วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การฝึกอบรม

เทคนิคการฝึกอบรม (นงลักษณ์ สินสืบผล 2532 : 58-59) การฝึกอบรมมีความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากร องค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยให้การจัดฝึกอบรมบรรลุผลก็คือ การเลือกเทคนิคการฝึกอบรมอย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งนี้เพราะเทคนิคการฝึกอบรมจะมีส่วนช่วยให้เกิดการเรียนรู้หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามที่ต้องการ เทคนิคการฝึกอบรม (Training Technique) หมายถึง วิธีการที่ใช้ในการสื่อสาร หรือถ่ายทอดความรู้ ความคิดเห็น ข้อเท็จจริง ประสบการณ์ หรือข้อมูลต่าง ๆ ระหว่างผู้ให้การอบรมและผู้เข้ารับการอบรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามที่ได้กำหนดไว้ (น้อย ศิริโชติ 2524 : 70) ข้อควรคำนึงในการเลือกใช้เทคนิคการฝึกอบรม (สมพงษ์ เกษมสิน 2526 : 193-194) 1. พิจารณาถึงความเหมาะสมของเทคนิคที่จะนำมาใช้ คือ ต้องเหมาะสมกับลักษณะของหัวข้อวิชาและสอดคล้องกับความต้องการ ของการพัฒนานั้น ๆ 2. พิจารณาถึงขนาดของกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรม ว่ามีมากน้อยเพียงใด ลักษณะของการฝึกอบรมนั้นเป็นประการใด ควรจะแบ่งกลุ่มย่อยหรือไม่ กลุ่มละเท่าใด แล้วเลือกใช้เทคนิคการฝึกอบรมให้เหมาะสม 3. พิจารณษถึงลักษณะของกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรมว่า มีพื้นฐานความรู้มากน้อยเพียงใด 4. พิจารณาถึงความสามารถ ความคุ้นเคย ต่อเทคนิคการฝึกอบรมที่จะนำไปใช้ว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมคุ้นเคยต่อวิธีการนั้น ๆ หรือไม่ 5. พิจารณาถึงเวลาและอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ว่ามีเพียงพอหรือไม่ 6. พิจารณาถึงงบประมาณที่มีอยู่ 7. พิจารณาและประเมินค่าเกี่ยวกับทัศนคติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมว่าเป้นอย่างไร เทคนิคการฝึกอบรม จำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ 1. ประเภทการบรรยายและอภิปรายโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เทคนิคการฝึกอบรมประเภทนี้ได้แก่ การบรรยายหรือปาฐกถา (Lecture or Speech) การบรรยายเป็นชุด (Symposium) การอภิปรายเป็นคณะ (Panel Discussion) เป็นต้น 2. ประเถทให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีบทบาทร่วม เช่น การสัมมนา (Seminar) การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) การประชุม (Syndicate Method) การระดมความคิด (Brainstorming) การแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) การประชุมถกเถียง (Buzz Session) การศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study) การให้เวลาซักถาม (Question Period) การสัมภาษณ์ (Interview) การสาธิต (Demonstration) การประชุมเชิงปฎิบัติการ (Workshop) การทัศนศึกษา (Field Trip) เป็นต้น 3. ประเภทพัฒนาฌฉพาะตัวบุคคล ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถปรับให้เข้ากับระดับความสมารถในการเรียนรู้และความสะดวกของตนได้ เช่น การสอนแบบสำเร็จรูป (Programmed Instruction) การสอนแนะ (Coaching) 4. ประเภทใช้สื่อในการฝึกอบรม เช่น การใช้สไลด์ประกอบเสียง (Slide/Tape Presentation) การใช้ภาพยนตร์ประกอบ (Instructional Film) <-- Back เทคนิคการฝึกอบรม (ประเภทบรรยาย) การบรรยาย (Lecture) คือ การที่ผู้สอน 2 คน ต่อผู้ฟังจำนวนมาก ซึ่งอาจเป็นการบรรยายแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือเปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถามหรือแสดงความคิดเห็น เรียกว่าการบรรยายกึ่งอภิปราย ข้อดี บรรยายได้กับคนจำนวนมาก ต้นทุนน้อย สมารถขยายหรือรวบรัดได้ตามความต้องการ ข้อเสีย เป็นการสื่อสารทางเดียว ผู้ฟังอาจเข้าใจดีแต่เอาไปปฏิบัติไม่ได้ ผู้พูดอาจพูดมากไป พูดไม่เก่ง พูดซ้ำซาก พูดช้า หรือเร็วเกินไป การประชุมกลุ่ม (Conference) เป็นการร่วมแสดงความคิดเห็นระหว่างสมาชิกผู้เข้าร่วมประชุมเพียงรวบรวมรับฟังควมคิดเห็นจากที่ประชุม ทำให้ผู้เข้ารับการฝึกมีส่วนร่วมในการแสดงอกมากว่ารับฟังอย่างเดียว ข้อดี ผู้เข้ารับการฝึกได้แสดงความคิดเห็น ถามปัญหาได้ รู้จักรับฟังผู้อื่น ข้อเสีย ใช้กับคนจำนวนมาก ๆ ไม่ได้ และเสียเวลามาก การศึกษากรณีตัวอย่าง (Case Study) เป็นการอบรมโดยใช้ตัวอย่างจากปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในอดีต พร้อมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง มาให้ผู้รับการฝึกวิเคราะห์และหาทางแก้ปัญหาและเสนอความคิดเห็น ซึ่งมักจะใช้กับผู้เข้ารับการฝึกในระดับหันหน้างาน หรือระดับบริหาร ข้อดี ทำให้ผู้รับการฝึกได้เรียนรู้ และวิเคราะห์ปัญหาจากข้อมูลจากผู้มีประสบการณ์ และ ความรู้สูง ข้อเสีย ต้องเสียเวลามาก การแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) วิธีนี้จะใช้ควบกับวิธีอื่น ๆ ลักษณะคล้ายแต่ให้ผู้เข้ารับการฝึก เข้าร่วมแสดงบทบาทให้เห็นจริง บางครั้งอาจกำหนดบทบาทให้ล่วงหน้า บางครั้งอาจไม่กำหนดให้โดยให้ผู้แสดงตัดสินใจเองให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ข้อดี ช่วยให้นำความรู้จากการบรรยายหรืออภิปราย มาใช้จริง ๆ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ด้วยการ กระทำซึ่งจะช่วยให้เกิดความสนุกสนานกับสถานการณ์ ข้อเสีย ต้องมีการเตรียมตัว เตรียมอุปกรณ์มาก ทำให้ยุ่งยากเสียเวลา การสาธิต (Demonstration) เป็นแนวความคิดที่ ว่าการเห็นของจริง ทำให้เกิดความเชื่อ ความเข้าใจ มากกว่าการคิด และงานบางอย่าง ไม่สามารถใช้วิธีอื่นได้นอกจากการสาธิตให้เห็น เช่น การควบคุมเครื่องจักร การประกอบ การติดตั้ง ฯลฯ ซึ่งจะมีการอธิบายประกอบไปด้วย ข้อดี ได้ใช้ทั้งการสัมผัสด้วยมือ และเห็นด้วยตา ทำให้ได้ความรู้และเกิดความเข้าใจได้เร็ว จำและเข้าใจได้ดีกว่า มักใช้ในการสอนงาน ข้อเสีย ต้องใช้สถานที่ที่ทำการสาธิต ซึ่งทำให้ยุ่งยากและเสียเวลา นอกจากนี้ยังมีวิธีการอื่น ๆ อีกหลายประการ เช่น การหมุนเวียนงาน การระดมสมอง การเล่นเกมทางการบริหาร เป็นต้น ซึ่งจะใช้วิธีใดขึ้นกับความต้องการ และความเหมาะสมหลายประการ เช่น สถานที่ อุปกรณ์ จำนวนผู้เข้ารับการฝึก ความสามรถของวิทยากร ฯลฯ <-- Back ระบบการฝึกอบรม ความหมายของระบบ ระบบหมายถึง กระบวนการสังเคราะห์และเชื่อมโยงองค์ประกอบของกระบวนการ โดยมีกรอบแนวคิดที่ทำให้มั่นใจได้ว่ากระบวนการ จะมีความต่อเนื่อง ดำเนินตามขั้น และก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ การออกแบบระบบการใช้เทคโนโลยีในการฝึกอบรม การผลิตสื่อในการฝึกอบรมอย่างเป็นระบบย่อมรับประกันคุณภาพของผลงาน และกระบวนการทำงาน ไม่ว่าจะผลิตสื่อในการ ฝึกอบรม ประเภทใด เราสามารถใช้ขั้นตอนของการออกแบบระบบทั้ง 5 ขั้น เป็นหลักในการดำเนินการผลิตได้ ขั้นตอนการผลิตสื่อในการฝึกอบรมเปรียบเทียบกับขั้นตอนของการออกแบบระบบ ขั้นตอนการออกแบบระบบ ขั้นตอนการผลิตสื่อในการฝึกอบรม ตัวอย่างผลงาน/ข้อมูล 1. การวิเคราะห์ วิเคราะห์ความต้องการจำเป็น เกี่ยวกับสื่อในการฝึกอบรม วิเคราะห์ผู้เข้าฝึกอบรม , เนื้อหาวิชา , งาน ปัญหา ความต้องการ สื่อในการฝึกอบรมที่มีอยู่ รายละเอียดของผู้เข้าฝึกอบรม ลักษณะเนื้อหา 2. การออกแบบ กำหนดวัตถุประสงค์ วางแผนการผลิต วางแผนการใช้สื่อในการฝึกอบรม วัตถุประสงค์ของการผลิต ขั้นตอนการผลิต ขั้นตอนการใช้ รายละเอียดของสื่อในการฝึกอบรม 3. การพัฒนา ดำเนินการผลิตตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ สื่อในการฝึกอบรม 4. การนำไปใช้ ทดลองใช้ การใช้สื่อในการฝึกอบรมในสภาพการจริง ผลการทดลองใช้ ผลการใช้จริง 5. การประเมินผล ประเมินผลความก้าวหน้า ประเมินผลรวมสรุป ข้อมูลเพื่อการปรับปรุงพัฒนาต่อไป <-- Back ตัวอย่าง การออกแบบการใช้เทคโนโลยีในการฝึกอบรม : กรณีการผลิตสไลด์-เทป เพื่อใช้ในการฝึกอบรมพนักงานธนาคาร ขั้นที่ 1 การกำหนดวัตถุประสงค์ การกำหนดวัตถุประสงค์ คือ การกำหนดว่าผู้ชมจะรู้หรือสามารถทำอะไรได้หลังจากชมสไลด์-เทปจบ แล้ว ซึ่งควรเขียนวัตถุประสงค์จุดท้าย (Terinal Objectives) และวัตถุประสงค์ย่อย (Enabling Objectives) การผลิตสไลด์-เทป นั้น การกำหนดวัตถุประสงค์ควรเริ่มจากวัตถุประสงค์ทั่วไปก่อน (General Objectives) เพื่อช่วยให้เห็นภาพทั้งหมดก่อนที่จะวิเคราะห์วัตถุประสงค์ย่อย ๆ ต่อไป เช่น การนำเสนอเรื่อง หลักปฏิบัติด้านเงินโอนต่าง ๆ วัตถุประสงค์ทั่วไป คือ "ให้สามารถช่วยโอนเงินได้" หรือถ้าให้แคบกว่านี้ เช่น "เพื่อให้พนักงานธนาคารมีความรู้เกี่ยวกับ วิธีการโอนเงินภายในประเทศ ที่ Low counter ทั้ง 6 วิธี " การกำหนดเช่นนี้ช่วยให้ผู้ผลิตทราบว่า หลังจากจบสไลด์-เทป ผู้ดูต้องรู้ว่าการโอนเงินที่ถูกวิธีทำอย่างไร แต่จะรู้ในรายละเอียด รู้ขนาดไหน เป็นสิ่งที่ผู้ผลิตจะต้องกำหนดในขั้นต่อไป ผู้ผลิตสไลด์-เทป ต้องระลึกไว้เสมอว่า เรื่องจะนำเสนอนั้นต้องจบภายในกี่นาที โดยทั่วไปแล้วเราควรนำเสนอโดยใช้เวลาให้น้อยที่สุด หากเป็นการนำเสนอเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ไม่ซับซ้อนก็ควรใช้เวลาตั้งแต่ 3 - 8 นาที หากเป็นเรื่องยากซับซ้อนก็ใช้เวลาให้มากกว่า 30 นาที ถ้าเป็นไปได้อย่าให้เกิน 20 นาที ในช่วงเวลาสั้น ๆ นี้ผู้ผลิตคงนำเสนอประเด็นสาระสำคัญมากนักไม่ได้ แต่ในการกำหนดวัตถุประสงค์ มักพบว่ามีผู้ผลิตจะกำหนดไว้กว้างมาก ดังนั้น เมื่อวัตถุประสงค์กว้าง เนื้อหาที่นำเสนอจึงทั้งกว้างและมากตามไปด้วยทั้งนี้ผู้ผลิตมักเป็นผู้กำหนดปริมาณ และขอบเขตของเนื้อหาตามความเข้าใจ หรือ ความสนใจของตนเอง อยากให้เนื้อหาแก่ผู้ชมมาก ๆ ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์ผู้ชม ขั้นเป็นการศึกษาคุณลักษณะ คุณสมบัติของผู้ชม พิจารณาความต้องการ ความสามารถ ข้อจำกัดทั้งทางด้านกายภาพ และจิตภาพ ความรู้เดิมเกี่ยวกับเนื้อหาที่กำหนด ความแตกต่างของผู้ชม ด้านอายุ ภูมิหลัง เชาว์ปัญญา พัฒนาการทางความคิด ประสบการณ์เดิม สิ่งเหล่านี้ ผู้ออกแบบ จึงควรกำหนดระดับผู้ชมไว้ 3 ระดับ คือ กลุ่มสูง กลุ่มกลาง และกลุ่มต่ำ ในแต่ละกลุ่ม ควรศึกษาหาข้อมูลประกอบอีก เช่น อายุ ระดับการศึกษา ความสามารถในการอ่าน ระดับความสนใจ ความรู้หรือทักษะที่ควรมีก่อนชมสไลด์-เทป ตัวอย่างการวิเคราะห์ผู้ชม วัตถุประสงค์ทั่วไป : ให้ทราบวิธีโอนเงินภายในประเทศที่ Low counter เรื่องที่จะนำเสนอ : วิธีโอนเงินด้วยระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ลักษณะของผู้ชม : พนักงานธนาคาร ผู้ชม กลุ่มชม กลุ่มกลาง กลุ่มต่ำ 1. อายุ (เฉลี่ย) 42 38 50 2. ระดับการศึกษา ปริญญาโท ปริญญาตรี ปริญญาตรี 3. ความรู้เกี่ยวกับงานธนาคาร สูง ปานกลาง ต่ำ 4. สถิติการให้บริการที่ Low counter 59.98% 21.97% 45.93% 5. ความสามารถในการอ่าน สูง สูง ปานกลาง 6. ประสบการณ์ด้านงานธนาคาร สูง ปานกลาง ไม่มี 7. ระดับความสนใจ ไม่มี ไม่มี ไม่มี 8. ประสบการณ์เดิม สูง ปานกลาง สูง 9. ค่านิยม ขั้นที่ 3 การสำรวจทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง ทรัพยากรในที่นี้ หมายถึง ทุกสิ่งที่ใช้ในการพัฒนาสไลด์-เทป แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบ และพัฒนาและด้านการผลิต วิธีการที่จะให้ได้มาซึ่งทรัพยากรก็ขึ้นอยู่กับวิธีการของแต่ละคน ไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน ไม่มีข้อกำหนดวา่จะต้องอย่างไร ถ้าไม่มีเตรียมสิ่งเหล่านี้ไว้ก่อนล่วงหน้า ข้อเสียคือจะทำให้เสียเวลาในการพัฒนาสไลด์-เทป ทรัพยากรด้านเนื้อหา เช่น หนังสือ ตำรา ที่ว่าด้วยเนื้อหาของเรื่องที่จะนำเสนอ สไลด์ ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ที่มีการนำเสนอทำนองเดียวกัน นอกจากนี้ทรัพยากรเนื้อหาที่สำคัญที่จะมองข้ามไม่ได้เลยก็คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ที่สามารถขอคำแนะนำหรือปรึกษารายละเอียดก็ได้ ทรัพยากรด้านการออกแบบและพัฒนา หมายถึง สิ่งที่จะช่วยให้ออกแบบสไลด์-เทป ได้อย่างดีที่สุด ได้แก่ แหล่งข้อมูล ด้านการออกแบบวางรูปแบบการนำเสนอเนื้อหา (treatement) หลักการเขียนบท หลักการบันทึกเสียง หรือ แม้แต่หลัก จิตวิทยาการเรียนรู้ ทรัพยากรด้านการผลิต หมายถึง สิ่งที่เป็นวัสดุ อุปกรณ์ บุคลากร สถานที่ งบประมาณ และเวลาในการผลิต เป็นต้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้การผลิตดำเนินไปอย่างราบรื่น ตัวอย่าง การสำรวจทรัพยากรสำหรับสไลด์-เทป เรื่อง การโอนเงินภายในประเทศ ที่ Low counter ทรัพยากรด้านเนื้อหา ปลัดกระทรวงสาธารณสุข,สำนักงาน,คู่มือปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับจังหวัด-อำเภอ-ตำบล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกษา ,2531. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข,สำนักงาน. คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับ ผสส./อสม. การดูแลสุขภาพอนามัยของชุมชน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกษา , 2528. นิภา จรูญเวสม็ และคณะ. โรคเขตร้อน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เรือนแล้วการพิมพ์ , 2532. ผู้นำท้องถิ่น ....................................... เจ้าหน้าที่ .......................................... ทรัพยากรด้านการออกแบบและพัฒนา Sunier,J Slide/Sound and Filmstrip Production. New York : Focal Press,1981. Kemp,J. Planning & Producing Audiovisual Materials (3 rd.ed). : New York :Thomas R Crowell,1975. ทรัพยากรด้านการผลิต เครื่องฉายสไลด์ ................................................ ขอยืมจาก ...................................... คู่มือ ....................................................................................................................... ช่างภาพ จำนวน 3 คน งบประมาณ ..................................... บาท เวลา ................................................ เดือน ขั้นที่ 4 การระดมความคิด การกำหนดวัตถุประสงค์ของสไลด์-เทป ว่าจะให้ผู้ดูมีความรู้เรื่องอะไรนั้น ทำได้ง่ายแต่การกำหนดรายละเอียดของเนื้อหา และรูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม ที่คิดว่าดีที่สุดนั้นทำได้ยากกว่าหลายเท่า แม้นักออกแบบที่ชำนาญและมีประสบการณ์ก็ยังพบปัญหาในเรื่องนี้ ขั้นนี้จึงมีขึ้นเพื่อช่วยให้นักออกแบบทั้งหลายได้รูปแบบ การนำเสนอและรายละเอียดของเนื้อหาที่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว วิธีการกำหนดรูปแบบและเนื้อหามีด้วยกันหลายวิธี เช่น นักออกแบบคนใดคนหนึ่งเป็นผู้กำหนดโดยยึดหลักเกณฑ์เหตุผลของตนเอง กลุ่มผู้ออกแบบช่วยกันวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สำหรับการนำเสนอเรื่องที่เกี่ยวข้องด้านพุทธิพิสัย (Cognitive) หรือทำการวิเคราะห์งาน (Task Analysis) สำหรับการระดมความคิดก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะขอขยายความ ดังนี้ วิธีระดมความคิด (Brainstorming) ทำได้โดยให้คนจำนวนหนึ่งเสนอความคิดขอตนเองให้มากที่สุด โดยจะไม่มีการประเมินความคิดเหล่านั้น ไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ คัดค้านใด ๆ ทั้งสิ้น ใครคิดอะไรก็ได้พูดอย่างเสรี ความคิดอาจรวมไปถึงปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ระหว่างการผลิตและวิธีการแก้ปัญหานั้น ๆ ใช้เวลาจนกระทั่งสมาชิกในกลุ่มไม่เสนอความคิดใด ๆ อีก ในขั้นที่ 4 นี้ ความคิดที่เราต้องการจากสมาชิกในกลุ่มนี้ก็คือเนื้อหาที่จะนำเสนอสไลด์-เทปและรูปแบบการนำเสนอ การระดมความคิดจะทำในลำดับต่อไป การระดมความคิดต้องทำ 2 ครั้ง ครั้งแรกเพื่อเสนอรายละเอียดของเนื้อหา โดยสมาชิกในกลุ่มอาจใช้ข้อมูลพื้นฐานจากวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้แล้วในขั้นที่ 1 ใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือ ตำรา เอกสาร หรือสิ่งอื่น ๆ ที่ได้รวบรวมไว้แล้วตั้งแต่ขั้นที่ 3 และในการระดมความคิด ครั้ง 2 เพื่อระดมความคิดเรื่องรูปแบบการนำเสนอ ตัวอย่าง การนำเสนอเรื่อง การโอนเงินภายในประเทศที่ Low Counter 1. ความคิดเรื่องเนื้อหาที่ควรเสนอในสไลด์-เทป ความสำคัญของการโอนเงิน ปัญหาการโอนเงิน แบบฟอร์มการขอโอนเงิน วงเงินรับ / จ่ายเงินโอนเงินของผู้ปฏิบัติงาน วิธีปฏิบัติในการโอนเงิน การคืนเงินโอน วิธีโอนเงินแบบต่าง ๆ หน้าที่และความรับผิดชอบของพนักงาน 2. ความคิดเรื่องรูปแบบการนำเสนอ เชิงบรรยายทางวิชาการ คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับ ....... ให้เห็นกระบวนการทั้งหมด เน้นเฉพาะกรณีที่มีปัญหา หลังจากได้ระดมความคิด 2 เรื่องดังกล่าวแล้ว ลำดับต่อไปการจัดลำดับความคิดมีสิ่งที่ต้องทำ 5 อย่าง คือ เลือกและตัดความคิดที่ไม่เหมาะสมหรือเป็นไปไม่ได้ออก วิเคราะห์ความคิดที่เหลือ เลือกวิธีการนำเสนอที่เหมาะกับเนื้อหา ตัดสินใจเกี่ยวกับองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง จัดลำดับเนื้อหา หลักเกณฑ์ในการพิจารณาประกอบการตัดสินใจที่สำคัญ คือ ลักษณะของผู้ชม ตารางลักษณะผู้ชมที่ทำไว้ในขั้นที่ 2 ควรนำออกมาใช้ในขั้นนี้ เพื่อประกอบการพิจารณาว่าเนื้อหาที่คิดจะนำเสนอนั้นเหมาะกับผู้ชมจริงหรือไม่ วัตถุประสงค์ สิ่งที่จะคงไว้เพื่อนำเสนอต้องสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์อย่างแท้จริง โดยทั่วไปเรามักนำเสนอมากกว่าที่ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ หรือเสนอเนื้อหาที่กำลังพอเหมาะแต่ไม่สามารถบอกได้ว่าตรงกับวัตถุประสงค์หรือไม่ เพราะไม่สามารถวัดได้ เวลาการนำเสนอ เรื่องของเวลาต้องพิจารณาว่าเนื้อหาใดควรใช้เวลามากน้อยเพียงใด เรื่องที่ต้องใช้เวลานำเสนอมากเกินไปก็ควรตัดออก ถ้าพบว่าสไลด์-เทป ต้องมีเนื้อหาจำนวนมาก ไม่สามารถตัดออกได้ ก็ให้สร้างแยกย่อยออกเป็นหลายเรื่อง ความสามารถและข้อจำกัดของสไลด์-เทป วิทยากรต้องทราบว่าอุปกรณ์ต่าง ๆมีข้อจำกัด หรืออำนวยประโยชน์ให้ สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างไรบ้าง เช่น การทำ CAPTION จะเสนอข้อมูลได้กี่บรรทัด บรรทัดละกี่ตัวอักษร การทำภาพซ้อนเป็นไปได้หรือไม่ การใช้เครื่องฉายพร้อมกัน 4 เครื่องเหมาะสมหรือไม่ ความคิดเห็น/ความชอบของวิทยากร การใช้ความคิดหรือความชอบของตนเองเป็นเกณฑ์ไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดีมันเป็นสิ่งดี เพราะในฐานะผู้ออกแบบเราต้องมี/ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้มากที่สุด แต่ต้องมีเหตุผลที่อธิบายหลักวิชาการบ้างไม่มากก็น้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น