วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติวันพ่อแห่งชาติ

ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันพ่อแห่งชาติ ร่วมลงนามถวายพระพร วันพ่อแห่งชาติ 2555 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หน้า 587) พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายคำว่า “พ่อ” ไว้ดังนี้ พ่อ หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกชายผู้ให้กำเนิดตน ในทางพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า “พ่อ” หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูกมีใช้หลายคำ เช่น - บิดา (พ่อ) - ชนก (ผู้ให้กำเนิด) - สามี (ผัวของแม่) เป็นต้น วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือวันพ่อแห่งชาติ มีความเป็นมาของวันสำคัญ คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์เป็นผู้ถวายการประสูติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นเอนกประการจำเนียรกาลผ่านมาถึงปัจจุบันที่สุดจะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่ พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” อันคำว่าโดย “ธรรม” นั้น ทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า “ทศพิธราชธรรม” หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า “ราชธรรม 10 ประการ” พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง ราชธรรม 10 ประการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดมั่นทรงปฎิบัติโดยเคร่งครัด และส่งผลถึงพสกนิกรทั่วพระราชอาณาจักรนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าฯ ห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น “พ่อ” ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้ “...บ้านเมืองของเราเป็นปึกแผ่นร่มเย็นปกติสุขมาช้านาน เพราะเรามีความยึดมั่นในชาติและต่างร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันทำหน้าที่โดยนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมของชาติเป็นเป้าหมายสำคัญสูงสุด ท่านทั้งหลายในสมาคมนี้ ตลอดจนคนไทยทุกหมู่เหล่า จึงควรทำความเข้าใจในหน้าที่ของตนไว้ให้กระจ่างและนำไปปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ด้วยความไม่ประมาท และด้วยความมีสติ…” (พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง) กิจกรรมที่ควรปฎิบัติในวันพ่อแห่งชาตินี้ 1. ในวันพ่อแห่งชาติเราควรประดับธงชาติไทยที่อาคารบ้านเรือน 2. จัดพิธีศาสนสงฆ์ ทำบุญใส่บาตร อุทิศเป็นพระราชกุศล น้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล 3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ความเป็นมาของวันพ่อแห่งชาติ วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่มหลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อแห่งชาติ พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น “วันพ่อแห่งชาติ” ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และให้ดอกพุทธรักษาเป็นสัญลักษณ์ วันพ่อแห่งชาติ ทุกบุปผา มาลัยคือใจราษฎร์ ภักดีบาทองค์บพิตรเป็นนิจสิน พระ คือ บิดาข้าแผ่นดิน ร่วมร้อยรินมาลัยถวายพระพร ลุ 5 ธันวามหาราช “วันพ่อแห่งชาติ” คือองค์อดิศร พระเปี่ยมล้นด้วยเมตตาเอื้ออาทร พสกนิกรเป็นสุขทุกคืนวัน ด้วยพ่อเป็นบุคคลผู้มีพระคุณ มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพ เทิดทูน และตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อนี่เป็นที่มาของการจัดให้มี วันพ่อแห่งชาติ วันพ่อแห่งชาติหรือวันเฉลิมพระชนพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช 5 ธันวาวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและยังเป็นวันพ่อแห่งชาติ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะพ่อแห่งชาติ อีกทั้งทรงเป็นพ่อตัวอย่างของปวงชนชาวไทย ที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงบำเพ็ญคุณานุประโยชน์แก่ประเทศชาติ และประชาชน ทรงพระมหากรุณาทะนุบำรุงขจัดทุกข์ผดุงสุขพสกนิกรถ้วนหน้า พระองค์ทรงเป็น พ่อแห่งชาติที่อาณาประชาราษฎร์เทิดทูนด้วยความจงรักภักดี สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และยึดมั่นในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการทะนุบำรุงชาติบ้านเมืองให้ วัฒนาถาวรสืบไป ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของวันพ่อแห่งชาติ 4 ประการ คือ 1. เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 2. เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม 3. เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ 4. เพื่อให้ผู้เป็นพ่อ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน วันพ่อแห่งชาติ ในประเทศไทยตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ดอกไม้ประจำวันพ่อแห่งชาติ วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันพ่อแห่งชาติ กำหนดขึ้นครั้งแรก ในปี 2523 และ กำหนดให้ ดอกพุทธรักษาสีเหลือง เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อแห่งชาติ ดอกพุทธรักษาสีเหลือง เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อแห่งชาติ “พุทธรักษา” ซึ่งหมายถึง พระพุทธเจ้าทรงปกป้องคุ้มครอง ให้มีแต่ความสงบสุขร่มเย็น ซึ่งมีเรียกกันมากว่า 200 ปี และสีเหลืองอันเป็นสีประจำวัน พระราชสมภพขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของปวงชนชาวไทย การมอบดอกพุทธรักษาให้กับพ่อ จึงเสมือนกับการบอกถึง ความรักและเคารพบูชาพ่อ ผู้สร้างความสงบสุขร่มเย็นให้แก่ครอบครัว คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้ประจำบ้านจะช่วยปกป้องคุ้มครอง ไม่ให้มีเหตุร้ายหรืออันตรายเกิดแก่บ้านและผู้อาศัย เ บทบาทของพ่อ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรุปบทบาทหน้าที่ของพ่อและแม่ไว้ 5 ข้อ 1. กันลูกออกจากความชั่ว 2. ปลูกฝังลูกไว้ในทางที่ดี 3. ให้ลูกได้รับการศึกษาเล่าเรียน 4. ให้ลูกได้แต่งงานกับคนดี 5. มอบทรัพย์มรดกให้เมื่อถึงการณ์อันควร วันพ่อแห่งชาตินั้นทั่วโลกจะมีการจัดแตกต่างกันไป โดยในประเทศไทยจัดตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ในส่วนของพ่อเองก็ต้องตั้งใจฝึกตนเองให้ดี ให้เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกให้ได้ หาเวลามาทำกิจกรรมร่วมกัน จะได้มีเวลาแนะนำอบรมสั่งสอนกันเพื่อครอบครัวจะได้ เป็นครอบครัวอบอุ่น โดยในวันพ่อที่จะถึงนี้ ก็ขออวยพรให้คุณพ่อทุกท่านมีความสุข ดูแลลูกๆ และอยู่กับลูกๆ ไปตราบนานเท่านาน คลิปเพลงที่เกี่ยวกับวันพ่อแห่งชาติ เพลงรักพ่อทุกวัน กลอนวันพ่อ อยากให้พ่อ มาเห็น ความเป็นอยู่ จากการสู้ งานหนัก สร้างหลักฐาน สร้างสรรค์ลูก ปลูกฝัง มาตั้งนาน ลูกมีบ้าน งานทำ ไม่ลำเค็ญ หยาดเหงื่อพ่อ พร้อมแม่ แต่ละหยาด คือประกาศ ความดี มีให้เห็น พระคุณพ่อ เพียงพรหม พาร่มเย็น ผ่านทุกข์เข็ญ กว่าใคร ในโลกา เพียงเพื่อลูก ได้มี ชีวิตรอด พ่อทนกอด อดกลั้น ทุกปัญหา เพียงลูกรัก จักเกิด เลิศปัญญา พ่ออุตส่าห์ หาเงิน เกินกำลัง พ่อทำได้ ทุกอย่าง เพื่อสร้างลูก พ่อพันผูก ปลูกจิต ให้คิดหวัง พ่อสอนอย่า เย่อหยิ่ง เขาชิงชัง พ่อเติมพลัง ให้สู้ เป็นผู้คน คำพ่อสอน ทุกอย่าง สร้างชีวิต ให้มีสิทธิ์ โบยบิน ทุกถิ่นหน ดั่งนกน้อย คล้อยชม ล่องลมบน นั่นคือผล งานพ่อ ไม่ท้อทำ อยากให้พ่อ มาเห็น ความเป็นอยู่ เพื่อได้รู้ ผลงาน นานฉนำ ไม่มีพ่อ ยลยิน เพราะสิ้นกรรม ซาบซึ้งคำ พ่อสั่ง หลั่งน้ำตา พ่อผู้ให้ กำเนิด เกิดชีวิต พ่ออุทิศ สั่งสอนลูก ผูกนิสัย พ่อชี้นำ แนวทาง ไม่ห่าง ไกล กลอนวันพ่อ เป็นสองมือ อุ้มชู เลี้ยงดูลูก....เป็นสายใย พันผูก คอยห่วงหา เป็นอ้อมกอด อบอุ่น ค้ำจุนมา....เป็นสายตา ห่วงใย ใคร่อาทร ยามเจ็บไข้ เฝ้าดูแล ด้วยชีวิต ....ยามพลั้งผิด ท่านอบรม คอยบ่มสอน ยามเหนื่อยหน่ายกำลังใจไม่สั่นคลอน....ยามใดใด ยังอาทร ไม่เปลี่ยนแปร ด้วยความรัก ของพ่อ ที่ยิ่งใหญ่ .....ด้วยหัวใจ สะอาดใส เป็นแน่แท้ ด้วยชีวิต เพื่อลูก .. เฝ้าดูแล ....ด้วยสองมือ ไม่ผันแปร เป็นอื่นใด ชายคนหนึ่ง ทำทุกอย่าง ไม่เคยบ่น ทั้งตากแดด ตากฝน ยอมทนหนาว เพื่อความหวัง ที่สดใส สุขสกาว ให้ลูกชาย ลูกสาว ได้เล่าเรียน แม้ต้องแลก กับหยาดเหงื่อ สักกี่หยด แม้ต้องควัก สตางค์หมด จนเป็นหนี้ ไม่เคยท้อ หวังแค่ลูก ได้จบตรี แต่ลูกสิ กับชั่ว จนลืมตน ได้แต่ขอ เงินท่าน ไม่เคยขาด เอาไปใช้ เรื่องอุบาท จนหมดสิ้น ไม่เคยคิด ไม่เคยนึก ได้แต่ชิน ชินกับการ ฟุ่มเฟือย จนเลื่อยมา แล้วสุดท้าย ความเจ็บปวด มันหวนกลับ คนที่รับ นั้นคือพ่อ ใข่ไหมหนา ต้องมานั่ง ร้องไห้ เสียน้ำตา พ่อเร่งหา ลูกล้างผลาญ หมั่นทำลาย จนวันหนึ่ง คิดได้ ในที่สุด แต่เวลา กับหยุด ฝันสลาย ท่านไม่ได้ อยู่กับเรา ไปจนตาย กว่าคิดได้ มันคงสาย ไม่หวนคืน

ประวัติวันสงกรานต์

วันสงกรานต์ ประวัติวันสงกรานต์ ตำนานสงกรานต์ สงกรานต์ เป็นประเพณีปีใหม่ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวต่างประเทศเรียกว่า "สงครามน้ำ" สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริม จนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น ‘Water Festival’ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ การที่สังคมเปลี่ยนไป มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่เข้าสู่เมืองใหญ่ และถือวันสงกรานต์เป็นวัน "กลับบ้าน" ทำให้การจราจรคับคั่งในช่วงวันก่อนสงกรานต์ วันแรกของเทศกาล และวันสุดท้ายของเทศกาล เกิดอุบัติเหตุทางถนนสูง นับเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม ที่เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงหลายด้านของสังคม นอกจากนี้ เทศกาลสงกรานต์ยังถูกใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งต่อคนไทย และต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ตำนานนางสงกรานต์ ตามจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กล่าวตามพระบาลีฝ่ายรามัญว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเศรษฐีคนหนึ่ง รวยทรัพย์แต่อาภัพบุตร ตั้งบ้านอยู่ใกล้กับนักเลงสุราที่มีบุตรสองคน วันหนึ่งนักเลงสุราต่อว่าเศรษฐีจนกระทั่งเศรษฐีน้อยใจ จึงได้บวงสรวงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐานอยู่กว่าสามปี ก็ไร้วี่แววที่จะมีบุตร อยู่มาวันหนึ่งพอถึงช่วงที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีได้พาบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ พอถึงก็ได้เอาข้าวสารลงล้างในน้ำเจ็ดครั้ง แล้วหุงบูชาอธิษฐานขอบุตรกับรุกขเทวดาในต้นไทรนั้น รุกขเทวดาเห็นใจเศรษฐี จึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ไม่ช้าพระอินทร์ก็มีเมตตาประทานให้เทพบุตรองค์หนึ่งนาม "ธรรมบาล" ลงไปปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี ไม่ช้าก็คลอดออกมา เศรษฐีตั้งชื่อให้กุมารน้อยนี้ว่า ธรรมบาลกุมาร และได้ปลูกปราสาทไว้ใต้ต้นไทรให้กุมารนี้อยู่อาศัย ต่อมาเมื่อธรรมบาลกุมารโตขึ้น ก็ได้เรียนรู้ซึ่งภาษานก และเรียนไตรเภทจบเมื่ออายุได้เจ็ดขวบ เขาได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่าง ๆ แก่คนทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาลกุมารว่า ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน และตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน ทันใดนั้นธรรมบาลกุมารจึงขอผัดผ่อนกับท้าวกบิลพรหมเป็นเวลา 7 วัน ทางธรรมบาลกุมารก็พยายามคิดค้นหาคำตอบ ล่วงเข้าวันที่ 6 ธรรมบาลกุมารก็ลงจากปราสาทมานอนอยู่ใต้ต้นตาล เขาคิดว่า ขอตายในที่ลับยังดีกว่าไปตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหม บังเอิญบนต้นไม้มีนกอินทรี 2 ตัวผัวเมียเกาะทำรังอยู่ นางนกอินทรีถามสามีว่า พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารแห่งใด สามีตอบนางนกว่า เราจะไปกินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสีย ด้วยแก้ปัญหาไม่ได้ นางนกจึงถามว่า คำถามที่ท้าวกบิลพรหมถามคืออะไร สามีก็เล่าให้ฟัง ซึ่งนางนกก็ไม่สามารถตอบได้ สามีจึงเฉลยว่า ตอนเช้า ศรีจะอยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุก ๆ เช้า ตอนเที่ยง ศรีจะอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก ส่วนตอนเย็น ศรีจะอยู่ที่เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน ธรรมบาลกุมารก็ได้ทราบเรื่องที่นกอินทรีคุยกันตลอด จึงจดจำไว้ ครั้นรุ่งขึ้น ท้าวกบิลพรหมก็มาตามสัญญาที่ให้ไว้ทุกประการ ธรรมบาลกุมารจึงนำคำตอบที่ได้ยินจากนกไปตอบกับท้าวกบิลพรหม ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกธิดาทั้งเจ็ดอันเป็นบาทบาจาริกา พระอินทร์มาประชุมพร้อมกัน แล้วบอกว่า เราจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร ถ้าจะตั้งไว้ยังแผ่นดิน ไฟก็จะไหม้โลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้าจะทิ้งในมหาสมุทร น้ำก็จะแห้ง จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดนำพานมารองรับ แล้วก็ตัดเศียรให้นางทุงษะ ผู้เป็นธิดาองค์โต จากนั้นนางทุงษะ ก็อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมเวียนขวารอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วเก็บรักษาไว้ในถ้ำคันธุลี ในเขาไกรลาศ จากนั้นมาทุก ๆ 1 ปี ธิดาของท้าวกบิลพรหมทั้ง 7 ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหม แห่ไปรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที แล้วประดิษฐานตามเดิม ในแต่ละปีนางสงกรานต์ แต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์ ดังนี้ 1. ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม ทุงษะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกทับทิม อาภรณ์แก้วปัทมราช ภักษาหารอุทุมพร (ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จมาบนหลังครุฑ 2. ถ้าวันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม โคราคะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกปีบ อาภรณ์แก้วมุกดา ภักษาหารเตลัง (น้ำมัน) พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังพยัคฆ์ (เสือ) 3. ถ้าวันอังคารเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม รากษสเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมรา ภักษาหารโลหิต พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จมาบนหลังวราหะ (หมู) 4. ถ้าวันพุธเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มณฑาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเข็ม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังคัทรภะ (ลา) 5. ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิริณีเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงขอช้าง พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จมาบนหลังคชสาร (ช้าง) 6. ถ้าวันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จมาบนหลังมหิงสา (ควาย) 7. ถ้าวันเสาร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มโหธรเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา (นกยูง) สำหรับความเชื่อทางล้านนานั้นจะมีว่า 1. วันอาทิตย์ ชื่อ นางแพงศรี 2. วันจันทร์ ชื่อ นางมโนรา 3. วันอังคาร ชื่อ นางรากษสเทวี 4. วันพุธ ชื่อ นางมันทะ 5. วันพฤหัส ชื่อ นางัญญาเทพ 6. วันศุกร์ ชื่อ นางริญโท 7. วันเสาร์ ชื่อ นางสามาเทวี

วันปีใหม่

ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่ ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่ ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March) แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ไทย ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์ ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ 1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ 2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา 3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก 4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่ 1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ 2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร 3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง) ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์ ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้ ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ เกี่ยวกับ เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ พรปีใหม่ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 เมื่อเสด็จนิวัตพระนคร และประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่ แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง "พรปีใหม่" และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495 วิธีโหลด คลิกขวาตรงชื่อเพลงแล้วคลิก Save Target As.... รอสักครู่แล้วคลิก Save ดาวน์โหลดเพลง พรปีใหม่ โค้ด HTML: http://www.4shared.com/file/129015103/865614f2/09_-_.html เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์เพื่อปวงชนชาวไทย ทรงเป็นนักดนตรีที่เปี่ยมด้วยพระปรีชา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาสามารถในการทรง เดี่ยวดนตรีได้หลายชนิด เริ่มจากเมื่อครั้งทรงพระเยาว์ทรงสนพระราชหฤทัยเครื่องเป่าประเภทต่างๆ และต่อมาทรงเล่นได้เกือบทุกชนิด เช่น โซปราโนแซ็กโซโฟน (sopranosaxophone) อัลโตแซ็กโซโฟน(altosaxophone) เทเนอร์แซ็กโซโฟน(tenor saxophone) แบริโทนแซ็กโซโฟน(baritone saxophone) แคลริเน็ต(clarinet) และทรัมเป็ต(trumpet) นอกจากนี้ยังทรงกีตาร์และขลุ่ย และยังทรงเปียโนเพิ่มขึ้นภายหลังจากที่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว เพื่อทรงใช้ประกอบการพระราชนิพนธ์เพลง พระราชปฎิภาณในการทรงพระราชนิพนธ์เพลง พระราชอัจฉริยภาพในทางดนตรีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นในสายตาของนัก ดนตรีที่เชี่ยวชาญหลายๆท่านต่างให้ความเห็นตรงกันว่ามีพระราชอัจฉริยภาพสูง ยิ่ง เพราะทรงพระราชนิพนธ์ได้โดยฉับพลันเมื่อมีแรงบันดาลพระราชหฤทัย เช่น เพลงพระราชนิพนธ์ "พรปีใหม่" ซึ่งพระราชทานให้แก่พสกนิกร ในวันส่งท้ายปีเก่าระหว่าง พ.ศ. 2494-2495 พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง แล้วโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงเป่าแซ็กโซโฟน สลับช่วงกัน โดยที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงเป่าในช่วงที่ 1 และที่ 3 ส่วนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป่าในช่วงที่ 2 และที่ 4 สลับกันจนครบเพลงจากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงแต่งคำอวยพรลงในเพลงนั้น ทั้งทำนองและคำร้องเสร็จภายในครึ่งชั่วโมง บทเพลงพระราชนิพนธ์ซึ่ง พระราชทานแก่ประชาชาวไทย ได้บรรเลงขาบขานกันมายาวนานถึง 50 ปี นอกจากจะมีความ "ไพเราะ" อันโดดเด่นแล้ว ยังแฝงไว้ด้วยสาระและคติธรรมแห่งชีวิต ช่วยปลุกปลอบจิตใจมิให้ท้อถอยให้เห็น ว่าชีวิตเป็นสิ่งที่ต้องต่อสู้ด้วยบางครั้งก็ชั่นสูงหากบางครั้งก็ลงต่ำได้ เหมือนโน้ตดนตรี เพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นท่ามกลางพระราชภารกิจอันหนักหน่วงนานัปการจึงนับ เป็น "ของพระราชทาน " อันทรงคุณค่าซึ่งจะสถิตตราตรึงอยู่ในใจของประชาชนชาวไทย ชั่วนิรันดร์ เพลงพรปีใหม่ สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์ ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้ ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวั

วันปีใหม่

ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่ ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่ ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March) แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ไทย ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์ ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ 1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ 2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา 3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก 4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่ 1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ 2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร 3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง) ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์ ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้ ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ เกี่ยวกับ เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ พรปีใหม่ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 เมื่อเสด็จนิวัตพระนคร และประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่ แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง "พรปีใหม่" และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495 วิธีโหลด คลิกขวาตรงชื่อเพลงแล้วคลิก Save Target As.... รอสักครู่แล้วคลิก Save ดาวน์โหลดเพลง พรปีใหม่ โค้ด HTML: http://www.4shared.com/file/129015103/865614f2/09_-_.html เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์เพื่อปวงชนชาวไทย ทรงเป็นนักดนตรีที่เปี่ยมด้วยพระปรีชา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาสามารถในการทรง เดี่ยวดนตรีได้หลายชนิด เริ่มจากเมื่อครั้งทรงพระเยาว์ทรงสนพระราชหฤทัยเครื่องเป่าประเภทต่างๆ และต่อมาทรงเล่นได้เกือบทุกชนิด เช่น โซปราโนแซ็กโซโฟน (sopranosaxophone) อัลโตแซ็กโซโฟน(altosaxophone) เทเนอร์แซ็กโซโฟน(tenor saxophone) แบริโทนแซ็กโซโฟน(baritone saxophone) แคลริเน็ต(clarinet) และทรัมเป็ต(trumpet) นอกจากนี้ยังทรงกีตาร์และขลุ่ย และยังทรงเปียโนเพิ่มขึ้นภายหลังจากที่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว เพื่อทรงใช้ประกอบการพระราชนิพนธ์เพลง พระราชปฎิภาณในการทรงพระราชนิพนธ์เพลง พระราชอัจฉริยภาพในทางดนตรีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นในสายตาของนัก ดนตรีที่เชี่ยวชาญหลายๆท่านต่างให้ความเห็นตรงกันว่ามีพระราชอัจฉริยภาพสูง ยิ่ง เพราะทรงพระราชนิพนธ์ได้โดยฉับพลันเมื่อมีแรงบันดาลพระราชหฤทัย เช่น เพลงพระราชนิพนธ์ "พรปีใหม่" ซึ่งพระราชทานให้แก่พสกนิกร ในวันส่งท้ายปีเก่าระหว่าง พ.ศ. 2494-2495 พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง แล้วโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงเป่าแซ็กโซโฟน สลับช่วงกัน โดยที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงเป่าในช่วงที่ 1 และที่ 3 ส่วนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป่าในช่วงที่ 2 และที่ 4 สลับกันจนครบเพลงจากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงแต่งคำอวยพรลงในเพลงนั้น ทั้งทำนองและคำร้องเสร็จภายในครึ่งชั่วโมง บทเพลงพระราชนิพนธ์ซึ่ง พระราชทานแก่ประชาชาวไทย ได้บรรเลงขาบขานกันมายาวนานถึง 50 ปี นอกจากจะมีความ "ไพเราะ" อันโดดเด่นแล้ว ยังแฝงไว้ด้วยสาระและคติธรรมแห่งชีวิต ช่วยปลุกปลอบจิตใจมิให้ท้อถอยให้เห็น ว่าชีวิตเป็นสิ่งที่ต้องต่อสู้ด้วยบางครั้งก็ชั่นสูงหากบางครั้งก็ลงต่ำได้ เหมือนโน้ตดนตรี เพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นท่ามกลางพระราชภารกิจอันหนักหน่วงนานัปการจึงนับ เป็น "ของพระราชทาน " อันทรงคุณค่าซึ่งจะสถิตตราตรึงอยู่ในใจของประชาชนชาวไทย ชั่วนิรันดร์ เพลงพรปีใหม่ สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์ ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้ ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวั

ประวัติวันอาสาฬบูชา

ประวัติวันอาสาฬหบูชา หลังจากพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ พระพุทธองค์ทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ ทรงเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อยก็มี ที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุมากก็มี ที่มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี ที่มีอินทรีย์อ่อนก็มี ที่มีอาการดีก็มี ที่มีอาการทรามก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ยากก็มี อุปมาดั่งดอกบัวสี่เหล่า แล้วทรงพิจารณาหาบุคคลที่สมควร จะแสดงธรรมโปรดก่อนบุคคลแรก ทรงระลึกถึง อาฬารดาบสกาลามโคตร และ อุทกดาบสรามบุตร ที่พระองค์ได้เข้าไปศึกษาในชั้นแรก ก็ทราบว่าทั้งสองท่านทำกาละแล้ว จึงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ทั้งห้า ผู้เคยอุปัฏฐากพระองค์ ในระหว่างที่ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ทรงทราบด้วยพระญาณว่า ปัญจวัคคีย์พำนักอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี พระองค์จึงเสด็จไปยัง ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พระปัญจวัคคีย์ได้เห็นพระผู้มีพระภาค ทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยาเสด็จมาแต่ไกล แล้วได้นัดหมายกันและกันว่า พวกเราไม่พึงอภิวาท ไม่พึงลุกขึ้นต้อนรับพระองค์ ไม่พึงรับบาตรจีวรของพระองค์ แต่พึงวางอาสนะไว้ ถ้าพระองค์ปรารถนา ก็จักประทับนั่ง ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปถึงพระปัญจวัคคีย์ พระปัญจวัคคีย์นั้นไม่ตั้งอยู่ในกติกาของตน ต่างลุกขึ้นต้อนรับพระผู้มีพระภาค รูปหนึ่งรับบาตรจีวรของพระผู้มีพระภาค รูปหนึ่งปูอาสนะ รูปหนึ่งจัดหาน้ำล้างพระบาท รูปหนึ่งจัดตั้งตั่งรองพระบาท รูปหนึ่งนำกระเบื้องเช็ดพระบาท เข้าไปถวาย พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะ ที่พระปัญจวัคคีย์จัดถวาย พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า"ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว เราจะสั่งสอน จะแสดงธรรม พวกเธอปฏิบัติอยู่ตามที่เราสั่งสอนแล้ว ไม่ช้าสักเท่าไร จักทำให้แจ้งซึ่งคุณอันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่" แรกทีเดียวพระปัญจวัคคีย์ยังไม่เชื่อว่าพระพุทธองค์ทรงเป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ จึงค้านถึงสามครั้งว่า "แม้ด้วยจริยานั้น แม้ด้วยปฏิปทานั้น แม้ด้วยทุกกรกิริยานั้น พระองค์ก็ยังไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นพิเศษ อย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ก็บัดนี้พระองค์เป็นผู้มักมาก คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ไฉนจักบรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ ความเห็นพิเศษอย่างประเสริฐ อย่างสามารถได้เล่า" พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า"พวกเธอยังจำได้หรือว่า ถ้อยคำเช่นนี้ เราได้เคยพูดแล้วในปางก่อน แต่กาลนี้" พระปัญจวัคคีย์ จึงได้ยอมเชื่อฟังพระผู้มีพระภาค เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตเพื่อรู้ยิ่ง พระพุทธองค์ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ซึ่งเรียกว่าปฐมเทศนา เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า "ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ" เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อ ของท่านพระโกณฑัญญะ ท่านพระโกณฑัญญะได้บรรลุโสดาบัน กราบทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระพุทธองค์จึงทรงประทาน เอหิภิกขุอุปสัมปทา ว่า "เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด" นับเป็นพระสงฆ์ สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนั้นเป็นวันเพ็ญกลาง เดือนอาสาฬหะหรือเดือน ๘ เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบบริบูรณ์ ครั้นต่อมา พระผู้มีพระภาคได้ทรงประทานโอวาท สั่งสอนภิกษุทั้งหลายที่เหลือจากนั้น ด้วยธรรมีกถา เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาท สั่งสอนด้วยธรรมีกถาอยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระวัปปะ และท่านพระภัททิยะ และได้อุปสมบท วันต่อมา ท่านพระมหานามะและท่านพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และ ได้อุปสมบท ต่อมา พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลินภาษิตของผู้มีพระภาค เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์ พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์

ประวัติวันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา ต ร ง กั บ วั น แ ร ม ๑ ค่ำ เ ดื อ น ๘ "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้ โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา *** เพิ่มเติม *** "ผ้าจำนำพรรษา" คือผ้าที่ทายกถวายแก่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาครบแล้วในวัดนั้น ภายในเขตจีวรกาล เรียกอีกอย่างว่า "ผ้าวัสสาวาสิกสาฎิกา" "ผ้าอาบน้ำฝน" คือผ้าสำหรับอธิษฐานไว้ใช้นุ่งอาบน้ำฝนตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เรียกอีกอย่างว่า "ผ้าวัสสิกสาฏิกา" การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรม และความรู้ให้ และโดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด นับว่าเป็นประโยชน์ การปฏิบัติตน ในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ ที่สำคัญคือ มีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์อยู่ได้ตลอด 3 เดือน มีการประกวดเทียนพรรษา โดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ ทำบุญรักษาศีลและชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึง วันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้น อบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลาน ของตนโดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับ อานิสงส์อย่างสูง ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา เป็นประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษาซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ พระภิกษุจะต้องอยู่ประจำวัดตลอด ๓ เดือนมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้มีอยู่เป็นประจำ ทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษานี้ พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าเย็นและในการนี้จะต้องมีธูป เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็น การกุศลทานอย่างหนึ่งเพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว ตามชนบท การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้ว ก็จะมีการแห่แหน รอบพระอุโบสถ ๓ รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา ๓ เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่งมี การแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงามและถือว่าเป็นงานประจำปีทีเดียว ในวันนั้นจะมีการร่วมกันทำบุญตักบาตรถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการร่วมกุศลกันในหมู่ กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา ๑. ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา ๒. ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิษุสามเณร ๓. ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล ๔. อธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ

โรคเบาหวาน

Journalist access to expert database การดูแลรักษาโรคเบาหวานสำหรับทุกคน FFA Issue 28 Diabetes Care for Everyone 30 พฤศจิกายน 2549 องค์กรโรคเบาหวานสากล (IDF) ได้รณรงค์ ‘การดูแลรักษาโรคเบาหวานสำหรับทุกคน’ สำหรับปี 2549 นี้ เหตุผลหนึ่งสำหรับการรณรงค์ คือ มีผู้ป่วยหลายรายประสบกับภาวะโรคแทรกซ้อนสาเหตุจากโรคเบาหวานชนิดรุนแรงประเภทที่ 2 อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทั้งนี้เนื่องจากขาดการดูแลรักษา ซึ่งไม่เพียงแต่ขาดการดูแลรักษาในผู้ที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคเท่านั้น แต่ขาดการดูแลรักษาในผู้คนหลายคนที่ไม่ได้ปรึกษาแพทย์ด้วยเช่นกัน มีเหตุผลหลายประการที่ทำให้ไม่มีการดูแลรักษาเบาหวานประเภทที่ 2 สำหรับหลายๆ คนและผู้ที่มีความทนกลูโคสบกพร่อง (impaired glucose tolerance) ซึ่งเป็นอาการที่ไม่สามารถตรวจหาได้เนื่องจากไม่ปรากฏอาการภายนอก การขาดการดูแลรักษาเป็นหนึ่งในหลายปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานประเภทที่ 2 หนึ่งในขั้นตอนแรกที่มีความจำเป็นและมีความสำคัญเป็นอันดับแรกเพื่อระบุที่มาของปัญหา คือการเพิ่มความตระหนักให้กับสาธารณชนว่าวิธีการ ระยะเวลา และสาเหตุของการเข้ารับการบริการด้านสุขภาพเพื่อป้องกันและรักษาประเภทประเภทที่ 2 นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง ความเข้าใจของสาธารณชนที่ดีขึ้น สามารถช่วยให้บรรลุเป้าหมายการปรับปรุงการดูแลรักษาโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ให้ดีขึ้นด้วยวิธีการหลายๆ วิธี ตัวอย่างเช่น ความเข้าใจของสาธารณชนสามารถเพิ่มอัตราการตรวจหาและการวินิจฉัยในเบื้องต้น เพิ่มความสามารถและแรงจูงใจให้กับผู้ป่วยแต่ละรายในการเข้าถึงการดูแลรักษาทางการแพทย์และคำแนะนำที่เหมาะสม ตลอดจนการนำคำแนะนำจากแพทย์มาปฏิบัติและผลจากการปฏิบัติที่มีต่อภาวะโภชนาการและวิถีการดำรงชีวิต เพื่อป้องกันและการจัดการโรคเบาหวานประเภทที่ 2 เพื่อสนับสนุนการรณรงค์โดย IDF ดังนั้น AFIC กำลังเปิดตัวแหล่งข้อมูลใหม่สองแหล่ง ที่จัดทำไว้เพื่อเพิ่มความเข้าใจของโรคเบาหวานประเภทที่ 2 และสิ่งที่พวกเขาควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงโรคแทรกซ้อนที่สัมพันธ์กับเบาหวานประเภทที่ 2 บทความนี้อ้างอิงมาจากหนึ่งในแหล่งข้อมูลเหล่านี้ ได้แก่ แผ่นพับที่ได้ทบทวนและปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ‘สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับเบาหวานประเภทที่ 2’ โปรดอ่านเพื่อค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือติดต่อสำนักงาน AFIC ได้ที่ www.afic.org เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม เบาหวานประเภท 2 คืออะไร? โรคเบาหวานคือสภาพการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงในร่างกายและมีการเปลี่ยนแปลงของไขมันในเลือดที่ไม่ต้องการ เบาหวานประเภทที่ 2 เป็นประเภทของเบาหวานที่พบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยโรคเบาหวานประมาณ 85 ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ เป็นผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ปกติเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ แม้ว่าจะเกิดขึ้นในเด็กและวัยรุ่นไม่มากนักก็ตาม ผู้มีน้ำหนักตัวมากเกินก็สามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน มีปริมาณผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 มากเท่าไร? ประเทศอินเดียมีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานมากที่สุดในโลก (35.5 ล้านคน) ตามด้วยสาธารณรัฐประชาชนจีน อยู่ในลำดับที่สองด้วยผู้ป่วยโรคเบาหวาน 23.8 ล้านคน โดยในปี 2546 ประชากรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 39.3 ล้านคน คาดว่าป่วยด้วยโรคเบาหวาน ซึ่งเทียบเท่ากับ 5.6 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งหมด อาการของเบาหวานประเภทที่ 2 เป็นอย่างไร? เบาหวานประเภทที่ 2 พัฒนาขึ้นอย่างช้าๆ บางครั้งไม่ปรากฏอาการภายนอก ผู้ป่วย 1 ใน 3 รายที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานได้พัฒนาโรคแทรกซ้อนขึ้นแล้ว ในกรณีเช่นนี้ ผลที่เกิดขึ้นอาจไม่สามารถรักษาให้หายกลับเป็นปกติได้ อาการทางภายนอกที่พบบ่อยที่สุดของเบาหวานประเภทที่ 2 ได้แก่ การกระหายน้ำอย่างรุนแรง ปัสสาวะบ่อย หิว สูญเสียน้ำหนักโดยไม่ทราบสาเหตุ ไร้เรี่ยวแรง ตาพร่ามัว แผลหายช้า ปวดเสียวหรือสูญเสียความรู้สึกบริเวณมือหรือเท้า เกิดการติดเชื้อซ้ำที่ผิวหนัง เหงือก ช่องคลอด หรือระบบทางปัสสาวะ เราจะป้องกันหรือลดโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานประเภทที่ 2 ได้อย่างไร? เพื่อหลีกเลี่ยงโรคแทรกซ้อน สิ่งสำคัญได้แก่การตรวจหาเบาหวานให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินหรือโรคอ้วน และมีอายุเกิน 45 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจเพื่อหาเบาหวานอย่างง่ายๆ โดยแพทย์ ปีละหนึ่งครั้ง สำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 เป้าหมายสำคัญประการแรก คือ การควบคุมกลูโคส ไขมัน และความดันเลือดในกระแสเลือดให้ปกติดีอยู่เสมอ เพื่อให้การควบคุมกลูโคสในกระแสเลือดประสบผลสำเร็จ การทำสมาธิและการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิตจึงเป็นสิ่งจำเป็น วิถีการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ การวางแผนโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพและการออกกำลังกาย การหมั่นพบแพทย์อยู่เป็นประจำ ก็ช่วยในการตรวจหาโรคแทรกซ้อนที่อาจส่งผลต่อสุขภาพได้ทันท่วงทีอีกด้วยเช่นกัน ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ? มีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 พันธุกรรมมีบทบาทสำคัญต่อเบาหวานประเภทที่ 2 หากสมาชิกในครอบครัวหนึ่งคนหรือมากกว่าเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวานก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ผู้มีน้ำหนักตัวมากเกินและผู้เป็นโรคอ้วน: ผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 มากกว่า 8 ใน 10 ราย เป็นผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินหรือโรคอ้วนอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ไม่ออกกำลังกาย: เบาหวานประเภทที่ 2 โดยปกติเกิดขึ้นกับผู้เฉื่อยชามากกว่า การออกกำลังกายสามารถลดโอกาสการเกิดเบาหวานประเภทที่ 2 ได้ครึ่งหนึ่ง ผู้สูงอายุ: ผู้ป่วยจำนวน 1 ใน 5 ราย ที่มีอายุเกิน 65 ปี เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 เราจะป้องกันหรือชะลออาการของโรคเบาหวานได้อย่างไร? สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกิน ควรลดไขมันของร่างกายลง 7 – 10 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัวปัจจุบัน ลดโอกาสเกิดเบาหวานประเภทที่ 2 ครึ่งหนึ่ง ไขมันที่สะสมรอบๆ บริเวณท้อง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และโรคแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกัน ไขมันบริเวณช่องท้องสามารถวัดได้ด้วยการวัดเส้นรอบเอว กระทำได้โดยใช้สายวัดวัดที่บริเวณกึ่งกลางระหว่างกระดูกซี่โครงส่วนล่างและและส่วนบนของกระดูกรอบเอว เส้นรอบเอวที่น้อยกว่า 90 เซ็นตริเมตร สำหรับผู้ชายและน้อยกว่า 80 เซ็นตริเมตรสำหรับผู้หญิง บ่งชี้ถึงความเสี่ยงที่ต่ำ สำหรับผู้ที่มีไขมันช่องท้องมากกว่า ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนโดยตรงกับเส้นรอบวงที่เพิ่มขึ้น การใช้กล้ามเนื้ออยู่เสมอ เพิ่มความสามารถของกล้ามเนื้อในการดูดซึมและนำอินซูลินมาใช้ ทั้งสองกรณีจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นหรือเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 จึงแนะนำให้ทำการออกกำลังกายเต้นแอโรบิก ออกกำลังกายแบบใช้กล้ามเนื้อ และการออกกำลังแบบยืดหยุ่นผสมผสานกัน ข้อแนะนำการออกกำลังกาย การออกกำลังกายแบบแอโรบิค: แนะนำให้ทำอย่างน้อย 5 ครั้งต่อสัปดาห์ นานครั้งละ 30 นาทีโดยประมาณต่อวัน หากคุณต้องการลดน้ำหนัก การออกกำลังกายเพิ่มเติมก็จะเป็นประโยชน์ ปรึกษาแพทย์ของคุณก่อนเพิ่มระดับการออกกำลังกาย การออกกำลังกายแบบใช้กล้ามเนื้อ: การสะสมมวลกระดูก เป็นสิ่งที่ดีสำหรับผู้เป็นเบาหวาน ในการเผาผลาญแคลอรี่และเสริมความสามารถของร่างกายในการลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด การยกน้ำหนักเป็นตัวอย่างหนึ่งของการออกกำลังแบบใช้กล้ามเนื้อ การออกกำลังกายแบบยืดหยุ่น เช่น การยืดคลายกล้ามเนื้อ ช่วยให้ข้อต่อมีความยืดหยุ่นและลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บในระหว่างการออกกำลังกาย ข้อแนะนำการเพิ่มการออกกำลังกาย: จอดรถที่ลานจอดรถไกลสุด ตกแต่งสวนที่บ้าน มีส่วนร่วมทำกิจกรรมกับเด็กหรือลูกหลาน เดินขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟท์หรือบันไดเลื่อน ล้างรถ หยุดลงที่สถานีรถ ให้ห่างสองสามช่วงจากป้ายปกติ และเดิน ข้อแนะนำการเลือกรับประทานอาหาร กลยุทธ์เชิงโภชนาการที่สำคัญที่สุดสองประการเพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ได้แก่ การเลือกแหล่งอาหารที่มีเส้นใยสูง มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตและไขมันต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันชนิดอิ่มตัว เลือกธัญพืชที่เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่มีเส้นใยสูง และจำกัดการบริโภคคาร์โบไฮเดรตบริสุทธิ์สูง โดยธัญพืชที่มีคาร์โบไฮเดรตเส้นใยสูง จะเกิดการดูดซึมอย่างช้าๆ ซึ่งจำกัดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด และลดความต้องการของอินซูลิน ทางเลือกที่ดี ได้แก่ ข้าวแดง ข้าวไม่ขัดสี ข้าวโอ๊ต ขนมปังจากธัญพืช บะหมี่ปรุงกึ่งสุก เวอร์มิเซลลีจากถั่ว ถั่วหรือถั่วมีเปลือก เช่น ถั่วบัลเกอร์ (bulgur) เป็นต้น ใช้ไขมันไม่อิ่มตัวแทนที่จะใช้ไขมันอิ่มตัวและไขมันชนิดทรานส์ ไขมันไม่อิ่มตัว เป็นต้นว่า น้ำมันคาโนลา น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่ว น้ำมันดอกทานตะวัน หรือน้ำมันข้าวโพด ช่วยป้องกันโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ได้ น้ำมันมะพร้าว, น้ำมันปาล์มและน้ำมันเมล็ดปาล์มซึ่งมีระดับไขมันอิ่มตัวสูงกว่า และ และเนยเทียมชนิดแข็งหรือกึ่งเหลว เช่นเดียวกับน้ำมันหมู ซึ่งมีทั้งไขมันอิ่มตัว และไขมันชนิดทรานส์ ซึ่งอาจเร่งการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 และโรคแทรกซ้อน ข้อมูลทางการแพทย์ด้านเบาหวานจากมูลนิธิเบาหวานสากล (The Diabetes Atlas of the World Diabetes Foundation) ประเมินว่า ทั่วโลกมีประชากรวัยผู้ใหญ่เป็นโรคเบาหวานมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ และอีก 8 เปอร์เซ็นต์เป็นผู้ที่มีความทนกลูโคสบกพร่อง ซึ่งเป็นสภาพที่นำมาซึ่งโรคแทรกซ้อนหลายอาการจากเบาหวาน และในหลายๆ รายที่ไม่เข้ารับการตรวจจากแพทย์ ก็จะพัฒนาเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2