำ) นามนาม รม (ยินดี) กริยา รมณีย (น่ายินดี) คุณนาม กุมาโร (เด็กชายคนเดียว) กุมารา (เด็กชายหลายคน) กุมาโร (เด็กชาย) กุมารี (เด็กหญิง) คจฉติ (ย่อมไป) คโต (ไปแล้ว) die (ตาย) กริยา death (ความตาย) นาม man (คนผู้ชายคนเดียว) men (คนผู้ชายหลายคน) prince (เจ้าชาย) princess (เจ้าหญิง) work (ทำงาน) worked (ได้ทำงาน) 3.ภาษาไทยเป็นภาษาเสียงดนตรี คือ เมื่อเสียงของคำสูงต่ำผิดไป ความหมายย่อมเปลี่ยนไปด้วย จึงจำต้องใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์กำกับคำไว้ คา ข่า ข้า ค้า ขา มีความหมายแตกต่างกันแต่ละคำ ส่วนภาษาบาลีสันสกฤต หรือ อังกฤษ ไม่ใช่ภาษาเสียงดนตรี เมื่อเสียงคำเพี้ยนไปความหมายก็ไม่เปลี่ยนแปลง เช่น เต (เขาทั้งหลาย) ถึงแม้จะออกเสียงเป็น เต่ เต้ เต๊ เต๋ หรือ car (รถยนต์) ออกเสียงเป็น คา ข่า ข้า ค้า ขา ก็คงมีความหมายเช่นเดิม 4.คำขยายในภาษาไทย ส่วนมากอยู่ข้างหลังคำที่ถูกขยาย เช่น คนดี วิ่งเร็ว สูงมาก ส่วนคำภาษาอื่น เช่น บาลี สันสกฤต อังกฤษ หรือแม้แต่ภาษาจีน ซึ่งมัลักษณะคล้ายภาษาไทย ส่วนมากคำขยายอยู่ข้างหน้าตำที่มันขยาย

ประวัติสุนทรภู่

26 มิถุนายน วันสุนทรภู่ สุนทรภู่ เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม ขอขอบคุณภาพประกอบจาก pantip.com โพสต์โดย คุณนายรถซุง ถ้าเอ่ยชื่อ "สุนทรภู่" เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักกวีชาวไทยที่มีชื่อเสียงก้องโลก โดยเฉพาะกลอนนิทานเรื่อง "พระอภัยมณี" จนได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านงานวรรณกรรม หรือ “มหากวีแห่งรัตนโกสินทร์" หรือ “เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย" และคงเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า "วันที่ 26 มิถุนายน" ของทุกปีคือ "วันสุนทรภู่" ซึ่งมักจะมีการจัดนิทรรศการ ประกวดแต่งคำกลอน เพื่อแสดงถึงการรำลึกถึง เพราะฉะนั้น วันนี้กระปุกดอทคอมจึงไม่พลาด ขอพาไปเปิดประวัติ "วันสุนทรภู่" ให้มากขึ้นค่ะ... ชีวประวัติ "สุนทรภู่" สุนทรภู่ กวีสำคัญสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เกิดวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลา 2 โมงเช้า หรือตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 เวลา 8.00 น. นั่นเอง ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง (บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน) บิดาของท่านเป็นชาวกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ชื่อพ่อพลับ ส่วนมารดาเป็นชาวเมืองฉะเชิงเทรา ชื่อแม่ช้อย สันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวงอยู่ในพระราชวังหลัง เชื่อว่าหลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำ ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง อันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนั้น สุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง ซึ่งสุนทรภู่ยังมีน้องสาวต่างบิดาอีกสองคน ชื่อฉิมและนิ่ม อีกด้วย "สุนทรภู่" ได้รับการศึกษาในพระราชวังหลังและที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน แต่ไม่ชอบทำงานอื่นนอกจากแต่งบทกลอน ซึ่งสามารถแต่งได้ดีตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม เพราะตั้งแต่เยาว์วัยสุนทรภู่มีนิสัยรักแต่งกลอนยิ่งกว่างานอื่น ครั้งรุ่นหนุ่มก็ไปเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่วัดศรีสุดารามในคลองบางกอกน้อย ได้แต่งกลอนสุภาษิตและกลอนนิทานขึ้นไว้ เมื่ออายุราว 20 ปี ต่อมาสุนทรภู่ลอบรักกับนางข้าหลวงในวังหลังคนหนึ่ง ชื่อแม่จัน ซึ่งเป็นบุตรหลานผู้มีตระกูล จึงถูกกรมพระราชวังหลังกริ้วจนถึงให้โบยและจำคุกคนทั้งสอง แต่เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2349 จึงมีการอภัยโทษแก่ผู้ถูกลงโทษทั้งหมดถวายเป็นพระราชกุศล หลังจากสุนทรภู่ออกจากคุก เขากับแม่จันก็เดินทางไปหาบิดาที่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และมีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อ “พ่อพัด” ได้อยู่ในความอุปการะของเจ้าครอกทองอยู่ ส่วนสุนทรภู่กับแม่จันก็มีเรื่องระหองระแหงกันเสมอ จนภายหลังก็เลิกรากันไป หลังจากนั้น สุนทรภู่ ก็เดินทางเข้าพระราชวังหลัง และมีโอกาสได้ติดตามพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ในฐานะมหาดเล็ก ตามเสด็จไปในงานพิธีมาฆบูชา ที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2350 และเขาก็ได้แต่ง “นิราศพระบาท” พรรณนาเหตุการณ์ในการเดินทางคราวนี้ด้วย และหลังจาก “นิราศพระบาท” ก็ไม่ปรากฏผลงานใดๆ ของสุนทรภู่อีกเลย จนกระทั่งเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนแต่งตั้งให้เป็นกวีที่ปรึกษาและคอยรับใช้ใกล้ชิด เนื่องจากเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแต่งกลอนบทละครในเรื่อง "รามเกียรติ์" ติดขัดไม่มีผู้ใดต่อกลอนได้ต้องพระราชหฤทัย จึงโปรดให้สุนทรภู่ทดลองแต่ง ปรากฏว่าแต่งได้ดีเป็นที่พอพระทัย จึงทรงพระกรุณาฯ เลื่อนให้เป็น "ขุนสุนทรโวหาร" ต่อมาในราว พ.ศ. 2364 สุนทรภู่ต้องติดคุกเพราะเมาสุราอาละวาดและทำร้ายท่านผู้ใหญ่ แต่ติดอยู่ไมนานก็พ้นโทษ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงติดขัดบทพระราชนิพนธ์เรื่อง "สังข์ทอง" ไม่มีใครแต่งได้ต้องพระทัย ทรงให้สุนทรภู่ทดลองแต่งก็เป็นที่พอพระราชหฤทัยภายหลังพ้นโทษ สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 และ เชื่อกันว่าสุนทรภู่แต่งเรื่อง "สวัสดิรักษา" ในระหว่างเวลานี้ ซึ่งในระหว่างรับราชการอยู่นี้ สุนทรภู่แต่งงานใหม่กับแม่นิ่ม มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน ชื่อ "พ่อตาบ "สุนทรภู่" รับราชการอยู่เพียง 8 ปี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นสุนทรภู่ก็ออกบวชที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) อยู่เป็นเวลา 18 ปี ระหว่างนั้นได้ย้ายไปอยู่วัดต่างๆ หลายแห่ง ได้แก่ วัดเลียบ, วัดแจ้ง, วัดโพธิ์, วัดมหาธาตุ และวัดเทพธิดาราม ซึ่งผลจากการที่ภิกษุภู่เดินทางธุดงค์ไปที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ปรากฏผลงานเป็นนิราศเรื่องต่างๆ มากมาย งานเขียนชิ้นสุดท้ายที่ภิกษุภู่แต่งไว้ก่อนลาสิกขาบท คือ รำพันพิลาป โดยแต่งขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม พ.ศ. 2385 ทั้งนี้ ระหว่างที่ออกเดินทางธุดงค์ ภิกษุภู่ได้รับการอุปการะจากพระองค์เจ้าลักขณานุคุณจนพระองค์ประชวรสิ้นพระชมน์ สุนทรภู่จึงลาสิกขาบท รวมอายุพรรษาที่บวชได้ประมาณ 10 พรรษา สุนทรภู่ออกมาตกระกำลำบากอยู่พักหนึ่งจึงกลับเข้าไปบวชอีกครั้งหนึ่ง แต่อยู่ได้เพียง 2 พรรษา ก็ลาสิกขาบท และถวายตัวอยู่กับเจ้าฟ้าน้อย หรือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระราชวังเดิม รวมทั้งได้รับอุปการะจากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพอีกด้วย ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ครองราชย์ ทรงสถาปนาเจ้าฟ้า กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่วังหน้า (พระบวรราชวัง) สุนทรภู่จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระสุนทรโวหาร" ตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายบวรราชวังในปี พ.ศ. 2394 และรับราชการต่อมาได้ 4 ปี ก็ถึงแก่มรณกรรมใน พ.ศ. 2398 รวมอายุได้ 70 ปี ในเขตพระราชวังเดิม ใกล้หอนั่งของพระยามนเทียรบาล (บัว) ที่เรียกชื่อกันว่า "ห้องสุนทรภู่" สำหรับทายาทของสุนทรภู่นั้น เชื่อกันว่าสุนทรภู่มีบุตรชาย 3 คน คือ"พ่อพัด" เกิดจากภรรยาคนแรกคือแม่จัน "พ่อตาบ" เกิดจากภรรยาคนที่สองคือแม่นิ่ม และ "พ่อนิล" เกิดจากภรรยาที่ชื่อแม่ม่วง นอกจากนี้ ปรากฏชื่อบุตรบุญธรรมอีกสองคน ชื่อ "พ่อกลั่น" และ "พ่อชุบ" อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น และตระกูลของสุนทรภู่ได้ใช้นามสกุลต่อมาว่า "ภู่เรือหงส์" ผลงานของสุนทรภู่ หนังสือบทกลอนของสุนทรภู่มีอยู่มาก เท่าที่ปรากฏเรื่องที่ยังมีฉบับอยู่ในปัจจุบันนี้คือ… ประเภทนิราศ - นิราศเมืองแกลง (พ.ศ. 2349) - แต่งเมื่อหลังพ้นโทษจากคุก และเดินทางไปหาพ่อที่เมืองแกลง - นิราศพระบาท (พ.ศ. 2350) - แต่งหลังจากกลับจากเมืองแกลง และต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีในวันมาฆบูชา - นิราศภูเขาทอง (ประมาณ พ.ศ. 2371) - แต่งโดยสมมุติว่า เณรหนูพัด เป็นผู้แต่งไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่จังหวัดอยุธยา - นิราศสุพรรณ (ประมาณ พ.ศ. 2374) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผลงานเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลง - นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ. 2375) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะตามลายแทงที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ (ไม่ปรากฏว่าที่จริงคือวัดใด) ที่จังหวัดอยุธยา - นิราศอิเหนา (ไม่ปรากฏ, คาดว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ 3) แต่งเป็นเนื้อเรื่องอิเหนารำพันถึงนางบุษบา - รำพันพิลาป (พ.ศ. 2385) - แต่งเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม แล้วเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จึงบันทึกความฝันพร้อมรำพันความอาภัพของตัวไว้เป็น "รำพันพิลาป" จากนั้นจึงลาสิกขาบท - นิราศพระประธม (พ.ศ. 2385) –เชื่อว่าแต่งเมื่อหลังจากลาสิกขาบทและเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปนมัสการพระประธมเจดีย์ (หรือพระปฐมเจดีย์) ที่เมืองนครชัยศรี - นิราศเมืองเพชร (พ.ศ. 2388) - แต่งเมื่อเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อว่าไปธุระราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง นิราศเรื่องนี้มีฉบับค้นพบเนื้อหาเพิ่มเติมซึ่ง อ.ล้อม เพ็งแก้ว เชื่อว่า บรรพบุรุษฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชร ประเภทนิทาน เรื่องโคบุตร, เรื่องพระอภัยมณี, เรื่องพระไชยสุริยา, เรื่องลักษณวงศ์, เรื่องสิงหไกรภพ พระอภัยมณี สุดสาคร ประเภทสุภาษิต - สวัสดิรักษา- คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์ - สุภาษิตสอนหญิง - เป็นหนึ่งในผลงานซึ่งยังเป็นที่เคลือบแคลงว่า สุนทรภู่เป็นผู้ประพันธ์จริงหรือไม่ - เพลงยาวถวายโอวาท - คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว ประเภทบทละคร - เรื่องอภัยณุรา ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อถวายพระองค์เจ้าดวงประภา พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเภทบทเสภา - เรื่องขุนช้างขุนแผน (ตอนกำเนิดพลายงาม) - เรื่องพระราชพงศาวดาร ประเภทบทเห่กล่อม แต่งขึ้นสำหรับใช้ขับกล่อมหม่อมเจ้าในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ กับพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เท่าที่พบมี 4 เรื่องคือ เห่จับระบำ, เห่เรื่องพระอภัยมณี, เห่เรื่องโคบุตร เห่เรื่องพระอภัยมณี, เห่เรื่องกากี ตัวอย่างวรรคทองที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่ ด้วยความที่สุนทรภู่เป็นศิลปินเอกที่มีผลงานทางวรรณกรรม วรรณคดีมากมาย ทำให้ผลงานหลาย ๆ เรื่องของ สุนทรภู่ ถูกนำไปเป็นบทเรียนให้เด็กไทยได้ศึกษา จึงทำให้มีหลาย ๆ บทประพันธ์ที่คุ้นหู หรือ "วรรคทอง" ยกตัวอย่างเช่น บางตอนจาก นิราศภูเขาทอง ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย ทำบุญบวชกรวดน้ำขอสำเร็จ สรรเพชญโพธิญาณประมาณหมาย ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืนฯ ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา บางตอนจาก นิราศอิเหนา จะหักอื่นขืนหักก็จักได้ หักอาลัยนี้ไม่หลุดสุดจะหัก สารพัดตัดขาดประหลาดนัก แต่ตัดรักนี้ไม่ขาดประหลาดใจ บางตอนจาก พระอภัยมณี บัดเดี๋ยวดังหงั่งเหง่งวังเวงแว่ว สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา ประคองพาขึ้นไปจนบนบรรพต แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน (พระฤาษีสอนสุดสาคร) แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี (พระฤาษีสอนสุดสาคร) อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน แค่องค์พระปฎิมายังราคิน คนเดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา เขาย่อมเปรียบเทียบความว่ายามรัก แต่น้ำผักต้มขมชมว่าหวาน ครั้นรักจางห่างเหินไปเนิ่นนาน แต่น้ำตาลว่าเปรี้ยวไม่เหลียวแล ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน แม้เกิดในใต้ฟ้าสุธาธาร ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา เชยผกาโกสุมประทุมทอง แม้เป็นถ้ำอำไพใคร่เป็นหงส์ จะร่อนลงสิงสู่เป็นคู่สอง ขอติดตามทรามสงวนนวลละออง เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป (ตอน พระอภัยมณีเกี้ยวนางละเวง ได้ถูกนำไปดัดแปลงเล็กน้อยกลายเป็นเพลง "คำมั่นสัญญา") บางตอนจาก เพลงยาวถวายโอวาท อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย เจ็บจนตายเพราะเหน็บให้เจ็บใจ บางตอนจาก สุภาษิตสอนหญิง มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์ จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน จะพูดจาปราศรัยกับใครนั้น อย่าตะคั้นตะคอกให้เคืองหู ไม่ควรพูดอื้ออึ้งขึ้นมึงกู คนจะหลู่ล่วงลามไม่ขามใจ เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา จะพูดจาพิเคราะห์ให้เหมาะความ รู้วิชาก็ให้รู้เป็นครูเขา จึงจะเบาแรงตนช่วยขนขวาย มีข้าไทใช้สอย ค่อยสบาย ตัวเป็นนายโง่เง่าบ่าวไม่เกรง บางตอนจาก ขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม แม่รักลูก ลูกก็รู้ อยู่ว่ารัก ใครอื่นสัก หมื่นแสน ไม่แม้นเหมือน จะกินนอนวอนว่า เมตตาเตือน จะจากเรือน ร้างแม่ ก็แต่กาย ลูกผู้ชายลายมือนั้นคือยศ เจ้าจงอตส่าห์ทำสม่ำเสมียน (ขุนแผนสอนพลายงาม) บางตอนจาก นิราศภูเขาทอง ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจาฯ บางตอนจาก นิราศพระบาท เจ้าของตาลรักหวานขึ้นปีนต้น เพราะดั้นด้นอยากลิ้มชิมรสหวาน ครั้นได้รสสดสาวจากจาวตาล ย่อมซาบซ่านหวานซึ้งตรึงถึงทรวง ไหนจะยอมให้เจ้าหล่นลงเจ็บอก เพราะอยากวกขึ้นลิ้นชิมของหวง อันรสตาลหวานละม้ายคล้ายพุ่มพวง พี่เจ็บทรวงช้ำอกเหมือนตกตาล... ที่มาของวันสุนทรภู่ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNESCO) ซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ผลงาน ด้านวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่างๆ ทั่วโลก ด้วยการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบรอบ 100 ปีขึ้นไป ประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณและผลงานของผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลกให้ปรากฎแก่มวลสมาชิกทั่วโลก และเพื่อเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองร่วมกับประเทศที่มีผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ในการนี้ รัฐบาลไทยโดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้สืบค้นบรรพบุรุษไทยผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม เพื่อให้ยูเนสโกประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติและได้ประกาศยกย่อง "สุนทรภู่" ให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก โดยในวาระครบรอบ 200 ปีเกิด เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2529 ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการจัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้น เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับชีวิตและงานของสุนทรภู่ ให้แพร่หลายในหมู่เยาวชนและประชาชนชาวไทยมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ทางรัฐบาลจึงได้กำหนดให้ วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีเป็น "วันสุนทรภู่" ซึ่งนับแต่นั้น เมื่อถึงวันสุนทรภู่ จะมีการจัดงานรำลึกถึงสุนทรภู่ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ที่พิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ "วัดเทพธิดาราม" และ ที่จังหวัดระยอง และมีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่างๆ โดยทั่วไป ทั้งนี้ ผลงานของสุนทรภู่ยังเป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมาไม่ขาดสาย และมีการนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่างๆ เช่น หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงละคร มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ ไว้ที่ ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นบ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และเป็นกำเนิดผลงานนิราศเรื่องแรกของท่านคือ นิราศเมืองแกลง กิจกรรมที่ควรปฏิบัติ ในวันสุนทรภู่ 1. มีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติชีวิตและผลงาน 2. มีการแสดงผลงานประเภทนิทานฯ ของสุนทรภู่ 3. มีการประกวด แข่งขัน ประชันสักวา ตอบคำถามเกี่ยวกับประวัติชีวิต และผลงานของสุนทรภู่ สามารถติดตามอ่าน บท กลอนสุนทรภู่ ผลงานสุนทรภู่ ได้ที่นี่ค่ะ

ประวัติพระพุทธ

พุทธประวัติ ประวัติพระพุทธเจ้า ประวัติพระพุทธเจ้า เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม ขอขอบคุณภาพประกอบจาก learntripitaka.com "ศาสนาพุทธ" เป็นศาสนาประจำชาติไทยของเรา แล้วมีสักกี่คนเอ่ย...ที่ทราบถึงประวัติของ "พระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ผู้ทรงเป็น "พระศาสดา" ของ "พระพุทธศาสนา" วันนี้กระปุกจึงนำเรื่องราวพุทธประวัติ หรือ ประวัติพระพุทธเจ้า มาฝากกันค่ะ พระพุทธเจ้าทรงมีพระนามเดิมว่า "สิทธัตถะ" หมายถึง ผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว หรือผู้ปรารถนาสิ่งใด ย่อมได้สิ่งนั้น ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ และ "พระนางสิริมหามายา" พระราชธิดาของกษัตริย์ราชสกุลโกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ ในคืนที่พระพุทธเจ้าเสด็จปฏิสนธิในครรภ์พระนางสิริมหามายา พระนางทรงพระสุบินนิมิตว่า มีช้างเผือกมีงาสามคู่ได้เข้ามาสู่พระครรภ์ ณ ที่บรรทม ก่อนที่พระนางจะมีพระประสูติกาล ที่ใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน เมื่อวันศุกร์ ขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนวิสาขะ ปีจอ 80 ปีก่อนพุทธศักราช (ปัจจุบันสวนลุมพินีวันอยู่ในประเทศเนปาล) ทันทีที่ประสูติ เจ้าชายสิทธัตถะทรงดำเนินด้วยพระบาท 7 ก้าว และมีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับพระบาท พร้อมเปล่งพระวาจาว่า "เราเป็นเลิศที่สุดในโลก ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของเรา" แต่หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะประสูติกาลได้แล้ว 7 วัน พระนางสิริมหามายาก็เสด็จสวรรคาลัย เจ้าชายสิทธัตถะจึงอยู่ในความดูแลของพระนางประชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นพระกนิษฐาของพระนางสิริมหามายา ทั้งนี้ พราหมณ์ ทั้ง 8 ได้ทำนายว่า เจ้าชายสิทธัตถะมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ หากดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันหนักแน่นว่า พระราชกุมารสิทธัตถะจะเสด็จออกบวช และจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ประวัติพระพุทธเจ้า : ชีวิตในวัยเด็ก เจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษาเล่าเรียนจนจบศิลปศาสตร์ทั้ง 18 ศาสตร์ ในสำนักครูวิศวามิตร และเนื่องจากพระบิดาไม่ประสงค์ให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็นศาสดาเอกของโลก จึงพยายามทำให้เจ้าชายสิทธัตถะพบเห็นแต่ความสุข โดยการสร้างปราสาท 3 ฤดู ให้อยู่ประทับ และจัดเตรียมความพร้อมสำหรับการราชาภิเษกให้เจ้าชายขึ้นครองราชย์ เมื่อมีพระชนมายุ 16 พรรษา ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางพิมพา หรือยโสธรา พระธิดาของพระเจ้ากรุงเทวทหะซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพระมารดา จนเมื่อมีพระชนมายุ 29 พรรษา พระนางพิมพาได้ให้ประสูติพระราชโอรส มีพระนามว่า "ราหุล" ซึ่งหมายถึง "บ่วง" ประวัติพระพุทธเจ้า : เสด็จออกผนวช ประวัติพระพุทธเจ้า วันหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะทรงเบื่อความจำเจในปราสาท 3 ฤดู จึงชวนสารถีทรงรถม้าประพาสอุทยาน ครั้งนั้นได้ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช โดยเทวทูต (ทูตสวรรค์) ที่แปลงกายมา พระองค์จึงทรงคิดได้ว่า นี่เป็นธรรมดาของโลก ชีวิตของทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ จึงทรงเห็นว่าความสุขทางโลกเป็นเพียงภาพมายาเท่านั้น และวิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ คือต้องครองเรือนเป็นสมณะ ดังนั้นพระองค์จึงใคร่จะเสด็จออกบรรพชา ในขณะที่มีพระชนม์ 29 พรรษา ครานั้นพระองค์ได้เสด็จไปพร้อมกับนายฉันทะ สารถี ซึ่งเตรียมม้าพระที่นั่ง นามว่ากัณฑกะ มุ่งตรงไปยังแม่น้ำอโนมานที ก่อนจะประทับนั่งบนกองทราย ทรงตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์ และเปลี่ยนชุดผ้ากาสาวพัตร์ (ผ้าย้อมด้วยรสฝาดแห่งต้นไม้) และให้นายฉันทะ นำเครื่องทรงกลับพระนคร ก่อนที่พระองค์จะเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ (การเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่) ไปโดยเพียงลำพัง เพื่อมุ่งพระพักตร์ไปยังแคว้นมคธ ประวัติพระพุทธเจ้า : บำเพ็ญทุกรกิริยา หลังจากทรงผนวชแล้ว พระองค์มุ่งไปที่แม่น้ำคยา แคว้นมคธ ได้พยายามเสาะแสวงทางพ้นทุกข์ ด้วยการศึกษาค้นคว้าทดลองในสำนักอาฬารดาบส กาลามโครตร และอุทกดาบส รามบุตร แต่เมื่อเรียนจบทั้ง 2 สำนักแล้ว ทรงเห็นว่านี่ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ จากนั้นพระองค์ได้เสด็จไปที่แม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม และทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ด้วยการขบฟันด้วยฟัน กลั้นหายใจและอดอาหาร จนร่างกายซูบผอม แต่หลังจากทดลองได้ 6 ปี ทรงเห็นว่านี่ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา และหันมาฉันอาหารตามเดิม ด้วยพระราชดำริตามที่ท้าวสักกเทวราชได้เสด็จลงมาดีดพิณถวาย 3 วาระ คือดีดพิณสายที่ 1 ขึงไว้ตึงเกินไปเมื่อดีดก็จะขาด ดีดพิณวาระที่ 2 ซึ่งขึงไว้หย่อน เสียงจะยืดยาดขาดความไพเราะ และวาระที่ 3 ดีดพิณสายสุดท้ายที่ขึงไว้พอดี จึงมีเสียงกังวานไพเราะ ดังนั้นจึงทรงพิจารณาเห็นว่า ทางสายกลางคือไม่ตึงเกินไป และไม่หย่อนเกินไป นั่นคือทางที่จะนำสู่การพ้นทุกข์ หลังจากพระองค์เลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ทำให้พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยา มหานามะ อัสสชิ ที่มาคอยรับใช้พระองค์ด้วยความคาดหวังว่าเมื่อพระองค์ค้นพบทางพ้นทุกข์ จะได้สอนพวกตนให้บรรลุด้วย เกิดเสื่อมศรัทธาที่พระองค์ล้มเลิกความตั้งใจ จึงเดินทางกลับไปที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ตำบลสารนาถ เมืองพาราณสี ประวัติพระพุทธเจ้า : ตรัสรู้ ประวัติพระพุทธเจ้า ครานั้นพระองค์ทรงประทับนั่งขัดสมาธิ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ อุรุเวลาเสนานิคม เมืองพาราณสี หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และตั้งจิตอธิษฐานด้วยความแน่วแน่ว่าตราบใดที่ยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ก็จะไม่ลุกขึ้นจากสมาธิบัลลังก์ แม้จะมีหมู่มารเข้ามาขัดขวาง แต่ก็พ่ายแพ้พระบารมีของพระองค์กลับไป จนเวลาผ่านไปในที่สุดพระองค์ทรงบรรลุรูปฌาณ คือ ครานั้นพระองค์ทรงประทับนั่งขัดสมาธิ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ อุรุเวลาเสนานิคม เมืองพาราณสี หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และตั้งจิตอธิษฐานด้วยความแน่วแน่ว่าตราบใดที่ยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ก็จะไม่ลุกขึ้นจากสมาธิบัลลังก์ แม้จะมีหมู่มารเข้ามาขัดขวาง แต่ก็พ่ายแพ้พระบารมีของพระองค์กลับไป จนเวลาผ่านไปในที่สุดพระองค์ทรงบรรลุรูปฌาณ คือ ยามต้น หรือปฐมยาม ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ สามารถระลึกชาติได้ ยามสอง ทางบรรลุจุตูปปาตญาณ (ทิพยจักษุญาณ) คือ รู้เรื่องการเกิดการตายของสัตว์ทั้งหลายว่าเป็นไปตามกรรมที่กำหนดไว้ ยามสาม ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ หรือกิเลส ด้วยอริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค และได้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นศาสดาเอกของโลก ซึ่งวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ขณะที่มีพระชนม์ 35 พรรษา ประวัติพระพุทธเจ้า : แสดงปฐมเทศนา หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาธรรมที่พระองค์ตรัสรู้มาเป็นเวลา 7 สัปดาห์ และทรงเห็นว่าพระธรรมนั้นยากต่อบุคคลทั่วไปที่จะเข้าใจและปฏิบัติได้ พระองค์จึงทรงพิจารณาว่า บุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวกอย่าง บัว 4 เหล่า ที่มีทั้งผู้ที่สอนได้ง่าย และผู้ที่สอนได้ยาก พระองค์จึงทรงระลึกถึงอาฬารดาบสและอุทกดาบส ผู้เป็นพระอาจารย์ จึงหวังเสด็จไปโปรด แต่ทั้งสองท่านเสียชีวิตแล้ว พระองค์จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 ที่เคยมาเฝ้ารับใช้ จึงได้เสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ธรรมเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงธรรมคือ "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" แปลว่าสูตรของการหมุนวงล้อแห่งพระธรรมให้เป็นไป ซึ่งถือเป็นการแสดงพระธรรมเทศนาครั้งแรก ในวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งตรงกับวันอาสาฬหบูชา ในการนี้พระโกณฑัญญะได้ธรรมจักษุ คือดวงตาเห็นธรรมเป็นคนแรก พระพุทธองค์จึงทรงเปล่งวาจาว่า "อัญญาสิ วตโกณฑัญโญ" แปลว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้ว ท่านโกณฑัญญะ จึงได้สมญาว่า อัญญาโกณฑัญญะ และได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา โดยเรียกการบวชที่พระพุทธเจ้าบวชให้ว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" หลังจากปัญจวัคคีย์อุปสมบททั้งหมดแล้ว พุทธองค์จึงทรงเทศน์อนัตตลักขณสูตร ปัญจวัคคีย์จึงสำเร็จเป็นอรหันต์ในเวลาต่อมา ประวัติพระพุทธเจ้า : การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ต่อมาพระพุทธเจ้าได้เทศน์พระธรรมเทศนาโปรดแก่ยสกุลบุตร รวมทั้งเพื่อนของยสกุลบุตร จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด รวม 60 รูป พระพุทธเจ้าทรงมีพระราชประสงค์จะให้มนุษย์โลกพ้นทุกข์ พ้นกิเลส จึงตรัสเรียกสาวกทั้ง 60 รูป มาประชุมกัน และตรัสให้พระสาวก 60 รูป จาริกแยกย้ายกันเดินทางไปประกาศศาสนา 60 แห่ง โดยลำพัง ในเส้นทางที่ไม่ซ้ำกัน เพื่อให้สามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้ในหลายพื้นที่อย่างครอบคลุม ส่วนพระองค์เองได้เสด็จไปแสดงธรรม ณ ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม หลังจากสาวกได้เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในพื้นที่ต่างๆ ทำให้มีผู้เลื่อมใสพระพทุธศาสนาเป็นจำนวนมาก พระองค์จึงทรงอนุญาตให้สาวกสามารถดำเนินการบวชได้ โดยใช้วิธีการ "ติสรณคมนูปสัมปทา" คือ การปฏิญาณตนเป็นผู้ถึงพระรัตนตรัย พระพุทธศาสนาจึงหยั่งรากฝังลึกและแพร่หลายในดินแดนแห่งนั้นเป็นต้นมา ประวัติพระพุทธเจ้า : เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ประวัติพระพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์และแสดงพระธรรมเทศนา ตลอดระยะเวลา 45 พรรษา ทรงสดับว่า อีก 3 เดือนข้างหน้าจะปรินิพพาน จึงได้ทรงปลงอายุสังขาร ขณะนั้นพระองค์ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวลาสี แคว้นวัชชี โดยก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน 1 วัน พระองค์ได้เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะทำถวาย แต่เกิดอาพาธลง ทำให้พระอานนท์โกรธ แต่พระองค์ตรัสว่า "บิณฑบาตที่มีอานิสงส์ที่สุด มี 2 ประการ คือ เมื่อตถาคต (พุทธองค์) เสวยบิณฑบาตแล้วตรัสรู้ และปรินิพพาน" และมีพระดำรัสว่า "โย โว อานนท ธมม จ วินโย มยา เทสิโต ปญญตโต โส โว มมจจเยน สตถา" อันแปลว่า "ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยอันที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว" พระพุทธเจ้าทรงประชวรหนัก แต่ทรงอดกลั้นมุ่งหน้าไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธุ์ปรินิพพาน โดยก่อนที่จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานนั้น พระองค์ได้อุปสมบทแก่พระสุภัททะปริพาชก ซึ่งถือได้ว่า "พระสุภภัททะ" คือสาวกองค์สุดท้ายที่พระพุทธองค์ทรงบวชให้ ในท่ามกลางคณะสงฆ์ทั้งที่เป็นพระอรหันต์ และปุถุชนจากแคว้นต่างๆ รวมทั้งเทวดา ที่มารวมตัวกันในวันนี้ ในครานั้นพระองค์ทรงมีปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย สังขารทั้งปวงมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา พวกเธอจึงทำประโยชน์ตนเอง และประโยชน์ของผู้อื่นให้สมบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" (อปปมาเทน สมปาเทต) จากนั้นได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ใต้ต้นสาละ ณ สาลวโนทยาน ของเหล่ามัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 รวมพระชนม์ 80 พรรษา และวันนี้ถือเป็นการเริ่มต้นของพุทธศักราช

โรคไม่ติดต่อ

โรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ และการป้องกัน โรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย ความหมายและความสำคัญของโรคไม่ติดต่อ โรค ไม่ติดต่อ หมายถึง โรคที่เกิดจากความผิดปกติหรือความเสื่อมโทรมของร่างกายและจิตใจ ไม่สามารถที่จะติดต่อไปหาบุคคลอื่นได้ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคนิ่ว โรคจิต และโรคประสาท โรคความดันเลือดต่างๆเป็นต้น ขณะ นี้ความสำคัญของโรคไม่ติดต่อกำลังเพิ่มมากขึ้น ไม่เฉพาะประเทศไทย แต่รวมถึงประเทศที่กำลังพัฒนาจำนวนมาก สำหรับประเทศไทยโรคติดต่อลดลงเหลือเพียง 3 โรคใหญ่ คือ โรคเอดส์ วัณโรค และไข้เลือดออก แต่โรคไม่ติดต่อกำลังมีบทบาทในการเป็นภัยต่อสุขภาพของประเทศ โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ โรคมะเร็ง และที่เป็นปัญหาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คือ โรคที่เกิดจากการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุ สำหรับ กลุ่มเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อ ที่ผ่านมาคือวัยทำงาน เพราะมีความเครียด ขาดการออกกำลังกาย เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง แต่ปัจจุบันเริ่มตั้งแต่แม่และเด็ก แม่ต้องมีความรู้ในการเลี้ยงลูก เพราะเด็กไทยเป็นเด็กที่อ้วนมากขึ้น อย่างน่าเป็นห่วง และเด็กที่อ้วนเมื่อเติบโตก็จะเป็นคนอ้วน มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เบาหวาน ซึ่งขณะนี้เด็กไทยที่เป็นโรคเบาหวานก็มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ ดังนั้น ตอนนี้ทุกกลุ่มต้องทราบว่าตัวเองมีสิทธิ์จะมีความเสี่ยง เ นื่องจากปัญหาสาธารณสุขไทยได้เปลี่ยนไปตามการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จากสังคมเกษตรสู่สังคมอุตสาหกรรม ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชน เช่น การบริโภคเปลี่ยนไป มีวิถีชีวิตที่รีบเร่ง การออกกำลังกายน้อยลง และมีความเครียดเพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังซึ่งเป็นโรค ที่ไม่ติดต่อกำลังทวีความรุนแรงขึ้น จากสถิติปัญหาสาธารณสุขไทยมีอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้น 5 อันดับแรกของผู้ป่วยที่มารักษาในโรงพยาบาลล้วนเป็นโรคที่ไม่ติดต่อ ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคไม่ติดต่อ ภัย เงียบที่คุกคามสุขภาพของคนในยุคปัจจุบันเนื่องจากมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยน แปลงของระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไม่ติดต่อ สภาพ เศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปมีอิทธิพลต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตของ ประชากรโดยพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปหลายประการ เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อ ปัจจัย เสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญ ได้แก่ ความเครียด การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ความดันเลือด การขาดการออกกำลังกาย โคเลสเตอรอลและความอ้วน แนวทางการปฏิบัติโดยทั่วไปในการป้องกันโรคไม่ติดต่อ ๑. ต้องรักษาอนามัยส่วนบุคคลให้ดี ๒. จัดให้มีการสุขาภิบาลที่ดี ๓. ล้างพืชผักให้สะอาดก่อนรับประทาน รับประทานอาหารที่สุกสะอาด ปราศจากสารปนเปื้อน ๔. เลือกซื้ออาหารที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยา มีมาตรฐาน ระบุวันเดือนปีที่ผลิต และวันหมดอายุ ๕.ควรออกกำลังการอย่าสม่ำเสมอ ตัวอย่างและแนวทางการป้องกัน รักษาโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ การป้องกันโรค แบ่งออกเป็น 3 ระดับได้แก่ ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ โดย 1. การป้องกันปฐมภูมิ (Primary Prevention) เป็นการป้องกันก่อนที่จะมีโรคเกิดขึ้น 2. การป้องกันทุติยภูมิ (Secondary Prevention) เป็น การป้องกันในคนที่เกิดโรคขึ้นแล้วแต่ยังไม่มีอาการแสดงชัดเจน เพื่อลดผลเสียของโรคที่เกิดขึ้น โดยการวินิจฉัยโรคแต่เริ่มแรกก่อนมีอาการแสดง และให้การรักษาแต่เนิ่นๆ 3. การป้องกันตติยภูมิ (Tertiary Prevention) เป็นการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่เป็นโรคแล้ว โดยให้การรักษา และการทำกายภาพบำบัด ตัวอย่างของโรค อารการและวิธีป้องกัน ชื่อโรค / สาเหตุ อาการ การป้องกัน โรคตาฟาง เกิดจากการขาดอาหารที่มีไวตามินเอ ตามัวเวลากลางคืน นัยน์ตาแห้ง เคืองตาไม่กล้าสู้แสง และผิวหนังหยาบ แห้ง แตกเป็นสะเก็ด รับประทานน้ำมันตับปลา นม ไข่แดงมะเขือเทศ ฟักทอง ข้าวโพด กล้วย มะละกอสุก ขนุน มะม่วง ละมุด ฯลฯ โรคเหน็บชา เกิดจากขาดอาหารที่มีไวตามันบีหนึ่ง เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ชาตามปลายมือปลายเท้า ขาลีบเรียว กล้ามเนื้อไม่ทำงาน เหนื่อยง่าย รับประทานข้าวซ้อมมือข้าวที่หุงไม่เช็ดน้ำ หรือใช้วิธีนึ่ง เนื้อหมู ปลา ไข่แดง เครื่องในสัตว์ถั่วต่างๆ และผักใบเขียว โรคแผลที่มุมปาก เกิดจากขาดไวตามินบีสอง มุมปากแตกเป็นแผลทั้งสองข้างริมฝีปากแห้ง ลิ้นอักเสบ ผิวหนังมุมจมูกด้านนอกอักเสบ และแตก รับประทานนม ตับ หัวใจ ผักใบเขียวและผักกำลังแตกยอด เช่น ใบขี้เหล็ก ผักโขม ใบมันสำปะหลัง ผักชียอดแค โรคโลหิตจาง เกิดจากขาดธาตุเหล็ก ขาดโปรตีนขาดไวตามินบีสิบสอง ร่างกายเสียเลือดมาก หรือเป็นโรคพยาธิลำไส้ ซีด เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย หงุดหงิดเล็บบาง เปราะ รับประทานเนื้อสัตว์ ไข่แดง กุ้งแห้งปลามู หอยขม ผักแว่น ผักพังพวย โหระพา สะระแหน่ คึ่นช่าย กะปิ โรคคอพอก เกิดจากขาดเกลือแร่ไอโอดีน ต่อมธัยรอยด์ที่คอโต ทำให้หายใจและกลืนอาหารลำบาก รับประทานอาหารทะเล ปลาทู หอย ปูและควรใช้เกลืออนามัย ประกอบอาหาร โรคกระดูกอ่อน เกิดจากขาดไวตามินดีและแคลเซียม กระดูกพิการ โค้ง กระดูกข้อต่อโตร่างกายเจริญเติบโตช้า รับประทานกุ้งแห้ง ปลาแห้งปลาเล็กปลาน้อย น้อมันตับปลา นม ยอดแค ผักคะน้า ถั่วแดง ใบยอผักโขม คึ่นช่ายกะปิ โรคผอมแห้ง เกิดจากรับประทานอาหารไม่พอกับที่ร่างกายต้องการ ผอมมาก ไม่มีไขมันใต้ผิวหนังอ่อนเพลีย ไม่มีแรง รับประทานให้พอเพียง มีสารอาหารครบและพักผ่อนอย่างพอเพียง โรคอ้วน เกิดจากรับประทาอาหารมากเกินไปหรือเกิดความผิดปกติของต่อมในร่างกาย อ้วนมาก ไมีไขมันสะสมใต้ผิวหนังมากเคลื่อนไหวไม่คล่องตัว เหนื่อยง่าย ลดอาหารพวกแป้ง และไขมันควรรับประทานผัก ผลไม้ ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ ความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุบางส่วนโดยเฉพาะคนไข้อายุน้อย เกิดจากโรคอื่น เช่น โรคไต โรคเบาหวาน ปวดมึดบริเวณท้ายทอยมักจะเป็นมากเวลาตื่นนอน พอสายๆ จะรู้สึกค่อยยังชั่ว คนไข้จะอ่อนเพลียใจสั่น ควรงดอาหารเค็มจัดและติดต่อรักษากับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ โรคเบาหวาน เกิดจากตับอ่อนสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยลง ทำให้การเผาผลาญน้ำตาลในร่างกาย มีน้อยจึงเกิดการคั่งของน้ำตาลในกระแสเลือด มีสาเหตุจาก กรรมพันธุ์หรือจากการใช้ยา อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย ดื่มน้ำบ่อยกินข้าวจุ น้ำหนักลด ปัสสาวะมีมดขึ้น หรือเป็นแผลเรื้อรัง ชาตามมือและเท้า รับประทานอาหารและผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อยที่สุด

โรคติดต่อ

โรคติดต่อ momo_ducky@hotmail.com,pla_bubble@hotmail.com [โรคตาแดง] [โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่] [โรควัณโรค] [โรคไข้เลือดออก] [โรคคอตีบ] [โรคคางทูม] [โรคบาดทะยัก] [โรคบิด] [โรคโปลิโอ] [โรคสมองอักเสบ] [โรคสุกใส] [โรคหัด] [โรคอุจจาระร่วงในเด็ก] [โรคไอกรน] [โรคไวรัสตับอักเสบ เอ] โรคติดต่อ มีอยู่ 22 โรคดังนี้ ตาแดง หูอักเสบ ไข้ตัวร้อน ชัก ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ วัณโรค หลอดลมอักเสบ หัด หัดเยอรมัน สุกใส คอตีบ ไอกรน โปลิโอ คางทูม บาดทะยัก ไข้เลือดออก สมองอักเสบ โรคติดต่อทางระบบทางเดินอาหาร อุจจาระร่วง บิด ไวรัสตับอักเสบ เอ ไวรัสตับอักเสบ บี

จริยธรรมและความปลอดภัย

จริยธรรมและความปลอดภัย เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อสังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่จำเป็นต้องพิจารณา รวมทั้งเรื่องความปลอดภัย ของระบบสารสนเทศการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หากไม่มีกรอบจริยธรรมกำกับไว้แล้ว สังคมย่อมจะเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาไม่สิ้นสุด รวมทั้งปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ด้วย ดังนั้นหน่วยงานที่ใช้ระบบสารสนเทศจึงจำเป็นต้องสร้างระบบความปลอดภัยเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว ประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรม คำจำกัดความของจริยธรรมมีอยู่มากมาย เช่น “หลักของศีลธรรมใ นแต่ละวิชาชีพเฉพาะ” “มาตรฐานของการประพฤติปฏิบัติในวิชาชีพที่ได้รับ” “ข้อตกลงกันในหมู่ประชาชนในการกระทำสิ่งที่ถูก และหลีกเลี่ยงการกระทำสิ่งที่ผิด” หรืออาจสรุปได้ว่า จริยธรรม (Ethics) หมายถึง หลักของความถูกและความผิดที่บุคคลใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ กรอบความคิดเรื่องจริยธรรม หลักปรัชญาเกี่ยวกับจริยธรรม มีดังนี้ (Laudon & Laudon, 1999) R.O. Mason และคณะ ได้จำแนกประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็น 4 ประเภทคือ ความเป็นส่วนตัว (Privacy) ความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ความเป็นเจ้าของ (Property) และความสามารถในการเข้าถึงได้ (Accessibility) (O’Brien, 1999: 675; Turban, et al., 2001: 512) 1) ประเด็นความเป็นส่วนตัว (Privacy) คือ การเก็บรวบรวม การเก็บรักษา และการเผยแพร่ ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับปัจเจกบุคคล 2) ประเด็นความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ได้แก่ ความถูกต้องแม่นยำของการเก็บรวบรวมและวิธีการปฏิบัติกับข้อมูลสารสนเทศ 3) ประเด็นของความเป็นเจ้าของ (Property) คือ กรรมสิทธิ์และมูลค่าของข้อมูลสารสนเทศ (ทรัพย์สินทางปัญญา) 4) ประเด็นของความเข้าถึงได้ (Accessibility) คือ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้และการจ่ายค่าธรรมเนียมในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว (Privacy) ความเป็นส่วนตัวของบุคคลต้องได้ดุลกับความต้องการของสังคม สิทธิของสาธารณชนอยู่เหนือสิทธิความเป็นส่วนตัวของปัจเจกชน การคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยปัจเจกชน หรือนิติบุคคล ซึ่งอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายความลับทางการค้า และกฎหมายสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ (copyright) ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หมายถึง สิทธิ์แต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น ซึ่งเป็นสิทธิ์ในการป้องกันการคัดลอกหรือทำซ้ำในงานเขียน งานศิลป์ หรืองานด้านศิลปะอื่น ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวลิขสิทธิ์ทั่วไป มีอายุห้าสิบปีนับแต่งานได้สร้างสรรค์ขึ้น หรือนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีอายุเพียง 28 ปี สิทธิบัตร (patent) ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 หมายถึง หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยสิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุยี่สิบปีนับแต่วันขอรับสิทธิบัตร ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะคุ้มครองเพียง 17 ปี อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime) อาชญากรรมคอมพิวเตอร์อาศัยความรู้ในการใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น โดยสามารถทำให้เกิดความเสียหายด้านทรัพย์สินเงินทองจำนวนมหาศาลมากกว่าการปล้นธนาคารเสียอีก นอกจากนี้อาชญากรรมประเภทนี้ยากที่จะป้องกัน และบางครั้งผู้ได้รับความเสียหายอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเครื่องประกอบอาชญากรรม เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเป้าหมายของอาชญากรรม การเข้าถึงและการใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงและการทำลายข้อมูล การขโมยข้อมูลข่าวสารและเครื่องมือ การสแกมทางคอมพิวเตอร์ (computer-related scams) การรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ การควบคุมที่มีประสิทธิผลจะทำให้ระบบสารสนเทศมีความปลอดภัยและยังช่วยลดข้อผิดพลาด การฉ้อฉล และการทำลายระบบสารสนเทศที่มีการเชื่อมโยงเป็นระบบอินเทอร์เน็ตด้วย ระบบการควบคุมที่สำคัญมี 3 ประการ คือ การควบคุมระบบสารสนเทศ การควบคุมกระบวนการทำงาน และการควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก (O’Brien, 1999: 656) การควบคุมระบบสารสนเทศ (Information System Controls) การควบคุมอินพุท การควบคุมการประมวลผล การควบฮาร์ดแวร์ (Hardware Controls) การควบคุมซอฟท์แวร์ (Software Controls) การควบคุมเอาท์พุท (Output Controls) การควบคุมความจำสำรอง (Storage Controls) การควบคุมกระบวนการทำงาน (Procedural Controls) การมีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน และมีคู่มือ การอนุมัติเพื่อพัฒนาระบบ แผนการป้องกันการเสียหาย ระบบการตรวจสอบระบบสารสนเทศ (Auditing Information Systems) การควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น (Facility Controls) ความปลอดภัยทางเครือข่าย (Network Security) การแปลงรหัส (Encryption) กำแพงไฟ (Fire Walls) การป้องกันทางกายภาพ (Physical Protection Controls) การควบคุมด้านชีวภาพ (Biometric Control) การควบคุมความล้มเหลวของระบบ (Computer Failure Controls)

การใช้โปรแกรม

การใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ 5 โปรแกรม ที่ช่วยให้คุณใช้งาน Windows ได้ดีขึ้น ค้นหา แทนที่คำอย่างเทพด้วย Simple Search-Replace v1.06 สามขั้นตอนหมู ๆ แปลงภาพเป็น Flash วิธีการแปลง ไฟล์นามสกุล *.RMVB ให้เป็น *.AVI Belarc Advisor ที่ปรึกษาเรื่องสเปคคอมพิวเตอร์ Uninstall ให้หมดด้วย ZSoft Uninstaller 2.3.4 ดาวน์โหลดอย่างรวดเร็วด้วย Orbit Downloader (ฟรีแวร์) มา Download คลิปวีดีโอ จาก YouTube และ MySpace กันดีกว่า มาทำให้ลูกศรหน้าไอคอนของคุณหายไปดีกว่า ท่องอินเตอร์เน็ตปลอดภัย ด้วย Free Internet Window Washer Defragmenter เร็วดังใจด้วย AusLogics Disk Defrag ตัดไฟล์ หนังหรือ วีดิโอ ด้วย AVI MPEG RM WMV Splitter ทำนามบัตรง่าย ๆ ด้วย Indentsoft Advanced Business Card Maker จับหน้าจอเว็บไซต์ง่าย ๆ ด้วย SnagIt8 สุดยอดของการตกแต่งภาพด้วย Piccasa2 โปรแกรมฟรี ๆ จาก Google มาปกป้องโฟลเดอร์สำคัญ ๆ ของคุณไม่ให้ใครเข้าไปเปิดดูได้กันดีกว่า Chat กันได้ใน Gmail ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการ Back Up System Restore บริการเสริมของวินโดวส์ที่คุณไม่ควรพลาด สุดยอดของการแปลงไฟล์ Multimedia โปรแกรมเดียวก็เกินพอ มาเร่งความเร็ว IE ของคุณกันดีกว่า มาตั้งเวลาปิดเครื่องคอมพิวเตอร์กันดีกว่า ทิปคอมพิวเตอร์ และการใช้โปรแกรมต่าง ๆ (เป็น PDF) มาทำให้ไฟล์ Word ของคุณเป็น PDF กันดีกว่า มา Backup Driver กันดีใหม ????

ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 16 ก.ย. ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์คือ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำคัญคือหากไม่มีภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากขาดชุดคำสั่งในการทำงาน คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้จะต้องมีการเขียนโปรแกรมหรือซอร์ฟแวร์ เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานโปรแกรมต่าง ๆ ที่เขียนขึ้นมานั้น จะต้องเขียนไปตามกฎเกณฑ์ของภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ 1. ภาษาเครื่อง (Machine language) 2. ภาษาแอสเซมบลี (Assembly language) 3. ภาษาชั้นสูง (High-level language)หรือ ภาษารุ่นที่ 3 (3GL:Third Generation Language) 4. ภาษาชั้นสูงมาก (Very high-level language)หรือภาษารุ่นที่ 4 (4GL) 1. ภาษาเครื่อง (Machine language) เป็นภาษาพื้นฐานที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ แต่ละคำสั่งประกอบขึ้นจากกลุ่มตัวเลข 0 และ 1 ซึ่งเป็นเลขฐานสอง 2. ภาษาแอสเซมบลี (Assembly language) เป็นภาษาที่ใช้สัญลักษณ์ข้อความ แทนกลุ่มของตัวเลขฐานสอง เพื่อให้ง่ายต่อการเขียนและการจดจำมากขึ้น การทำงานของโปรแกรมจะต้องทำการแปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง โดยใช้ตัวแปลที่เรียกว่า แอสเซมเบลอร์ (Assembler) 3. ภาษาชั้นสูง (High-level language) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น โดยมีลักษณะเหมือนกับภาษาอังกฤษทั่วไป ผู้เขียนไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับฮาร์แวร์แต่อย่างใด ภาษานี้จำเป็นต้องมีตัวแปลภาษาเครื่องเช่นกัน เรียกตัวแปลนี้ว่า คอมไพเลอร์ (compiler)หรือ อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter)อย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวอย่างของภาษาชั้นสูง เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาซี ภาษโคบอล ภาษเบสิก ภาษาฟอร์แทรน ภาษาระดับสูง (High Level Languages) ภาษาระดับสูง เป็นภาษาที่ง่ายต่อการเรียนรู้และการนำไปประยุกต์ใช้งาน สามารถทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันได้ โปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาระดับสูง จำเป็นต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อให้เป็นภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ โดยโปรแกรมแปลภาษามี 2 ประเภท คือ คอมไพเลอร์ และอินเตอร์พรีเตอร์ ตัวอย่างของภาษาระดับสูง ได้แก่ 5.4.2.1 ภาษาฟอร์แทรน (Fortran Language) FORTRAN ย่อมาจาก FORmula TRANslator เป็นภาษาระดับสูงภาษาแรกที่ได้มีการใช้อย่างแพร่หลาย เป็นภาษาที่ใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ และไมโครคอมพิวเตอร์ เหมาะกับงานคำนวณทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่มีการคำนวณมาก ๆ มีฟังก์ชันการคำนวณให้ผู้ใช้เลือกใช้ได้มาก เหมาะกับนักวิจัย นักสถิติ หรือวิศวกร ข้อดี คือ คำสั่งส่วนใหญ่จะง่ายและสั้น โปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นบนเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งจะสามารถนำไปแก้ไขและใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์อีกประเภทหนึ่งได้ ข้อเสีย คือ ไม่เหมาะกับงานทางธุรกิจที่ต้องยุ่งเกี่ยวกับงานทางด้านการรับข้อมูลเข้า (Input) และข้อมูลออก (Output) ที่ต้องสร้างรายงานมากๆ หรืองานที่ต้องการเก็บข้อมูลเป็นไฟล์ 5.4.2.2 ภาษาโคบอล (Cobol Language) COBOL ย่อมาจาก Common Business – Oriented Language เนื่องจากภาษาฟอร์แทรนมีข้อจำกัด คือ ไม่เหมาะกับงานธุรกิจ ที่ต้องมีการออกรายงานมากๆ ภาษาโคบอลจึงถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้เหมาะกับงานธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลมาก ๆ เช่น งานธนาคาร หรือใช้สำหรับออกรายงานที่ซับซ้อนที่ต้องการความสวยงาม ข้อดีของภาษาโคบอล คือ ไม่ขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถเขียนโปรแกรมเพื่อใช้งานได้ทั้งบนไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ และเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ โดยอาจต้องแก้ไขโปรแกรมเพียงเล็กน้อย และยังสามารถจัดการเกี่ยวกับข้อมูลเข้า/ออก ได้ง่าย มีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษ ทำให้เป็นภาษาที่อ่านและเข้าใจได้ง่าย และมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการเขียนโปรแกรม ส่วนข้อเสีย คือ มีความยาวในการเขียนโปรแกรมค่อนข้างมาก และเยิ่นเย้อ ไม่เหมาะกับการคำนวณที่ซับซ้อน 5.4.2.3 ภาษาเบสิค (BASIC Language) BASIC ย่อมาจาก Beginner’s All-purpose Symbolic Instruction Code ภาษาเบสิคถูกพัฒนาเพื่อใช้ในการสอนนักศึกษา ปัจจุบันได้ขยายการใช้งานไปสู่งานทางธุรกิจอีกด้วย ภาษาเบสิคนิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์และมินิคอมพิวเตอร์ สามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายและรวดเร็วกว่าภาษาอื่น เหมาะกับงานธุรกิจขนาดเล็ก และเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มศึกษาการเขียนโปรแกรม ลักษณะการทำงานของภาษาเบสิค เป็นแบบโต้ตอบ (Interactive) คือ ผู้ใช้สามารถ ติดต่อสื่อสารกับเครื่องได้ระหว่างที่มีการเขียนโปรแกรม และรันโปรแกรม ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถพิมพ์โปรแกรมเข้าเครื่อง และแก้ไขข้อผิดพลาดได้ทันที เมื่อพบข้อผิดพลาด ข้อดีของภาษานี้คือ ง่ายต่อการเรียนรู้และสามารถใช้งานได้บนเครื่องทุกระดับ และยังสามารถถูกเขียนขึ้นเพื่อใช้ทำงานได้หลายประเภท ข้อเสีย คือ ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เกื้อหนุนต่อการเขียนโปรแกรมอย่างมีโครงสร้างที่ดี จึงไม่เหมาะในการพัฒนาโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากมีความเร็วในการประมวลผลค่อนข้างช้า 5.4.2.4 ภาษาปาสคาล (Pascal Language) ภาษาปาสคาล ถูกพัฒนาขึ้นมาจากภาษา ALGOL – 60 ภาษาปาสคาลเป็นภาษาที่นิยมใช้กับเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ และไมโครคอมพิวเตอร์ นิยมนำมาใช้ใน การเรียน การสอนเขียนโปรแกรมเบื้องต้นในสถานศึกษาต่าง ๆ ข้อดี คือ เป็นภาษาที่มีโครงสร้างที่ดีมาก สามารถเขียนโปรแกรมแบ่งเป็นโปรแกรมย่อยได้อย่างง่าย ทำให้การพัฒนาและแก้ไข ทำได้อย่างรวดเร็ว เหมาะกับผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรมอย่างมีโครงสร้าง และไม่จำกัดอยู่กับงานลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ส่วนข้อเสีย คือ ไม่เหมาะกับงานธุรกิจอย่างแท้จริง เพราะไม่สามารถจัดการกับข้อมูลที่มีปริมาณมาก ๆได้ดีเท่ากับโคบอล 5.4.2.5 ภาษาซี (C Language) ภาษาซี เป็นภาษาที่นิยมใช้ในการเขียนโปรแกรมมาก เป็นภาษาระดับสูงที่มีประสิทธิภาพในการทำงานใกล้เคียงกับภาษาแอสแซมเบลอร์ เริ่มแรกการพัฒนาภาษาซีใช้เพื่อเขียนซอฟต์แวร์ระบบ แต่ปัจจุบัน สามารถใช้ในงานด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น ระบบการจัดการฐานข้อมูล โปรแกรมทางธุรกิจ โปรแกรมสำเร็จรูป และสามารถสร้างกราฟิกได้ ข้อดีของภาษานี้ คือ ทำงานได้เร็วมากเมื่อเทียบกับภาษาอื่นๆ สามารถทำงานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างประเภท โดยมีการคอมไพล์ใหม่ แต่ไม่ต้องแก้ไขโปรแกรมอย่างใด ส่วน ข้อเสีย คือ ยากที่จะเรียนรู้มากกว่าภาษาอื่น เนื่องจากลักษณะคำสั่งไม่มีรูปแบบที่แน่นอน และ ตรวจสอบโปรแกรมได้ยาก ไม่เหมาะจะใช้สร้างโปรแกรมที่ต้องมีการออกรายงานที่มีรูปแบบที่ ซับซ้อนมาก ๆ 4. ภาษาชั้นสูงมาก (Very high-level language)เป็นภาษาที่มีลักษณะคล้ายภาษาพูดตามปกติของมนุษย์ ภาษานี้จะช่วยให้การเขียนโปรแกรมเร็วมากขึ้นกว่าภาษาในรุ่นที่ 3 เนื่องจากมีเครื่องมือที่ช่วยในการสร้างแบบฟอร์มหน้าจอ เพื่อจัดการกับข้อมูลรวมไปถึงการออกรายงาน เมนูต่าง ๆ ตัวอย่างของภาษาชั้นสูงมากได้แก่ informix-4GL, MAGIC , Delphi , Power Builder ฯลฯ รูปแบบ โครงสร้างและการใช้งานภาษาคอมพิวเตอร์ โปรแกรมจะประกอบด้วยโครงสร้างหรือรูปแบบการทำงานที่เป็นโครงสร้างตรรกะเชิงควบคุม โดยมีโครงสร้างของคำสั่งที่คล้ายกันทั่วไปทุกคำสั่งจะมีคำสั่งพื้นฐานต่อไปนี้ 1. คำสั่งการรับข้อมูลเข้า และการแสดงผล 2. คำสั่งการกำหนดค่า 3. คำสั่งการเปรียบเทียบเงื่อนไข 4. คำสั่งการทำซ้ำหรือการวนลูป โครงสร้างของคำสั่งในภาษาแอสแซมบลี คำสั่งในภาษาแอสแซมบลี แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกกำหนดการทำงาน เรียกว่า OP-CODE (Operation Code) ส่วนที่สองเรียกว่า Operand มีหน้าที่กำหนดเกี่ยวกับข้อมูล รูปแบบชุดคำสั่ง • identifier คือชื่ออ้างอิงใช้ตั้งชื่อเพื่อเรียกถึงในภายหลัง (ถ้ามี) • operation คือคำสั่ง • operand คือตัวดำเนินการที่ต้องใช้ในคำสั่ง(ถ้ามี) • ;comment คือคำอธิบายโปรแกรมจะต้องเขียนคำอธิบาย(ถ้ามี)ไว้หลังเครื่องหมายเซมิโคลอน โปรแกรมในภาษาซี จะประกอบด้วยฟังก์ชันอย่างน้อย หนึ่งฟังก์ชัน คือ ฟังก์ชัน main โดยโปรแกรมภาษาซีจะเริ่มทำงานที่ฟังก์ชัน main ก่อน ในแต่ละฟังก์ชันจะประกอบด้วย 1. Function Heading ประกอบด้วยชื่อฟังก์ชัน และอาจมีรายการของ argument (บางคนเรียก parameter) อยู่ในวงเล็บ 2. Variable Declaration ส่วนประกาศตัวแปร สำหรับภาษาซี ตัวแปรหรือค่าคงที่ทุกตัว ที่ใช้ในโปรแกรมจะต้องมีการประกาศก่อนว่าจะใช้งานอย่างไร จะเก็บค่าในรูปแบบใดเช่น interger หรือ real number 3. Compound Statements ส่วนของประโยคคำสั่งต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็นประโยคเชิงซ้อน (compound statement) กับ ประโยคนิพจน์ (expression statment) โดยประโยคเชิงซ้อนจะอยู่ภายในวงเล็บปีกกาคู่หนึ่ง { และ } โดยในหนึ่งประโยคเชิงซ้อน จะมีประโยคนิพจน์ที่แยกจากกันด้วยเครื่องหมาย semicolon (;) หลายๆ ประโยครวมกัน และ อาจมีวงเล็บปีกกาใส่ประโยคเชิงซ้อนย่อยเข้าไปอีกได้ ภาษาคอมพิวเตอร์แต่ละภาษาจะมีข้อดี ข้อจำกัดและความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกัน ดังนั้นในการพัฒนาโปรแกรมจึงต้องคำนึงถึงลักษณะงานที่ต้องการทำและภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีคุณสมบัติเฉพาะ ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม มีการคิดค้นขึ้นมาหลายภาษา เพื่อให้เหมาะสมกับการทำงานในแต่ละแบบ -Pascal เหมาะสำหรับ การพัฒนาโปรแกรมเชิงวิทยาศาตร์ในระดับกลาง และ application ต่างๆ -Basic เหมาะสำหรับการฝึก programming กับโปรแกรมที่ไม่มีความซับซ้อนมาก -Cobol เหมาะสำหรับ การสร้างโปรแกรมทางธุระกิจที่กระชับสำหรับระบบทางธุระกิจ( ภาษานี้เป็นต้นเหตุของ y2k bug เพราะมีการนำไปใช้ในการย่อ วันที่) -Fortran เหมาะสำหรับ การ programming การคำนวณต่างๆทางคณิตศาตร์ -C เหมาะสำหรับ การเขียนที่ต้องการความรวดเร็ว เล็ก และมีประสิทธิภาพ มีลักษณะเด่นคือสามารถติดต่อกับระดับ hardware ได้มีความใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมากที่สุดรองจาก asmbly การพัฒนาโปรแกรมมัลติมีเดีย มัลติมีเดีย (Multimedia) หรือ สื่อหลายแบบ เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์ สามารถผสมผสานกันระหว่าง ข้อความ ข้อมูลตัวเลข ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ไว้ด้วยกัน ตลอดจน การนำเอาระบบโต้ตอบกับผู้ใช้ (Interactive) มาผสมผสานเข้าด้วยกัน การพัฒนาโปรแกรมมัลติมีเดีย จะใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาและแสดงผลในลักษณะสื่อหลายชนิด เช่น ตัวหนังสือ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียงรวมกัน โดยมุ่งเน้นการโต้ตอบและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้เป็นสำคัญ 2. การพัฒนาโปรแกรมมัลติมีเดีย มีดังนี้ 1) เทคโนโลยีมัลติมีเดียที่นำมาใช้ในคอมพิวเตอร์ 2) ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จำเป็นสำหรับงานด้านมัลติมีเดีย 3) ประโยชน์ของสื่อมัลติมีเดีย องค์ประกอบของมัลติมีเดีย มัลติมีเดียที่สมบูรณ์ควรจะต้องประกอบด้วยสื่อมากกว่า 2 สื่อตามองค์ประกอบ ดังนี้ ตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง การเชื่อมโยงแบบปฏิสัมพันธ์ วีดิทัศน์ เป็นต้น เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับมัลติมีเดีย 1. เทคโนโลยีไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer Technology) 2. เทคโนโลยีจอภาพ (Screen Technology) 3. เทคโนโลยีอุปกรณ์นำเข้าและแสดงผลข้อมูล (Input&OutputDevice Technology) 4. เทคโนโลยีการเก็บบันทึกข้อมูล (Data Storage Technology) 5. เทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล ( Data Compression Technology) 6. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เครือข่าย ( Computer Network Technology) 7. เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ ( Software Technology) ส่วนประกอบพื้นฐานของมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์ • ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) • เครื่องอ่านซีดีรอม (CD-ROM Drive) • แผงวงจรเสียง (Sound Board) • ลำโพงภายนอก (External Speaker) • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรม หลังจากที่เลือกภาษาที่จะใช้ในการพัฒนาโปรแกรมแล้ว การเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมก็สำคัญเช่นกัน ถ้าเลือกเครื่องมือที่มีลักษณะเข้าใจยาก หาข้อผิดพลาดของโปรแกรมเมื่อเกิด Error ขึ้นยาก ก็จะทำให้ระยะเวลาการพัฒนาโปรแกรมใช้เวลานาน ในขั้นตอนนี้เราต้องเลือกสองสิ่งได้แก่ 2.1 เลือกตัวแปลภาษา (Complier) ที่จะใช้ 2.2 เลือกโปรแกรมที่ใช้เขียน Code (Editor) ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ลักษณะการใช้โปรแกรมสร้างสื่อมัลติมีเดีย 1) การพัฒนาเว็บเพจ 2) การทำการ์ตูน 3) การสร้างงาน 3D Animation 4) การสร้างภาพ Panorama 360 องศา บนอินเทอร์เน็ต 5) การสร้างและตกแต่งรูปภาพ 6) การสร้างงานนำเสนอ 7) การเรียนการสอน เช่น การสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การสร้างสื่อเพื่อนำเสนอข้อมูลนั้น สามารถนำเสนอข้อมูลได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ภาพ เสียง และอื่นๆ ทั้งนี้ในการนำเสนอนั้นสามารถนำเสนอข้อมูลได้หลายรูปแบบเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอบนจอภาพคอมพิวเตอร์ พิมพ์ออกแผ่นใส หรือแม้แต่การสร้างเอกสารเว็บที่สื่อผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เทคโนโลยีมัลติมีเดียที่นำมาใช้ในคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีมัลติมีเดีย ได้เข้ามามีบาทเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งสามารถพิจารณาจากการพัฒนาคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นด้านสมรรถนะของซีพียู รวมทั้งประสิทธิ์ภาพของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในปัจจุบันนี้ ต่างก็พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของเทคโนโลยีมัลติมีเดียมากขึ้น เช่น 1) ความสามารถของโปรเซสเซอร์ที่สามารถปะมวลผลข้อมูลอย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับการคำนวณด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกที่มีความซับซ้อนมากขึ้น 2) หน่วยความจำในเครื่องที่มีความเร็วสูงขึ้น และเพิ่มขยายได้มากขึ้น 3) การ์ดแสดงผลที่ช่วยให้แสดงภาพได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการแสดงผลสูง 4) จอภาพขนาดใหญ่ 5) การ์ดเสียงและลำโพงที่สมบูรณ์แบบเทียบได้กับเครื่องเสียงราคาแพงๆ 6) อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่มีความจุมากขึ้น เช่น ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น ประโยชน์ของมัลติมีเดีย มัลติมีเดีย ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนเรามากยิ่งขึ้น โดยมีประโยชน์ ดังนี้ 1. เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว 2. นำเสนอข่าวสารในรูปแบบที่ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับ เช่น บทเรียนมัลติมีเดีย 3. สร้างสื่อเพื่อความบันเทิง 4. สร้างสื่อโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์

การพัฒนาโปรแกรม

การพัฒนาโปรแกรม ผลการเรียนรู้ 1. อธิบายวงจรการพัฒนาโปรแกรมได้ 2. มีทักษะในการสร้างผังงานอย่างง่ายได้ 3. มีเจตคติที่ดีต่อการพัฒนาโปรแกรม โปรแกรมคอมพิวเตอร์ วงจรการพัฒนาโปรแกรม การวิเคราะห์ปัญหา การออกแบบโปรแกรม การเขียนโปรแกรม การทดสอบโปรแกรม การบำรุงรักษาโปรแกรม โปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือชุดคำสั่งที่ใช้สั่งงานและควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ การที่จะเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นมาจะต้องพิจารณาจากระบบงานอย่างละเอียดของข้อมูลนำเข้า ที่มาของข้อมูลนำเข้า ข้อมูลที่ต้องการแสดงผล และรูปแบบการแสดงผล วงจรการพัฒนาโปรแกรม (Program Development Life Cycle: PDLC) วงจรการพัฒนาโปรแกรม (PDLC) คือ ขั้นตอนการทำงานที่โปรแกรมเมอร์ใช้สำหรับสร้างโปรแกรม ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1.การวิเคราะห์ปัญหา (Program Analysis) 2. การออกแบบโปรแกรม (Program Design) 3. การเขียนโปรแกรม (Program Coding) 4. การทดสอบโปรแกรม (Program Testing) 5.การบำรุงรักษาโปรแกรม (Program Maintenance) 1. การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis) เป็นขั้นตอนแรกของวงจรการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งเป็นการศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและค้นหาสิ่งที่ต้องการ เพื่อพิจารณาสิ่งต่อไปนี้ 1.ข้อมูลที่จะนำเข้าสู่คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง 2.วิธีการประมวลผลข้อมูลที่นำเข้าและผลลัพธ์ที่ต้องการ 3.การแสดงผลที่ได้ ต้องการแสดงผลลัพธ์อะไรและมีหน้าตาเป็นอย่างไร ตัวอย่าง ถ้าต้องการสร้างโปรแกรมที่มีการนำตัวเลขเข้ามา 5 ตัว และให้แสดงผลเป็นค่าเฉลี่ยบนจอภาพ ข้อมูลนำเข้า คือ ตัวเลข 5 ตัว เช่น 2 3 4 5 6 การประมวลผล คือ คำนวณหาค่าเฉลี่ย เช่น (2+3+4+5+6)/5 การแสดงผล คือ แสดงค่าเฉลี่ยผ่านทางจอภาพ เช่น 15.2 2. การออกแบบโปรแกรม (Program Design) เป็นขั้นตอนที่ 2 ของวงจรการพัฒนาโปรแกรมซึ่งการออกแบบโปรแกรมเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เครื่องมือช่วยในการออกแบบ เช่น ผังงาน (Flowchart) รหัสจำลอง (Pseudo code) เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมได้ดียิ่งขึ้น ผังงาน (Flowchart) เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้รูปภาพแสดงถึงขั้นตอนการเขียนโปรแกรมและมีลูกศรแสดงทิศทางการไหลของข้อมูลจากจุดเริ่มต้นถึงจุดเส้นสุด รหัสจำลอง (Pseudo-code) ใช้แสดงขั้นตอนการเขียนโปรแกรมอย่างง่ายๆิยมเขียนด้วยภาษาอังกฤษเพราะจะคล้ายคลึงกับภาษาโปรแกรมมาก มีการใช้โครงสร้างคำสั่งเฉพาะ เช่น IF-THEN-ELSE, DO-WHILE, DO-UNTIL และจบด้วย ENDIF หรือ ENDDOสามารถแปลงเป็นโปรแกรมได้โดยง่าย เช่น START Read SIDE1, SIDE2, HEIGHT Compute AREA = ((SIDE1 + SIDE2)*HEIGHT)/2 Print AREA STOP 3. การเขียนโปรแกรม (Program Coding) ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังจากที่ได้มีการออกแบบโปรแกรมแล้ว ขั้นตอนนี้เป็นการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษา C ,ภาษา Pascal เป็นต้น ทั้งนี้แต่ละภาษาจะมีความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกันออกไป 4. การทดสอบโปรแกรม (Program Testing) เป็นการนำโปรแกรมที่ลงรหัสแล้วเข้าคอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจสอบรูปแบบกฎเกณฑ์ของภาษา และผลการทำงานของโปรแกรมนั้น ถ้าพบว่ายังไม่ถูกก็แก้ไขให้ถูกต้อง ซึ่งการเกิด Error ของโปรแกรมมักมีมาจาก 2 สาเหตุเท่านั้น คือ 1. Syntax Error คือ ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการเขียนโค้ดคำสั่ง (Source Code) ที่ไม่ตรงกับ...ไวยากรณ์ (Syntax) ของภาษาโปรแกรมมิ่งนั้นๆ 2. Logic Error เป็นข้อผิดพลาดที่เกิดจากการออกแบบอัลกอริทึมให้ทำงานผิดวัตถุประสงค์ ข้อผิดพลาดของโปรแกรม เรียกว่า “Bug” ส่วนการแก้ไขข้อผิดพลาด เรียกว่า “Degug” โปรแกรมที่ทำงานไม่ได้ตามวัตถุประสงค์ เรียกว่ามี “Error” 5. การบำรุงรักษาโปรแกรม (Program Maintenance) เมื่อโปรแกรมผ่านการตรวจสอบตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว และถูกนำมาให้ผู้ใช้ได้ใช้งาน ในช่วงแรกผู้ใช้อาจจะยังไม่คุ้นเคยก็อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาบ้าง ดังนั้นจึงต้องมีผู้คอยควบคุมดูแลและคอยตรวจสอบการทำงาน การบำรุงรักษาโปรแกรมจึงเป็นขั้นตอนที่ผู้เขียนโปรแกรมต้องคอยเฝ้าดูและหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมในระหว่างที่ผู้ใช้ใช้งานโปรแกรม และปรับปรุงโปรแกรมเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้น หรือในการใช้งานโปรแกรมไปนานๆ ผู้ใช้อาจต้องการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบงานเดิมเพื่อให้เหมาะกับเหตุการณ์ นักเขียนโปรแกรมก็จะต้องคอยปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมตามความต้องการของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง

การพัฒนาระบบสารสนเทศ

บทที่ 5 การพัฒนาระบบสารสนเทศ แนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศ ในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้เกิดขึ้นภายในองค์กร จัดทำได้ 4 วิธีด้วยกัน จัดทำขึ้นเองโดยอาศัยเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ - หากบุคลากรขาดความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง ก็เกิด การเปลืองเวลาและทรัพยากรมาก มีความเสี่ยงสูง 2. ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาจัดทำระบบให้ - หน้าที่คือ ให้คำปรึกษาในการเขียนรายละเอียดสำหรับประมูลงานคอมพิวเตอร์ ให้คำปรึกษาในการวิเคราะห์และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ ให้บริการในการเขียนโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการ ให้บริการติดตั้ง ดูแล ควบคุมระบบงาน ให้บริการอื่น ๆ เช่นการจัดซื้อ จัดหาระบบคอมพิวเตอร์ การเตรียมการเพื่อว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาระบบงานคอมพิวเตอร์ - ต้องดำเนินการดังนี้ -ผู้ว่าจ้างต้องศึกษาความต้องการให้ชัดเจน -จัดทำใบแจ้งให้บริษัทเสนอราคามาให้ -จัดส่งประกาศเชิญ -ประเมินข้อเสนอของบริษัท -เลือกบริษัทที่ปรึกษา -เจรจาต่อรองเงื่อนไขและราคา -จัดทำสัญญาว่าจ้าง -ควบคุมติดตามและประเมินผลงานของบริษัท แนวทางในการคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษามาพัฒนาระบบ หรือซอฟต์แวร์ - มั่นคง มีประสบการณ์ มีบุคลากรที่มีความสามารถตรงสาขา มีเหตุและผลทางกฏเกณฑ์ 3. การซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จมาใช้ - ทำให้สะดวกรวดเร็ว น่าเชื่อถือ มีเอกสารประกอบ ใช้ง่าย ปรับปรุงง่าย ข้อเสีย บางประเภทมีราคาแพง ไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ใช้งานยาก สรุปประเด็นในการพิจารณาเลือกซอฟต์แวร์ ดังนี้ -ในกรณีที่มีคอมพิวเตอร์ใช้งานอยู่แล้ว -ความสามารถพื้นฐานของซอฟต์แวร์ที่ควรพิจารณา -ประเด็นเกี่ยวกับราคาและค่าใช้จ่าย -ประเด็นเกี่ยวกับบริษัทผู้ขาย 4. ผู้ใช้ทำขึ้นเอง - พัฒนาโปรแกรมขึ้นมาใช้งานเอง ซึ่งไม่ซับซ้อนนัก ใช้เครื่องมือโปรแกรมประยุกต์ช่วย วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ ปฏิบัติตามขั้นตอนเรียกว่า “วัฏจักรการพัฒนาระบบงาน (System Development Life Cycle หรือ SDLC)” การศึกษาเบื้องต้น กำหนดความต้องการ ออกแบบระบบ ออกแบบรายละเอียด เขียนและทดสอบโปรแกรม ทดสอบระบบ เปลี่ยนระบบ มีขั้นตอน 7 ขั้นตอน คือ แบบจำลองน้ำตก (Waterfall Model) ขั้นตอนที่ 1. การศึกษาเบื้องต้น (Preliminary Study) เป็นการศึกษาถึงความเหมาะสม กำหนดปัญหา หรือการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) เป็นหน้าที่ของนักวิเคราะห์ระบบ จะเน้นศึกษาใน 5 ประการ คือ 1. ความเหมาะสมทางด้านเทคนิค (Technical Feasibility) - ศึกษาด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เหมาะสมหรือไม่ 2. ความเหมาะสมทางด้านการปฏิบัติงาน (Operational Feasibility) - การปฏิบัติงานซ้ำซ้อนหรือไม่ ตรงหรือไม่ 3. ความเหมาะสมทางด้านการเงิน (Financial Feasibility) - เปรียบเทียบความคุ้มค่า ผลตอบแทน ค่าใช้จ่าย 4. ความเหมาะสมทางด้านเวลา (Schedule Feasibility) - พิจารณาเวลาในการสร้างระบบงาน การใช้เวลา 5. ความเหมาะสมทางด้านบุคลากร (Human Feasibility) - ดูความพร้อมของบุคลากร การพัฒนาบุคลากร ขั้นตอนที่ 2. การวิเคราะห์ระบบ (Analysis) เป็นการศึกษาระบบการทำงานเดิม ความตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ กำหนดความต้องการระบงานใหม่นักวิเคราะห์ต้องดำเนินการดังนี้ 1. ทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการวิเคราะห์ระบบให้ชัดเจน 2. ศึกษาแนวทางที่ได้เสนอไว้ในรายงานการศึกษาเบื้องต้น 3. ศึกษาและรวบรวมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับระบบ - แผนผังการจัดองค์กร (Organization Chart) - แผนงานของหน่วยงาน - เอกสารแบบฟอร์ม และรายงานต่าง ๆ ที่ใช้ในหน่วยงาน - กฎและระเบียบต่าง ๆ 4. ศึกษาความต้องการของผู้บริหาร - สัมภาษณ์ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน - สำรวจความต้องการโดยใช้แบบสอบถาม 5. ศึกษาสภาพการปฏิบัติงานจริง - ทำความเข้าใจเนื้อหาและรูปแบบของข้อมูลที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน - ทำความเข้าใจทางเดินของข้อมูล (Data Flow) - ทำความเข้าใจกระบวนการทำงาน ทำความเข้าใจในเรื่องการดูแลรักษาข้อมูล 6. จำแนกปัญหาในระบบปัจจุบัน 7.พิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหา 8.ร่างเค้าโครงของระบบใหม่ 9.คำนวณทรัพยากรต่าง ๆ 10.จัดทำรายงานการวิเคราะห์ระบบ ขั้นตอนที่ 3. การออกแบบระบบ (Design) ออกแบบระบบใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้และฝ่ายบริหาร เป็นขึ้นตอนต่อจากการวิเคราะห์โดยทั่วไปการออกแบบระบบจะกระทำใน 2 ขั้นตอนดังนี้ การออกแบบโครงสร้างของระบบ (Conceptual Design) เป็นการกำหนดว่าระบบใหม่มีการทำงานอะไร หรือเรียกว่า การออกแบบเชิงตรรกะ (Logical Design) - ทบทวนรายงานการวิเคราะห์ระบบ - แยกระบบงานรวมออกเป็นสองส่วนอย่างคร่าว ๆ - ออกแบบลำดับต่าง ๆ ของงาน - กำหนดส่วนที่คนและคอมพิวเตอร์ต้องทำงานประสานกัน การออกแบบในรายละเอียด (Detail Design) - ออกแบบรายละเอียดต่าง ๆ ของระบบ - ออกแบบข้อมูลต่าง ๆ สำหรับใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของระบบ - ออกแบบรายละเอียดและเนื้อหาของการฝึกอบรมที่จำเป็น - จัดทำรายงานออกแบบ ขั้นตอนที่ 4. การเขียนและทดสอบโปรแกรม (Construction) เป็นการเขียนและทดสอบโปรแกรมตามที่ได้ออกแบบไว้ ตามความต้องการของผู้ใช้ จะต้องมีลักษณะ ทำงานได้ผลตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ทำงานได้ถูกต้องไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน เชื่อถือได้ แก้ไขดัดแปลงได้ง่าย ขั้นตอนที่ 5. การทดสอบระบบ (Testing) เป็นการทดสอบระบบหลังจากเขียนโปรแกรมไปแล้ว เพื่อตรวจสอบความผิดพลาด มีวิธีการดังนี้ การทดสอบรวม (Integration Test) - ดูการเชื่อมโยงระหว่างโปรแกรม การทดสอบทั้งระบบ (System Test) - ทดสอบตั้งแต่เริ่มโปรแกรม จนได้ผลลัพธ์ การทดสอบการยอมรับระบบ (Acceptance Test) - การให้ผู้ใช้ได้ใช้งาน นอกจากนี้ยังมีงานต่าง ๆ ที่ต้องทำ คือ 1. การเตรียมเอกสารระบบ - คู่มือระบบและโปรแกรม คู่มือปฏิบัติงาน คู่มือผู้ใช้ 2. การฝึกอบรมผู้ใช้ - เป็นการเตรียมการใช้งานให้กับบุคลากรในการใช้ระบบงานใหม่ มีหลายวิธี คือ 3.การฝึกอบรมโดยการจัดกลุ่มสัมมนา (Seminars and Group Instruction) 4.การฝึกอบรมวิธีปฏิบัติงาน (Procedural Training) 5.การฝึกอบรมโดยการบรรยาย (Tutorial Training) 6.การฝึกอบรมโดยการจำลองสถานการณ์ (Simulation) 7.การฝึกอบรมโดยการปฏิบัติงานจริง (On the job Training) ขั้นตอนที่ 6. การเปลี่ยนระบบ (Conversion) การเปลี่ยนจากระบบงานเดิมมาเป็นระบบงานใหม่ที่ได้ออกแบบและพัฒนาเรียบร้อยแล้ว มี 4 วิธีการ คือ 1.การเปลี่ยนระบบทันที (Direct Conversion) เหมาะกับระบบเดิมที่ไม่มีประโยชน์ต่อองค์กรแล้ว 2.การเปลี่ยนระบบแบบคู่ขนาน (Parallel Conversion) เป็นการใช้ระบบเก่าและระบบใหม่พร้อมกัน 3.การเปลี่ยนแปลงระบบตามหน่วยงาน (Modular Conversion) หรือ หลักการแบบนำร่อง (Pilot Approach) เป็นการนำระบบไปใช้ในบางหน่วยงาน 4.การเปลี่ยนแปลงระบบที่ละส่วน (Phase-In Conversion) แบ่งตามส่วนระบบงาน หลังการการพัฒนาระบบไปแล้ว อาจมีปัญหาต่าง ๆ ตามมา ซึ่งการปรับปรุงแก้ไขกระทำได้ 2 วิธี คือ 1.การบำรุงรักษาระบบ (Maintenance) 2.การเปลี่ยนแปลงระบบทั้งหมด (redevelopment)

คอมพิวเตอร์กับระบบเลขฐาน

เรื่อง คอมพิวเตอร์กับระบบเลขฐาน สาระสำคัญ ระบบเลขฐานที่มีความเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ คือ ช่วยในเรื่องการจัดการระบบดิจิตอลหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์ โดยส่วนใหญ่ระบบเลขฐานที่ใช้ในคอมพิวเตอร์เป็นระบบเลขฐานสอง ระบบเลขฐานแปดแบะระบบเลขฐานสิบหก โดยจะต้องมีการนำระบบเลขฐานดังกล่าวมาหาผลรวม และผลต่าง ๆ ตลอดจนกระทั่งการเปลี่ยนระบบเลขฐานสิง ระบบเลขฐานแปดและระบบเลขฐานสิบหกให้เป็นระบบเลขฐานสิบ และการเปลี่ยนระบบเลขฐานสิบให้เป็นระบบเลขฐานต่าง ๆ เพื่อให้มนุษย์เกิดความเข้าใจระบบการทำงาน ของคอมพิวเตอร์ซึ่งในการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์นั้น ข้อมูลต่าง ๆ จะถูกนำเข้าเป็นลำดับของบิต(Bit) หรือเลขฐานสองก่อน เช่น 110100110110 110101100110 110110110110 ถ้าเปลี่ยนเลขเหล่านี้เป็นเลขฐานสิบจะได้ 3382,3430,3510 ตามลำดับ จากตัวอย่างข้อมูลจะเห็นว่าการแทนข้อมูลต่างๆ ด้วยเลขฐานสองนั้น จะต้องใช้จำนวนตัวเลข หรือจำนวนหลักของเลขฐานสองจำนวนมาก ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้งาน ดังนั้นจึงมีการนำระบบเลขฐาน 8 กับระบบเลขฐาน 16 ซึ่งเป็นระบบเลขที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์เหมือนกันมาใช้แทน เหตุผลอีกประการหนึ่ง คือ ฐาน 8 และฐาน 16 ต่างเป็นค่ายกกำลังของ 2 จะทำให้หารเปลี่ยนฐานระหว่างระบบเลขฐาน 8 และระบบเลขฐาน 16 กับเลขฐานสองทำได้ง่าย และใช้แทนเลขฐานสองได้โดยไม่เกิดความยุ่งยากในการเปลี่ยนระบบเลขฐาน คอมพิวเตอร์อาศัยระบบเลขฐานสอง 1.สัญลักษณ์ของระบบเลขฐานต่างๆ (ระบบเลขฐานสิบ,ระบบเลขฐานสอง,ระบบเลขฐานแปดและระบบเลขฐานสิบหก) 2.การเขียนระบบเลขฐานต่างๆในรูปแบบกระจาย 3.การเปลี่ยนระบบเลขฐานสิบ ให้เป็นระบบเลขฐานสอง ระบบเลขฐานแปด ระบบเลขฐานสอบหก 4.การเปลี่ยนระบบเลขฐานสอง ระบบเลขฐานแปด และระบบเลขฐานสิบหกให้เป็นระบบเลขฐานสิบ 5.การบวก ลบ คูณ หารของระบบเลขฐานสองระบบเลขฐานแปด และระบบเลขฐานสิบหก