วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติวันพ่อแห่งชาติ

ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันพ่อแห่งชาติ ร่วมลงนามถวายพระพร วันพ่อแห่งชาติ 2555 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หน้า 587) พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายคำว่า “พ่อ” ไว้ดังนี้ พ่อ หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกชายผู้ให้กำเนิดตน ในทางพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า “พ่อ” หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูกมีใช้หลายคำ เช่น - บิดา (พ่อ) - ชนก (ผู้ให้กำเนิด) - สามี (ผัวของแม่) เป็นต้น วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือวันพ่อแห่งชาติ มีความเป็นมาของวันสำคัญ คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์เป็นผู้ถวายการประสูติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นเอนกประการจำเนียรกาลผ่านมาถึงปัจจุบันที่สุดจะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่ พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” อันคำว่าโดย “ธรรม” นั้น ทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า “ทศพิธราชธรรม” หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า “ราชธรรม 10 ประการ” พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง ราชธรรม 10 ประการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดมั่นทรงปฎิบัติโดยเคร่งครัด และส่งผลถึงพสกนิกรทั่วพระราชอาณาจักรนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าฯ ห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น “พ่อ” ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้ “...บ้านเมืองของเราเป็นปึกแผ่นร่มเย็นปกติสุขมาช้านาน เพราะเรามีความยึดมั่นในชาติและต่างร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันทำหน้าที่โดยนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมของชาติเป็นเป้าหมายสำคัญสูงสุด ท่านทั้งหลายในสมาคมนี้ ตลอดจนคนไทยทุกหมู่เหล่า จึงควรทำความเข้าใจในหน้าที่ของตนไว้ให้กระจ่างและนำไปปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ด้วยความไม่ประมาท และด้วยความมีสติ…” (พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง) กิจกรรมที่ควรปฎิบัติในวันพ่อแห่งชาตินี้ 1. ในวันพ่อแห่งชาติเราควรประดับธงชาติไทยที่อาคารบ้านเรือน 2. จัดพิธีศาสนสงฆ์ ทำบุญใส่บาตร อุทิศเป็นพระราชกุศล น้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล 3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ความเป็นมาของวันพ่อแห่งชาติ วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่มหลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อแห่งชาติ พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น “วันพ่อแห่งชาติ” ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และให้ดอกพุทธรักษาเป็นสัญลักษณ์ วันพ่อแห่งชาติ ทุกบุปผา มาลัยคือใจราษฎร์ ภักดีบาทองค์บพิตรเป็นนิจสิน พระ คือ บิดาข้าแผ่นดิน ร่วมร้อยรินมาลัยถวายพระพร ลุ 5 ธันวามหาราช “วันพ่อแห่งชาติ” คือองค์อดิศร พระเปี่ยมล้นด้วยเมตตาเอื้ออาทร พสกนิกรเป็นสุขทุกคืนวัน ด้วยพ่อเป็นบุคคลผู้มีพระคุณ มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพ เทิดทูน และตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อนี่เป็นที่มาของการจัดให้มี วันพ่อแห่งชาติ วันพ่อแห่งชาติหรือวันเฉลิมพระชนพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช 5 ธันวาวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและยังเป็นวันพ่อแห่งชาติ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะพ่อแห่งชาติ อีกทั้งทรงเป็นพ่อตัวอย่างของปวงชนชาวไทย ที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงบำเพ็ญคุณานุประโยชน์แก่ประเทศชาติ และประชาชน ทรงพระมหากรุณาทะนุบำรุงขจัดทุกข์ผดุงสุขพสกนิกรถ้วนหน้า พระองค์ทรงเป็น พ่อแห่งชาติที่อาณาประชาราษฎร์เทิดทูนด้วยความจงรักภักดี สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และยึดมั่นในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการทะนุบำรุงชาติบ้านเมืองให้ วัฒนาถาวรสืบไป ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของวันพ่อแห่งชาติ 4 ประการ คือ 1. เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 2. เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม 3. เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ 4. เพื่อให้ผู้เป็นพ่อ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน วันพ่อแห่งชาติ ในประเทศไทยตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ดอกไม้ประจำวันพ่อแห่งชาติ วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันพ่อแห่งชาติ กำหนดขึ้นครั้งแรก ในปี 2523 และ กำหนดให้ ดอกพุทธรักษาสีเหลือง เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อแห่งชาติ ดอกพุทธรักษาสีเหลือง เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อแห่งชาติ “พุทธรักษา” ซึ่งหมายถึง พระพุทธเจ้าทรงปกป้องคุ้มครอง ให้มีแต่ความสงบสุขร่มเย็น ซึ่งมีเรียกกันมากว่า 200 ปี และสีเหลืองอันเป็นสีประจำวัน พระราชสมภพขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของปวงชนชาวไทย การมอบดอกพุทธรักษาให้กับพ่อ จึงเสมือนกับการบอกถึง ความรักและเคารพบูชาพ่อ ผู้สร้างความสงบสุขร่มเย็นให้แก่ครอบครัว คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้ประจำบ้านจะช่วยปกป้องคุ้มครอง ไม่ให้มีเหตุร้ายหรืออันตรายเกิดแก่บ้านและผู้อาศัย เ บทบาทของพ่อ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรุปบทบาทหน้าที่ของพ่อและแม่ไว้ 5 ข้อ 1. กันลูกออกจากความชั่ว 2. ปลูกฝังลูกไว้ในทางที่ดี 3. ให้ลูกได้รับการศึกษาเล่าเรียน 4. ให้ลูกได้แต่งงานกับคนดี 5. มอบทรัพย์มรดกให้เมื่อถึงการณ์อันควร วันพ่อแห่งชาตินั้นทั่วโลกจะมีการจัดแตกต่างกันไป โดยในประเทศไทยจัดตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ในส่วนของพ่อเองก็ต้องตั้งใจฝึกตนเองให้ดี ให้เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกให้ได้ หาเวลามาทำกิจกรรมร่วมกัน จะได้มีเวลาแนะนำอบรมสั่งสอนกันเพื่อครอบครัวจะได้ เป็นครอบครัวอบอุ่น โดยในวันพ่อที่จะถึงนี้ ก็ขออวยพรให้คุณพ่อทุกท่านมีความสุข ดูแลลูกๆ และอยู่กับลูกๆ ไปตราบนานเท่านาน คลิปเพลงที่เกี่ยวกับวันพ่อแห่งชาติ เพลงรักพ่อทุกวัน กลอนวันพ่อ อยากให้พ่อ มาเห็น ความเป็นอยู่ จากการสู้ งานหนัก สร้างหลักฐาน สร้างสรรค์ลูก ปลูกฝัง มาตั้งนาน ลูกมีบ้าน งานทำ ไม่ลำเค็ญ หยาดเหงื่อพ่อ พร้อมแม่ แต่ละหยาด คือประกาศ ความดี มีให้เห็น พระคุณพ่อ เพียงพรหม พาร่มเย็น ผ่านทุกข์เข็ญ กว่าใคร ในโลกา เพียงเพื่อลูก ได้มี ชีวิตรอด พ่อทนกอด อดกลั้น ทุกปัญหา เพียงลูกรัก จักเกิด เลิศปัญญา พ่ออุตส่าห์ หาเงิน เกินกำลัง พ่อทำได้ ทุกอย่าง เพื่อสร้างลูก พ่อพันผูก ปลูกจิต ให้คิดหวัง พ่อสอนอย่า เย่อหยิ่ง เขาชิงชัง พ่อเติมพลัง ให้สู้ เป็นผู้คน คำพ่อสอน ทุกอย่าง สร้างชีวิต ให้มีสิทธิ์ โบยบิน ทุกถิ่นหน ดั่งนกน้อย คล้อยชม ล่องลมบน นั่นคือผล งานพ่อ ไม่ท้อทำ อยากให้พ่อ มาเห็น ความเป็นอยู่ เพื่อได้รู้ ผลงาน นานฉนำ ไม่มีพ่อ ยลยิน เพราะสิ้นกรรม ซาบซึ้งคำ พ่อสั่ง หลั่งน้ำตา พ่อผู้ให้ กำเนิด เกิดชีวิต พ่ออุทิศ สั่งสอนลูก ผูกนิสัย พ่อชี้นำ แนวทาง ไม่ห่าง ไกล กลอนวันพ่อ เป็นสองมือ อุ้มชู เลี้ยงดูลูก....เป็นสายใย พันผูก คอยห่วงหา เป็นอ้อมกอด อบอุ่น ค้ำจุนมา....เป็นสายตา ห่วงใย ใคร่อาทร ยามเจ็บไข้ เฝ้าดูแล ด้วยชีวิต ....ยามพลั้งผิด ท่านอบรม คอยบ่มสอน ยามเหนื่อยหน่ายกำลังใจไม่สั่นคลอน....ยามใดใด ยังอาทร ไม่เปลี่ยนแปร ด้วยความรัก ของพ่อ ที่ยิ่งใหญ่ .....ด้วยหัวใจ สะอาดใส เป็นแน่แท้ ด้วยชีวิต เพื่อลูก .. เฝ้าดูแล ....ด้วยสองมือ ไม่ผันแปร เป็นอื่นใด ชายคนหนึ่ง ทำทุกอย่าง ไม่เคยบ่น ทั้งตากแดด ตากฝน ยอมทนหนาว เพื่อความหวัง ที่สดใส สุขสกาว ให้ลูกชาย ลูกสาว ได้เล่าเรียน แม้ต้องแลก กับหยาดเหงื่อ สักกี่หยด แม้ต้องควัก สตางค์หมด จนเป็นหนี้ ไม่เคยท้อ หวังแค่ลูก ได้จบตรี แต่ลูกสิ กับชั่ว จนลืมตน ได้แต่ขอ เงินท่าน ไม่เคยขาด เอาไปใช้ เรื่องอุบาท จนหมดสิ้น ไม่เคยคิด ไม่เคยนึก ได้แต่ชิน ชินกับการ ฟุ่มเฟือย จนเลื่อยมา แล้วสุดท้าย ความเจ็บปวด มันหวนกลับ คนที่รับ นั้นคือพ่อ ใข่ไหมหนา ต้องมานั่ง ร้องไห้ เสียน้ำตา พ่อเร่งหา ลูกล้างผลาญ หมั่นทำลาย จนวันหนึ่ง คิดได้ ในที่สุด แต่เวลา กับหยุด ฝันสลาย ท่านไม่ได้ อยู่กับเรา ไปจนตาย กว่าคิดได้ มันคงสาย ไม่หวนคืน

ประวัติวันสงกรานต์

วันสงกรานต์ ประวัติวันสงกรานต์ ตำนานสงกรานต์ สงกรานต์ เป็นประเพณีปีใหม่ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวต่างประเทศเรียกว่า "สงครามน้ำ" สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริม จนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น ‘Water Festival’ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ การที่สังคมเปลี่ยนไป มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่เข้าสู่เมืองใหญ่ และถือวันสงกรานต์เป็นวัน "กลับบ้าน" ทำให้การจราจรคับคั่งในช่วงวันก่อนสงกรานต์ วันแรกของเทศกาล และวันสุดท้ายของเทศกาล เกิดอุบัติเหตุทางถนนสูง นับเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม ที่เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงหลายด้านของสังคม นอกจากนี้ เทศกาลสงกรานต์ยังถูกใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งต่อคนไทย และต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ตำนานนางสงกรานต์ ตามจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กล่าวตามพระบาลีฝ่ายรามัญว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเศรษฐีคนหนึ่ง รวยทรัพย์แต่อาภัพบุตร ตั้งบ้านอยู่ใกล้กับนักเลงสุราที่มีบุตรสองคน วันหนึ่งนักเลงสุราต่อว่าเศรษฐีจนกระทั่งเศรษฐีน้อยใจ จึงได้บวงสรวงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐานอยู่กว่าสามปี ก็ไร้วี่แววที่จะมีบุตร อยู่มาวันหนึ่งพอถึงช่วงที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีได้พาบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ พอถึงก็ได้เอาข้าวสารลงล้างในน้ำเจ็ดครั้ง แล้วหุงบูชาอธิษฐานขอบุตรกับรุกขเทวดาในต้นไทรนั้น รุกขเทวดาเห็นใจเศรษฐี จึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ไม่ช้าพระอินทร์ก็มีเมตตาประทานให้เทพบุตรองค์หนึ่งนาม "ธรรมบาล" ลงไปปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี ไม่ช้าก็คลอดออกมา เศรษฐีตั้งชื่อให้กุมารน้อยนี้ว่า ธรรมบาลกุมาร และได้ปลูกปราสาทไว้ใต้ต้นไทรให้กุมารนี้อยู่อาศัย ต่อมาเมื่อธรรมบาลกุมารโตขึ้น ก็ได้เรียนรู้ซึ่งภาษานก และเรียนไตรเภทจบเมื่ออายุได้เจ็ดขวบ เขาได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่าง ๆ แก่คนทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาลกุมารว่า ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน และตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน ทันใดนั้นธรรมบาลกุมารจึงขอผัดผ่อนกับท้าวกบิลพรหมเป็นเวลา 7 วัน ทางธรรมบาลกุมารก็พยายามคิดค้นหาคำตอบ ล่วงเข้าวันที่ 6 ธรรมบาลกุมารก็ลงจากปราสาทมานอนอยู่ใต้ต้นตาล เขาคิดว่า ขอตายในที่ลับยังดีกว่าไปตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหม บังเอิญบนต้นไม้มีนกอินทรี 2 ตัวผัวเมียเกาะทำรังอยู่ นางนกอินทรีถามสามีว่า พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารแห่งใด สามีตอบนางนกว่า เราจะไปกินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสีย ด้วยแก้ปัญหาไม่ได้ นางนกจึงถามว่า คำถามที่ท้าวกบิลพรหมถามคืออะไร สามีก็เล่าให้ฟัง ซึ่งนางนกก็ไม่สามารถตอบได้ สามีจึงเฉลยว่า ตอนเช้า ศรีจะอยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุก ๆ เช้า ตอนเที่ยง ศรีจะอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก ส่วนตอนเย็น ศรีจะอยู่ที่เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน ธรรมบาลกุมารก็ได้ทราบเรื่องที่นกอินทรีคุยกันตลอด จึงจดจำไว้ ครั้นรุ่งขึ้น ท้าวกบิลพรหมก็มาตามสัญญาที่ให้ไว้ทุกประการ ธรรมบาลกุมารจึงนำคำตอบที่ได้ยินจากนกไปตอบกับท้าวกบิลพรหม ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกธิดาทั้งเจ็ดอันเป็นบาทบาจาริกา พระอินทร์มาประชุมพร้อมกัน แล้วบอกว่า เราจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร ถ้าจะตั้งไว้ยังแผ่นดิน ไฟก็จะไหม้โลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้าจะทิ้งในมหาสมุทร น้ำก็จะแห้ง จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดนำพานมารองรับ แล้วก็ตัดเศียรให้นางทุงษะ ผู้เป็นธิดาองค์โต จากนั้นนางทุงษะ ก็อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมเวียนขวารอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วเก็บรักษาไว้ในถ้ำคันธุลี ในเขาไกรลาศ จากนั้นมาทุก ๆ 1 ปี ธิดาของท้าวกบิลพรหมทั้ง 7 ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหม แห่ไปรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที แล้วประดิษฐานตามเดิม ในแต่ละปีนางสงกรานต์ แต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์ ดังนี้ 1. ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม ทุงษะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกทับทิม อาภรณ์แก้วปัทมราช ภักษาหารอุทุมพร (ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จมาบนหลังครุฑ 2. ถ้าวันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม โคราคะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกปีบ อาภรณ์แก้วมุกดา ภักษาหารเตลัง (น้ำมัน) พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังพยัคฆ์ (เสือ) 3. ถ้าวันอังคารเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม รากษสเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมรา ภักษาหารโลหิต พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จมาบนหลังวราหะ (หมู) 4. ถ้าวันพุธเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มณฑาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเข็ม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังคัทรภะ (ลา) 5. ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิริณีเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงขอช้าง พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จมาบนหลังคชสาร (ช้าง) 6. ถ้าวันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จมาบนหลังมหิงสา (ควาย) 7. ถ้าวันเสาร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มโหธรเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา (นกยูง) สำหรับความเชื่อทางล้านนานั้นจะมีว่า 1. วันอาทิตย์ ชื่อ นางแพงศรี 2. วันจันทร์ ชื่อ นางมโนรา 3. วันอังคาร ชื่อ นางรากษสเทวี 4. วันพุธ ชื่อ นางมันทะ 5. วันพฤหัส ชื่อ นางัญญาเทพ 6. วันศุกร์ ชื่อ นางริญโท 7. วันเสาร์ ชื่อ นางสามาเทวี

วันปีใหม่

ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่ ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่ ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March) แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ไทย ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์ ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ 1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ 2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา 3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก 4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่ 1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ 2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร 3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง) ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์ ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้ ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ เกี่ยวกับ เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ พรปีใหม่ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 เมื่อเสด็จนิวัตพระนคร และประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่ แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง "พรปีใหม่" และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495 วิธีโหลด คลิกขวาตรงชื่อเพลงแล้วคลิก Save Target As.... รอสักครู่แล้วคลิก Save ดาวน์โหลดเพลง พรปีใหม่ โค้ด HTML: http://www.4shared.com/file/129015103/865614f2/09_-_.html เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์เพื่อปวงชนชาวไทย ทรงเป็นนักดนตรีที่เปี่ยมด้วยพระปรีชา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาสามารถในการทรง เดี่ยวดนตรีได้หลายชนิด เริ่มจากเมื่อครั้งทรงพระเยาว์ทรงสนพระราชหฤทัยเครื่องเป่าประเภทต่างๆ และต่อมาทรงเล่นได้เกือบทุกชนิด เช่น โซปราโนแซ็กโซโฟน (sopranosaxophone) อัลโตแซ็กโซโฟน(altosaxophone) เทเนอร์แซ็กโซโฟน(tenor saxophone) แบริโทนแซ็กโซโฟน(baritone saxophone) แคลริเน็ต(clarinet) และทรัมเป็ต(trumpet) นอกจากนี้ยังทรงกีตาร์และขลุ่ย และยังทรงเปียโนเพิ่มขึ้นภายหลังจากที่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว เพื่อทรงใช้ประกอบการพระราชนิพนธ์เพลง พระราชปฎิภาณในการทรงพระราชนิพนธ์เพลง พระราชอัจฉริยภาพในทางดนตรีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นในสายตาของนัก ดนตรีที่เชี่ยวชาญหลายๆท่านต่างให้ความเห็นตรงกันว่ามีพระราชอัจฉริยภาพสูง ยิ่ง เพราะทรงพระราชนิพนธ์ได้โดยฉับพลันเมื่อมีแรงบันดาลพระราชหฤทัย เช่น เพลงพระราชนิพนธ์ "พรปีใหม่" ซึ่งพระราชทานให้แก่พสกนิกร ในวันส่งท้ายปีเก่าระหว่าง พ.ศ. 2494-2495 พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง แล้วโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงเป่าแซ็กโซโฟน สลับช่วงกัน โดยที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงเป่าในช่วงที่ 1 และที่ 3 ส่วนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป่าในช่วงที่ 2 และที่ 4 สลับกันจนครบเพลงจากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงแต่งคำอวยพรลงในเพลงนั้น ทั้งทำนองและคำร้องเสร็จภายในครึ่งชั่วโมง บทเพลงพระราชนิพนธ์ซึ่ง พระราชทานแก่ประชาชาวไทย ได้บรรเลงขาบขานกันมายาวนานถึง 50 ปี นอกจากจะมีความ "ไพเราะ" อันโดดเด่นแล้ว ยังแฝงไว้ด้วยสาระและคติธรรมแห่งชีวิต ช่วยปลุกปลอบจิตใจมิให้ท้อถอยให้เห็น ว่าชีวิตเป็นสิ่งที่ต้องต่อสู้ด้วยบางครั้งก็ชั่นสูงหากบางครั้งก็ลงต่ำได้ เหมือนโน้ตดนตรี เพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นท่ามกลางพระราชภารกิจอันหนักหน่วงนานัปการจึงนับ เป็น "ของพระราชทาน " อันทรงคุณค่าซึ่งจะสถิตตราตรึงอยู่ในใจของประชาชนชาวไทย ชั่วนิรันดร์ เพลงพรปีใหม่ สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์ ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้ ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวั

วันปีใหม่

ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่ ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่ ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March) แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ไทย ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์ ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ 1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ 2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา 3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก 4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่ 1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ 2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร 3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง) ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์ ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้ ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ เกี่ยวกับ เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ พรปีใหม่ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 เมื่อเสด็จนิวัตพระนคร และประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่ แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง "พรปีใหม่" และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495 วิธีโหลด คลิกขวาตรงชื่อเพลงแล้วคลิก Save Target As.... รอสักครู่แล้วคลิก Save ดาวน์โหลดเพลง พรปีใหม่ โค้ด HTML: http://www.4shared.com/file/129015103/865614f2/09_-_.html เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์เพื่อปวงชนชาวไทย ทรงเป็นนักดนตรีที่เปี่ยมด้วยพระปรีชา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาสามารถในการทรง เดี่ยวดนตรีได้หลายชนิด เริ่มจากเมื่อครั้งทรงพระเยาว์ทรงสนพระราชหฤทัยเครื่องเป่าประเภทต่างๆ และต่อมาทรงเล่นได้เกือบทุกชนิด เช่น โซปราโนแซ็กโซโฟน (sopranosaxophone) อัลโตแซ็กโซโฟน(altosaxophone) เทเนอร์แซ็กโซโฟน(tenor saxophone) แบริโทนแซ็กโซโฟน(baritone saxophone) แคลริเน็ต(clarinet) และทรัมเป็ต(trumpet) นอกจากนี้ยังทรงกีตาร์และขลุ่ย และยังทรงเปียโนเพิ่มขึ้นภายหลังจากที่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว เพื่อทรงใช้ประกอบการพระราชนิพนธ์เพลง พระราชปฎิภาณในการทรงพระราชนิพนธ์เพลง พระราชอัจฉริยภาพในทางดนตรีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นในสายตาของนัก ดนตรีที่เชี่ยวชาญหลายๆท่านต่างให้ความเห็นตรงกันว่ามีพระราชอัจฉริยภาพสูง ยิ่ง เพราะทรงพระราชนิพนธ์ได้โดยฉับพลันเมื่อมีแรงบันดาลพระราชหฤทัย เช่น เพลงพระราชนิพนธ์ "พรปีใหม่" ซึ่งพระราชทานให้แก่พสกนิกร ในวันส่งท้ายปีเก่าระหว่าง พ.ศ. 2494-2495 พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง แล้วโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงเป่าแซ็กโซโฟน สลับช่วงกัน โดยที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงเป่าในช่วงที่ 1 และที่ 3 ส่วนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป่าในช่วงที่ 2 และที่ 4 สลับกันจนครบเพลงจากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงแต่งคำอวยพรลงในเพลงนั้น ทั้งทำนองและคำร้องเสร็จภายในครึ่งชั่วโมง บทเพลงพระราชนิพนธ์ซึ่ง พระราชทานแก่ประชาชาวไทย ได้บรรเลงขาบขานกันมายาวนานถึง 50 ปี นอกจากจะมีความ "ไพเราะ" อันโดดเด่นแล้ว ยังแฝงไว้ด้วยสาระและคติธรรมแห่งชีวิต ช่วยปลุกปลอบจิตใจมิให้ท้อถอยให้เห็น ว่าชีวิตเป็นสิ่งที่ต้องต่อสู้ด้วยบางครั้งก็ชั่นสูงหากบางครั้งก็ลงต่ำได้ เหมือนโน้ตดนตรี เพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นท่ามกลางพระราชภารกิจอันหนักหน่วงนานัปการจึงนับ เป็น "ของพระราชทาน " อันทรงคุณค่าซึ่งจะสถิตตราตรึงอยู่ในใจของประชาชนชาวไทย ชั่วนิรันดร์ เพลงพรปีใหม่ สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์ ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้ ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวั

ประวัติวันอาสาฬบูชา

ประวัติวันอาสาฬหบูชา หลังจากพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ พระพุทธองค์ทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ ทรงเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อยก็มี ที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุมากก็มี ที่มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี ที่มีอินทรีย์อ่อนก็มี ที่มีอาการดีก็มี ที่มีอาการทรามก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ยากก็มี อุปมาดั่งดอกบัวสี่เหล่า แล้วทรงพิจารณาหาบุคคลที่สมควร จะแสดงธรรมโปรดก่อนบุคคลแรก ทรงระลึกถึง อาฬารดาบสกาลามโคตร และ อุทกดาบสรามบุตร ที่พระองค์ได้เข้าไปศึกษาในชั้นแรก ก็ทราบว่าทั้งสองท่านทำกาละแล้ว จึงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ทั้งห้า ผู้เคยอุปัฏฐากพระองค์ ในระหว่างที่ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ทรงทราบด้วยพระญาณว่า ปัญจวัคคีย์พำนักอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี พระองค์จึงเสด็จไปยัง ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พระปัญจวัคคีย์ได้เห็นพระผู้มีพระภาค ทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยาเสด็จมาแต่ไกล แล้วได้นัดหมายกันและกันว่า พวกเราไม่พึงอภิวาท ไม่พึงลุกขึ้นต้อนรับพระองค์ ไม่พึงรับบาตรจีวรของพระองค์ แต่พึงวางอาสนะไว้ ถ้าพระองค์ปรารถนา ก็จักประทับนั่ง ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปถึงพระปัญจวัคคีย์ พระปัญจวัคคีย์นั้นไม่ตั้งอยู่ในกติกาของตน ต่างลุกขึ้นต้อนรับพระผู้มีพระภาค รูปหนึ่งรับบาตรจีวรของพระผู้มีพระภาค รูปหนึ่งปูอาสนะ รูปหนึ่งจัดหาน้ำล้างพระบาท รูปหนึ่งจัดตั้งตั่งรองพระบาท รูปหนึ่งนำกระเบื้องเช็ดพระบาท เข้าไปถวาย พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะ ที่พระปัญจวัคคีย์จัดถวาย พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า"ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว เราจะสั่งสอน จะแสดงธรรม พวกเธอปฏิบัติอยู่ตามที่เราสั่งสอนแล้ว ไม่ช้าสักเท่าไร จักทำให้แจ้งซึ่งคุณอันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่" แรกทีเดียวพระปัญจวัคคีย์ยังไม่เชื่อว่าพระพุทธองค์ทรงเป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ จึงค้านถึงสามครั้งว่า "แม้ด้วยจริยานั้น แม้ด้วยปฏิปทานั้น แม้ด้วยทุกกรกิริยานั้น พระองค์ก็ยังไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นพิเศษ อย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ก็บัดนี้พระองค์เป็นผู้มักมาก คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ไฉนจักบรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ ความเห็นพิเศษอย่างประเสริฐ อย่างสามารถได้เล่า" พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า"พวกเธอยังจำได้หรือว่า ถ้อยคำเช่นนี้ เราได้เคยพูดแล้วในปางก่อน แต่กาลนี้" พระปัญจวัคคีย์ จึงได้ยอมเชื่อฟังพระผู้มีพระภาค เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตเพื่อรู้ยิ่ง พระพุทธองค์ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ซึ่งเรียกว่าปฐมเทศนา เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า "ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ" เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อ ของท่านพระโกณฑัญญะ ท่านพระโกณฑัญญะได้บรรลุโสดาบัน กราบทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระพุทธองค์จึงทรงประทาน เอหิภิกขุอุปสัมปทา ว่า "เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด" นับเป็นพระสงฆ์ สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนั้นเป็นวันเพ็ญกลาง เดือนอาสาฬหะหรือเดือน ๘ เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบบริบูรณ์ ครั้นต่อมา พระผู้มีพระภาคได้ทรงประทานโอวาท สั่งสอนภิกษุทั้งหลายที่เหลือจากนั้น ด้วยธรรมีกถา เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาท สั่งสอนด้วยธรรมีกถาอยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระวัปปะ และท่านพระภัททิยะ และได้อุปสมบท วันต่อมา ท่านพระมหานามะและท่านพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และ ได้อุปสมบท ต่อมา พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลินภาษิตของผู้มีพระภาค เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์ พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์

ประวัติวันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา ต ร ง กั บ วั น แ ร ม ๑ ค่ำ เ ดื อ น ๘ "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้ โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา *** เพิ่มเติม *** "ผ้าจำนำพรรษา" คือผ้าที่ทายกถวายแก่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาครบแล้วในวัดนั้น ภายในเขตจีวรกาล เรียกอีกอย่างว่า "ผ้าวัสสาวาสิกสาฎิกา" "ผ้าอาบน้ำฝน" คือผ้าสำหรับอธิษฐานไว้ใช้นุ่งอาบน้ำฝนตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เรียกอีกอย่างว่า "ผ้าวัสสิกสาฏิกา" การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรม และความรู้ให้ และโดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด นับว่าเป็นประโยชน์ การปฏิบัติตน ในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ ที่สำคัญคือ มีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์อยู่ได้ตลอด 3 เดือน มีการประกวดเทียนพรรษา โดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ ทำบุญรักษาศีลและชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึง วันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้น อบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลาน ของตนโดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับ อานิสงส์อย่างสูง ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา เป็นประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษาซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ พระภิกษุจะต้องอยู่ประจำวัดตลอด ๓ เดือนมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้มีอยู่เป็นประจำ ทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษานี้ พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าเย็นและในการนี้จะต้องมีธูป เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็น การกุศลทานอย่างหนึ่งเพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว ตามชนบท การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้ว ก็จะมีการแห่แหน รอบพระอุโบสถ ๓ รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา ๓ เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่งมี การแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงามและถือว่าเป็นงานประจำปีทีเดียว ในวันนั้นจะมีการร่วมกันทำบุญตักบาตรถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการร่วมกุศลกันในหมู่ กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา ๑. ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา ๒. ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิษุสามเณร ๓. ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล ๔. อธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ

โรคเบาหวาน

Journalist access to expert database การดูแลรักษาโรคเบาหวานสำหรับทุกคน FFA Issue 28 Diabetes Care for Everyone 30 พฤศจิกายน 2549 องค์กรโรคเบาหวานสากล (IDF) ได้รณรงค์ ‘การดูแลรักษาโรคเบาหวานสำหรับทุกคน’ สำหรับปี 2549 นี้ เหตุผลหนึ่งสำหรับการรณรงค์ คือ มีผู้ป่วยหลายรายประสบกับภาวะโรคแทรกซ้อนสาเหตุจากโรคเบาหวานชนิดรุนแรงประเภทที่ 2 อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทั้งนี้เนื่องจากขาดการดูแลรักษา ซึ่งไม่เพียงแต่ขาดการดูแลรักษาในผู้ที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคเท่านั้น แต่ขาดการดูแลรักษาในผู้คนหลายคนที่ไม่ได้ปรึกษาแพทย์ด้วยเช่นกัน มีเหตุผลหลายประการที่ทำให้ไม่มีการดูแลรักษาเบาหวานประเภทที่ 2 สำหรับหลายๆ คนและผู้ที่มีความทนกลูโคสบกพร่อง (impaired glucose tolerance) ซึ่งเป็นอาการที่ไม่สามารถตรวจหาได้เนื่องจากไม่ปรากฏอาการภายนอก การขาดการดูแลรักษาเป็นหนึ่งในหลายปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานประเภทที่ 2 หนึ่งในขั้นตอนแรกที่มีความจำเป็นและมีความสำคัญเป็นอันดับแรกเพื่อระบุที่มาของปัญหา คือการเพิ่มความตระหนักให้กับสาธารณชนว่าวิธีการ ระยะเวลา และสาเหตุของการเข้ารับการบริการด้านสุขภาพเพื่อป้องกันและรักษาประเภทประเภทที่ 2 นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง ความเข้าใจของสาธารณชนที่ดีขึ้น สามารถช่วยให้บรรลุเป้าหมายการปรับปรุงการดูแลรักษาโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ให้ดีขึ้นด้วยวิธีการหลายๆ วิธี ตัวอย่างเช่น ความเข้าใจของสาธารณชนสามารถเพิ่มอัตราการตรวจหาและการวินิจฉัยในเบื้องต้น เพิ่มความสามารถและแรงจูงใจให้กับผู้ป่วยแต่ละรายในการเข้าถึงการดูแลรักษาทางการแพทย์และคำแนะนำที่เหมาะสม ตลอดจนการนำคำแนะนำจากแพทย์มาปฏิบัติและผลจากการปฏิบัติที่มีต่อภาวะโภชนาการและวิถีการดำรงชีวิต เพื่อป้องกันและการจัดการโรคเบาหวานประเภทที่ 2 เพื่อสนับสนุนการรณรงค์โดย IDF ดังนั้น AFIC กำลังเปิดตัวแหล่งข้อมูลใหม่สองแหล่ง ที่จัดทำไว้เพื่อเพิ่มความเข้าใจของโรคเบาหวานประเภทที่ 2 และสิ่งที่พวกเขาควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงโรคแทรกซ้อนที่สัมพันธ์กับเบาหวานประเภทที่ 2 บทความนี้อ้างอิงมาจากหนึ่งในแหล่งข้อมูลเหล่านี้ ได้แก่ แผ่นพับที่ได้ทบทวนและปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ‘สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับเบาหวานประเภทที่ 2’ โปรดอ่านเพื่อค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือติดต่อสำนักงาน AFIC ได้ที่ www.afic.org เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม เบาหวานประเภท 2 คืออะไร? โรคเบาหวานคือสภาพการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงในร่างกายและมีการเปลี่ยนแปลงของไขมันในเลือดที่ไม่ต้องการ เบาหวานประเภทที่ 2 เป็นประเภทของเบาหวานที่พบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยโรคเบาหวานประมาณ 85 ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ เป็นผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ปกติเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ แม้ว่าจะเกิดขึ้นในเด็กและวัยรุ่นไม่มากนักก็ตาม ผู้มีน้ำหนักตัวมากเกินก็สามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน มีปริมาณผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 มากเท่าไร? ประเทศอินเดียมีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานมากที่สุดในโลก (35.5 ล้านคน) ตามด้วยสาธารณรัฐประชาชนจีน อยู่ในลำดับที่สองด้วยผู้ป่วยโรคเบาหวาน 23.8 ล้านคน โดยในปี 2546 ประชากรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 39.3 ล้านคน คาดว่าป่วยด้วยโรคเบาหวาน ซึ่งเทียบเท่ากับ 5.6 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งหมด อาการของเบาหวานประเภทที่ 2 เป็นอย่างไร? เบาหวานประเภทที่ 2 พัฒนาขึ้นอย่างช้าๆ บางครั้งไม่ปรากฏอาการภายนอก ผู้ป่วย 1 ใน 3 รายที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานได้พัฒนาโรคแทรกซ้อนขึ้นแล้ว ในกรณีเช่นนี้ ผลที่เกิดขึ้นอาจไม่สามารถรักษาให้หายกลับเป็นปกติได้ อาการทางภายนอกที่พบบ่อยที่สุดของเบาหวานประเภทที่ 2 ได้แก่ การกระหายน้ำอย่างรุนแรง ปัสสาวะบ่อย หิว สูญเสียน้ำหนักโดยไม่ทราบสาเหตุ ไร้เรี่ยวแรง ตาพร่ามัว แผลหายช้า ปวดเสียวหรือสูญเสียความรู้สึกบริเวณมือหรือเท้า เกิดการติดเชื้อซ้ำที่ผิวหนัง เหงือก ช่องคลอด หรือระบบทางปัสสาวะ เราจะป้องกันหรือลดโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานประเภทที่ 2 ได้อย่างไร? เพื่อหลีกเลี่ยงโรคแทรกซ้อน สิ่งสำคัญได้แก่การตรวจหาเบาหวานให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินหรือโรคอ้วน และมีอายุเกิน 45 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจเพื่อหาเบาหวานอย่างง่ายๆ โดยแพทย์ ปีละหนึ่งครั้ง สำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 เป้าหมายสำคัญประการแรก คือ การควบคุมกลูโคส ไขมัน และความดันเลือดในกระแสเลือดให้ปกติดีอยู่เสมอ เพื่อให้การควบคุมกลูโคสในกระแสเลือดประสบผลสำเร็จ การทำสมาธิและการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิตจึงเป็นสิ่งจำเป็น วิถีการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ การวางแผนโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพและการออกกำลังกาย การหมั่นพบแพทย์อยู่เป็นประจำ ก็ช่วยในการตรวจหาโรคแทรกซ้อนที่อาจส่งผลต่อสุขภาพได้ทันท่วงทีอีกด้วยเช่นกัน ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ? มีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 พันธุกรรมมีบทบาทสำคัญต่อเบาหวานประเภทที่ 2 หากสมาชิกในครอบครัวหนึ่งคนหรือมากกว่าเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวานก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ผู้มีน้ำหนักตัวมากเกินและผู้เป็นโรคอ้วน: ผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 มากกว่า 8 ใน 10 ราย เป็นผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินหรือโรคอ้วนอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ไม่ออกกำลังกาย: เบาหวานประเภทที่ 2 โดยปกติเกิดขึ้นกับผู้เฉื่อยชามากกว่า การออกกำลังกายสามารถลดโอกาสการเกิดเบาหวานประเภทที่ 2 ได้ครึ่งหนึ่ง ผู้สูงอายุ: ผู้ป่วยจำนวน 1 ใน 5 ราย ที่มีอายุเกิน 65 ปี เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 เราจะป้องกันหรือชะลออาการของโรคเบาหวานได้อย่างไร? สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกิน ควรลดไขมันของร่างกายลง 7 – 10 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัวปัจจุบัน ลดโอกาสเกิดเบาหวานประเภทที่ 2 ครึ่งหนึ่ง ไขมันที่สะสมรอบๆ บริเวณท้อง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และโรคแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกัน ไขมันบริเวณช่องท้องสามารถวัดได้ด้วยการวัดเส้นรอบเอว กระทำได้โดยใช้สายวัดวัดที่บริเวณกึ่งกลางระหว่างกระดูกซี่โครงส่วนล่างและและส่วนบนของกระดูกรอบเอว เส้นรอบเอวที่น้อยกว่า 90 เซ็นตริเมตร สำหรับผู้ชายและน้อยกว่า 80 เซ็นตริเมตรสำหรับผู้หญิง บ่งชี้ถึงความเสี่ยงที่ต่ำ สำหรับผู้ที่มีไขมันช่องท้องมากกว่า ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนโดยตรงกับเส้นรอบวงที่เพิ่มขึ้น การใช้กล้ามเนื้ออยู่เสมอ เพิ่มความสามารถของกล้ามเนื้อในการดูดซึมและนำอินซูลินมาใช้ ทั้งสองกรณีจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นหรือเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 จึงแนะนำให้ทำการออกกำลังกายเต้นแอโรบิก ออกกำลังกายแบบใช้กล้ามเนื้อ และการออกกำลังแบบยืดหยุ่นผสมผสานกัน ข้อแนะนำการออกกำลังกาย การออกกำลังกายแบบแอโรบิค: แนะนำให้ทำอย่างน้อย 5 ครั้งต่อสัปดาห์ นานครั้งละ 30 นาทีโดยประมาณต่อวัน หากคุณต้องการลดน้ำหนัก การออกกำลังกายเพิ่มเติมก็จะเป็นประโยชน์ ปรึกษาแพทย์ของคุณก่อนเพิ่มระดับการออกกำลังกาย การออกกำลังกายแบบใช้กล้ามเนื้อ: การสะสมมวลกระดูก เป็นสิ่งที่ดีสำหรับผู้เป็นเบาหวาน ในการเผาผลาญแคลอรี่และเสริมความสามารถของร่างกายในการลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด การยกน้ำหนักเป็นตัวอย่างหนึ่งของการออกกำลังแบบใช้กล้ามเนื้อ การออกกำลังกายแบบยืดหยุ่น เช่น การยืดคลายกล้ามเนื้อ ช่วยให้ข้อต่อมีความยืดหยุ่นและลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บในระหว่างการออกกำลังกาย ข้อแนะนำการเพิ่มการออกกำลังกาย: จอดรถที่ลานจอดรถไกลสุด ตกแต่งสวนที่บ้าน มีส่วนร่วมทำกิจกรรมกับเด็กหรือลูกหลาน เดินขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟท์หรือบันไดเลื่อน ล้างรถ หยุดลงที่สถานีรถ ให้ห่างสองสามช่วงจากป้ายปกติ และเดิน ข้อแนะนำการเลือกรับประทานอาหาร กลยุทธ์เชิงโภชนาการที่สำคัญที่สุดสองประการเพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ได้แก่ การเลือกแหล่งอาหารที่มีเส้นใยสูง มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตและไขมันต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันชนิดอิ่มตัว เลือกธัญพืชที่เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่มีเส้นใยสูง และจำกัดการบริโภคคาร์โบไฮเดรตบริสุทธิ์สูง โดยธัญพืชที่มีคาร์โบไฮเดรตเส้นใยสูง จะเกิดการดูดซึมอย่างช้าๆ ซึ่งจำกัดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด และลดความต้องการของอินซูลิน ทางเลือกที่ดี ได้แก่ ข้าวแดง ข้าวไม่ขัดสี ข้าวโอ๊ต ขนมปังจากธัญพืช บะหมี่ปรุงกึ่งสุก เวอร์มิเซลลีจากถั่ว ถั่วหรือถั่วมีเปลือก เช่น ถั่วบัลเกอร์ (bulgur) เป็นต้น ใช้ไขมันไม่อิ่มตัวแทนที่จะใช้ไขมันอิ่มตัวและไขมันชนิดทรานส์ ไขมันไม่อิ่มตัว เป็นต้นว่า น้ำมันคาโนลา น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่ว น้ำมันดอกทานตะวัน หรือน้ำมันข้าวโพด ช่วยป้องกันโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ได้ น้ำมันมะพร้าว, น้ำมันปาล์มและน้ำมันเมล็ดปาล์มซึ่งมีระดับไขมันอิ่มตัวสูงกว่า และ และเนยเทียมชนิดแข็งหรือกึ่งเหลว เช่นเดียวกับน้ำมันหมู ซึ่งมีทั้งไขมันอิ่มตัว และไขมันชนิดทรานส์ ซึ่งอาจเร่งการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 และโรคแทรกซ้อน ข้อมูลทางการแพทย์ด้านเบาหวานจากมูลนิธิเบาหวานสากล (The Diabetes Atlas of the World Diabetes Foundation) ประเมินว่า ทั่วโลกมีประชากรวัยผู้ใหญ่เป็นโรคเบาหวานมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ และอีก 8 เปอร์เซ็นต์เป็นผู้ที่มีความทนกลูโคสบกพร่อง ซึ่งเป็นสภาพที่นำมาซึ่งโรคแทรกซ้อนหลายอาการจากเบาหวาน และในหลายๆ รายที่ไม่เข้ารับการตรวจจากแพทย์ ก็จะพัฒนาเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2

โรคธารลัสซีเมีย

โรคธาลัสซีเมีย การรักษาธาลัสซีเม ไขรหัสพันธุกรรมเลือด ทาลัสซีเมีย (Health&Cuisine) โรคธาลัสซีเมีย นี้เกิดจากความผิดปกติของรหัสพันธุกรรม หรือยีนที่มีหน้าที่สร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ฮีโมโกลบินนั้นประกอบไปด้วยกลุ่มโปรตีน 2 ชนิด คือ อัลฟ่าโกลบินซึ่งถูกกำหนดโดยโครโมโซมคู่ที่ 16 และเบต้าโกลบิล ที่ถูกกำหนดโดยโครโมโซมคู่ที่ 11 เมื่อใดที่เกิดความผิดปกติของยีนตัวใดตัวหนึ่งหรือคู่ใดคู่หนึ่ง ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติต่อการสร้างฮีโมโกลบิน ทั้งในแง่ปริมาณและลักษณะ เรียกว่าภาวะ ธาลัสซีเมีย ความผิดปกติที่ยีนตัวเดียว ทำให้เกิดภาวะแฝง โรคธาลัสซีเมีย หรือเป็นพาหะ แต่ถ้าเกิดความผิดปกติขึ้นกับยีนคู่ใดคู่หนึ่ง เรียกได้ว่าเป็น โรคโลหิตจาง ธาลัสซีเมีย ซึ่งแบ่งได้ 2 ชนิด ดังนี้ 1. อัลฟ่า ธาลัสซีเมีย คือผู้ที่ร่างกายสร้างอัลฟ่า โกลบิน โปรตีนลดน้อยลงกว่าปกติ ในเมืองไทยเองมีผู้เป็นพาหะชนิดนี้ 15-20 เปอร์เซ็นต์ ของคนทั้งประเทศ ผู้มีพาหะอัลฟ่า ธาลัสซีเมียจากการขาดหายไปของยีนอัลฟ่าเพียง 1 ตัวนั้นเรียกว่าอัลฟ่า ธาลัสซีเมีย-2 ซึ่งเป็นชนิดไม่แสดงอาการและไม่มีผลต่อสุขภาพใด ๆ การตรวจเลือดทั่วไปอาจหาค่าความผิดปกตินี้ไม่ได้ ต้องใช้วิธีตรวจ DNA เท่านั้น ส่วนผู้ที่มีพาหะอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการขาดหายไปของยีนอัลฟ่าถึง 2 ตัว จะทำให้มีขนาดเม็ดเลือดแดงเล็กลงและมีภาวะซีดเล็กน้อย แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เรียกว่าเป็น อัลฟ่า ธาลัสซีเมีย-1 ซึ่งมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ส่วนความเสี่ยงการส่งต่อโรคสู่รุ่นลูก เป็นดังนี้ 1) ทั้งพ่อและแม่เป็นพาหะอัลฟ่า ธาลัสซีเมีย -2 = ลูกเป็นโรค 100 เปอร์เซ็นต์ 2) พ่อเป็นพาหะอัลฟ่า ธาลัสซีเมีย -2 แต่แม่เป็นอัลฟ่า ธาลัสซีเมีย -1 = ลูกเสี่ยงเป็น โรคธาลัสซีเมีย 25 เปอร์เซ็นต์ มีโอกาสปกติ ไม่เป็น ธาลัสซีเมีย 25 เปอร์เซ็นต์ และเสี่ยงเป็นพาหะ ธาลัสซีเมีย แบบพ่อหรือแม่อย่างละ 25 เปอร์เซ็นต์ 3) ทั้งพ่อและแม่เป็นพาหะอัลฟ่า ธาลัสซีเมีย -1 = ลูกเสี่ยงเป็น โรคธาลัสซีเมีย ขั้นรุนแรง 25 เปอร์เซ็นต์ มีโอกาสปกติ ไม่เป็น ทาลัสซีเมีย 25 เปอร์เซ็นต์ และมีโอกาสเป็นพาหะ ธาลัสซีเมีย อีก 50 เปอร์เซ็นต์ 2. เบต้า ธาลัสซีเมีย คือคนที่ไม่สามารถสร้างสายเบต้าโกลบินได้เพียงพอ พบมากในชาวอิตาเลียน กรีซ ตะวันออกกลาง อิหร่าน ตะวันออกเฉียงใต้ของอัฟริกา และชาวจีนตอนใต้ ส่วนชาวไทยพบว่ามีตัวเลขอยู่ที่ 3-5 เปอร์เซ็นต์ เช่นกันกับอัลฟ่า ธาลัสซีเมีย เบต้า ธาลัสซีเมีย ไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อสุขภาพ เพียงแต่จะมีภาวะซีดเล็กน้อย รวมถึงการเข้าใจผิดว่าเป็นเลือดจางเพราะขาดธาตุเหล็ก เมื่อหญิงชายที่มีพาหะเบต้า ธาลัสซีเมีย มาแต่งงานกัน โอกาสที่ลูกจะป่วยเป็นโรคเบต้า ธาลัสซีเมีย มีถึง 25 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติของฮีโมโกลบินอีกชนิด เรียกว่า ฮีโมโกลบินอี ธาลัสซีเมีย ที่พบพาหะในทั่วทุกภาคของประเทศเมื่อผู้มีพาหะชนิดนี้แต่งงานกับผู้มีพาหะเบต้า ธาลัสซีเมีย ลูกที่เกิดมาจะมีโอกาสเป็นโรคเบต้า ธาลัสซีเมีย ฮีโมโกลบินอีขั้นรุนแรง ได้ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ รับมืออย่างไรเมื่อเป็นพาหะ โรคธาลัสซีเมีย สังเกตง่าย ๆ ว่าคุณมีแนวโน้มเป็นพาหะ ธาลัสซีเมีย หรือไม่ โดยดูจากผลตรวจเลือดของการตรวจร่างกายประจำปีถ้าแพทย์ระบุเพิ่มเติมว่ามีความผิดปกติของเม็ดเลือด ควรไปตรวจคัดกรองเพิ่มเติมเพื่อความมั่นใจตามโรงพยาบาลทั่วไป เมื่อทราบว่าคุณเป็นพาหะ โรคธาลัสซีเมีย ต้องทำความเข้าใจว่าคุณไม่ได้เป็นโรค แต่เป็นเพียงผู้ที่จะส่งผ่านโรคไปสู่ลูกหลานรุ่นต่อไป จึงไม่มีโอกาสป่วยและไม่กระทบต่อความสมบูรณ์ของร่างกายเลย ทั้งยังไม่จำเป็นต้องได้รับยาหรืออาหารเสริมแต่อย่างใด เพราะผู้ที่จะได้รับยาบำรุงเลือดที่เป็นธาตุเหล็กนั้น ต้องเป็นผู้ที่ถูกประเมินว่ามีภาวะขาดธาตุเหล็กร่วมด้วย ซึ่งตรวจได้โดยใช้วิธีวัดระดับเหล็กในร่างกาย หรือซีรั่มเฟอไรติน สิ่งเดียวที่ผู้เป็นพาหะ โรคธาลัสซีเมีย ทุกประเภทต้องใส่ใจ คือ การเลือกคู่ เพราะนั่นหมายถึงโอกาสเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคสู่รุ่นลูก ซึ่งเมื่อเกิด โรคธาลัสซีเมีย แล้วต้องประคับประคองอาการ หรือรักษาตลอดชีวิตด้วยการถ่ายเลือดเป็นประจำทุกเดือน พร้อมขับเหล็กอีกวันละกว่า 10 ชั่วโมง เฉพาะค่ายาและค่าเลือดก็ตกราว ๆ หลักหมื่นต่อเดือนไม่รวมค่ารักษาพยาบาลอื่น ส่วนอีกทางเลือกในการรักษา โรคธาลัสซีเมีย ที่ช่วยให้หายเร็วกว่า แต่ก็มีความเสี่ยงสูงและราคาแพงมาก คือ การเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก แต่ใช่ว่าผู้ป่วย โรคธาลัสซีเมีย ทุกรายจะรักษาด้วยวิธีนี้ได้ เพราะโอกาสที่จะหาไขกระดูกจากผู้บริจาค ได้ตรงกับของผู้ป่วยนับว่ายากมาก แต่ที่สำคัญคือกระบวนการรักษายังไม่ปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ โอกาสติดเชื้อหรือร่างกายไม่รับไขกระดูกใหม่ก็มีสูง ความเสี่ยงที่ผู้ป่วยและญาติ ๆ ต้องทำใจนั้นจึงหมายถึงชีวิตแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่มีข้อกำหนดสำหรับผู้ที่มีพาหะชนิดเดียวกัน ว่าห้ามแต่งงานมีลูกแต่อย่างใด แต่ควรวางแผนก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ด้วยการปรึกษาแพทย์ เพื่อหาความเสี่ยงการเกิดโรคในเด็ก ไม่ว่าจะด้วยการวินิจฉัยครรภ์อ่อนไม่เกิน 20 สัปดาห์ ด้วยการเจาะน้ำคร่ำหรือตัดชิ้นเนื้อจากรก เพื่อตรวจในห้องปฏิบัติการ หรือหากทารกในครรภ์เป็นโรคแล้ว ยิ่งต้องได้รับคำปรึกษาทางพันธุกรรมอย่างต่อเนื่อง อาหารต้าน โรคธาลัสซีเมีย อาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย โรคธาลัสซีเมีย คือ อาหารคุณภาพดีที่ให้โปรตีนสูง และผักใบเขียวที่มีโฟเลท ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือด ส่วนอาหารที่ผู้ป่วย โรคธาลัสซีเมีย ควรหลีกเลี่ยง คืออาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องในสัตว์ โดยเฉพาะตับและเลือด กุ้ง หอยแมลงภู่ หอยนางรม และสาหร่ายทะเล ที่มีธาตุเหล็กสูงกว่าเนื้อสัตว์ 3-8 เท่า แต่หากมีการรับประทานอาหารที่เหล็กสูงเข้าไป อาจดื่มเครื่องดื่มประเภทชาและนมถั่วเหลือง เพื่อไปช่วยลดการดูดซึมธาตุเหล็กได้ ที่สำคัญ ไม่ควรซื้อวิตามิน แร่ธาตุหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์

การฝึกโยคะ

ฝึกโยคะ โยคะสามารถฝึกได้ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ แต่สำหรับผู้ที่ไม่แน่ใจว่าตัวเองมีโรคหรือไม่ หรือว่าหากมีโรคประจำตัวควรจะปรึกษาแพทย์ การเริ่มต้นที่ดีจะทำให้การฝึกประสบผลสำเร็จ ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำสำหรับผู้ที่จะเริ่มฝึกโยคะ ปรึกษาแพทย์ ให้ท่านหอบหนังสือโยคะ และภาพท่าที่ท่านคิดจะฝึกให้แพทย์ดู เพื่อให้แพทย์พิจารณาว่าไม่ควรฝึกท่าใด คำแนะนำสำหรับท่านที่มีโรคความดันโลหิตสูง ต้อหิน ไม่ควรฝึกท่ายืนด้วยไหล่ ยืนด้วยมือหรือยืนด้วยศีรษะ เพราะจะทำให้เพิ่มความดัน เลือกสถานที่ฝึก การฝึกด้วยตัวเองหากไม่ระมัดระวังอาจจะเกิดบาดเจ็บแก่ผู้ฝึก หากมีผู้รู้ช่วยจะทำให้การฝึกได้ผลดี ครูฝึกควรจะเป็นผู้ที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์ ต้องประเมินตัวเอง ระหว่างการฝึกต้องคอยสังเกตว่ามีสิ่งผิดปกติ เช่นอาการปวดหรือยอกต่อข้อต่างหรือไม่ หากมีอาการก็ควรจะหยุดและปรึกษาแพทย์หรือผู้รู้ การฝึกที่บ้าน สำหรับท่านที่ยังไม่แข็งแรงท่านอาจจะซื้อหนังสือหรือวีดีโอฝึกก่อนเพื่อให้เกิดความคุ้นเคย และความแข็งแรงก่อนจะเข้าฝึกอย่างจริงจัง ในการฝึกอย่าฝึกคนเดียวควรจะมีเพื่อนร่วมด้วยเพื่อช่วยฝึกในบางท่า ข้อควรปฏิบัติสำหรับการฝึกโยคะ เตรียมอุปกรณ์สำหรับการฝึกให้พร้อม คลิกที่นี่ สถานที่ฝึกควรจะเงียบไม่มีเสียงรบกวน เสียงดังจะทำให้เกิดความเครียด สถานที่ควรจะสะอาด ไม่มีแมลงหรือสิ่งรบกวนอื่นๆ อากาศถ่ายเทสะดวก พื้นที่ฝึกควรจะเป็นพื้นเรียบ การเตรียมตัว ควรจะสวมเสื้อผ้าที่พอดีกับตัวไม่หลวมหรือคับเกินไป ไม่ควรจะรับประทานอาหารอิ่มก่อนฝึก หรือไม่ควรจะปล่อยให้หิวมากเกินไป ควรจะรับประทานอาหารอ่อนก่อนการฝึกสัก 1 ชั่วโมง และควรจะถ่ายให้เรียบร้อยก่อนการฝึก หากท่านมีโรคประจำตัวหรือมีอาการเวียนศีรษะบ่อยๆต้องแจ้งครูฝึก ขณะไม่สบายเช่นไข้หวัดก็ควรจะงดฝึก ขณะมีประจำเดือนให้หลีกเลี่ยงท่าที่ยืนด้วยไหล่ มือหรือศีรษะ ผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูงหรือต่ำควรจะหลีกเลี่ยงท่าที่ยืนด้วยไหล่ มือ ศีรษะ ท่าที่ต้องก้ม ในการฝึกให้เริ่มจากท่าง่ายๆก่อน และอาจจะต้องมีอุปกรณ์ช่วย ในการฝึกใหม่ๆให้ลืมตาเพื่อจัดท่าให้ถูกต้อง ไม่จำเป็นที่ต้องฝึกทุกท่าและไม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบกับผู้อื่น ในการฝึกใหม่ๆยังไม่ต้องกังวลเรื่องการหายใจ ให้จัดท่าให้ถูกต้องก่อน การหายใจให้หายใจทางจมูก ไม่ควรหายใจทางปาก ฝึกหายใจเข้าออกยาวๆลึกๆ ช้า การฝึกที่จะให้ผลดีคือ ต้องมีท่าที่ถูกต้อง การหายใจที่ถูกต้อง การฝึกจิตที่ถูกต้อง สิ้นสุดการฝึกด้วยท่านอนราบหรือที่เรียกว่าท่าศพ การฝึกโยคะให้ได้ผลดี จะต้องฝึกโยคะทุกวันโดยการฝึกท่าโยะคะ การหายใจ การผ่อนคลาย อาหารและการเข้าฌาณการฝึกทุกวันจะทำให้สุขภาพและจิตใจแข็งแรงขึ้น ต้องหมันฝึกโยคะกับครูฝึกโยคะ การฝึกถูกต้องจะทำให้การฝึกประสบผลสำเร็จ หาหนังสือเกี่ยวกับโยคะศึกษาโดยเฉพาะวิถี8 และควรจะนำมาปฏิบัติ นำวิถี 8 มาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน จะต้องรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ แต่บางท่านแนะนำให้รับประทานผัก การฝึกโยคะเพื่อความแข็งแรงของร่างกายและจิตใจไม่เกี่ยวกับศาสนา

การฝึกว่ายนำ้

ฝึกทักษะการว่ายน้ำเบื้องต้นอย่างง่าย ฝึกทักษะการว่ายน้ำเบื้องต้นอย่างง่ายครับ สำหรับคนที่ว่ายน้ำไม่เป็น ลองไปหัดดูนะครับ ถ้าเกิดน้ำท่วมใหญ่มา อย่างน้อยจะพอปะทัง เอาตัวรอดได้ ... ส่วนใหญ่ของสาเหตุของคนที่ไม่กล้าว่ายน้ำ .... - กลัวจม - กลัวหายใจไม่ออก - เกร็งและตื่นตระหนกขณะว่ายน้ำ - แม้กระทั่งมีความหลังฝังใจในการจมน้ำ ทั้งปัจจุบัน และ อดีตที่ผ่านมา ... ฉนั้นสำหรับใครที่อยากว่ายน้ำได้หรือแบบเอาแค่ตกน้ำแล้วเอาตัวรอดได้หละก็ทำตามขั้นตอนง่ายๆดังนี้ < ฝึกหายใจเข้าออกขณะอยู่ในน้ำ หรือ ภาษาว่ายน้ำเรียกว่า "ปั้มลม" > วิธีการง่ายๆเลย - ให้จับขอบสระไว้ทั้งสองมือในเอาริมที่ตื้นๆที่เรายืนได้ก่อน - หายใจเข้าเหนือผิวน้ำให้เต็มปอด - แล้วนั่งยองๆลงไปในน้ำ ปล่อยลมหายใจออกใต้น้ำ โดยให้ค่อยๆหายใจออก - เมื่อลมใกล้จะหมดก็ให้ขึ้นมาหายใจให้เต็มปอดอีกครั้ง - ทำสลับกันไปเรื่อยๆเป็นจังหวะช้าๆ เพื่อทำความคุ้นเคยกับการหายใจออกใต้ผิวน้ำ < ฝึกเหยียดตัวตรงตีเท้าในน้ำ > หลังจากที่เราฝึกปั้มน้ำจนชินแล้ว ก็เปลี่ยนจากท่าลุกนั่งไปเป็นเกาะขอบสระเหยียดตัวตรง - เริ่มด้วยท่าเดิมคือเกาะขอบสระฝั่งที่ตื้นๆไว้ก่อน - จากนั้นเมื่อพร้อมก็ให้หายใจเข้าแล้วเหยียดตัวตรงในท่าคว่ำหน้าลงไปในน้ำ โดยยังไม่ต้องตีขาก่อน - ค่อยๆหายใจออกเหมือนในท่าลุกนั่ง - เมื่อลมใกล้หมด ให้เงยหน้าขึ้นตรงๆแล้วหายใจเข้า เหมือนท่าเรานอนอ่านหนังสือนั่นแหละครับ - จากนั้นก็ทำสลับกันไปชนจินในจังหวะหายใจของเราแล้ว - เมื่อชินกับจังหวะหายใจด้วยท่าเหยียดตรงคว่ำหน้าแล้ว - ก็ให้เพิ่มการตีขาสลับซ้ายขวา ขึ้นลง ช้าๆร่วมเข้าไปกับการฝึกหายใจด้วยไป - ข้อควรระวังคือ ให้ตีขาสลับแบบช้าๆไปก่อนจนชินแล้วค่อยๆเพิ่มความเร็วกันไป อย่าเพิ่งไปตีขาเร็วๆ เพราะจำให้เราเสียจังหวะจนทำให้เราสำลักน้ำได้ < ฝึกลอยตัวในน้ำด้วยโฟม > หลังจากเราคุ้นเคยกับการหายใจด้วยการลุกนั่งกับยืดตัวที่ขอบสระแล้วก็ลองใช้โฟมกันดู - หาโฟมว่ายน้ำสักแผ่นเอาแบบที่เราจับเหมาะๆนะ - ทีนี้เราจะหันหน้าออกสระน้ำกันแล้ว เอาง่ายๆก่อนเลย - ถือโฟมแล้วเดินออกไปจากขอบสระประมาณ 5 เมตรก่อน แล้วหันหน้ากลับเข้าขอบสระ - ถือโฟมเหยียดแขนตรงเหมือนว่าเราจะตีเท้าที่ขอบสระแล้ว - จากนั้นก็เริ่มใช้ท่าเหยียดตรงนั้นแหละครับ มือถือโฟมเหยียดไปข้างหน้าพร้อมกับค่อยๆตีเท้าไปแบบไม่ช้าไม่เร็ว - เพราะถ้าช้าไปตัวอาจจะจมได้ และ ถ้าเร็วไปก็จะทำให้ตัวเราไม่นิ่งซึ่งอาจจะส่งผลให้ตกใจได้ - เมื่เริ่มตีเท้าจากจุด 5 เมตรแล้ว ให้ตีเท้าสลับเงยหน้าหายใจตามจังหวะของเราไปเรื่อยๆๆๆๆๆๆ - จนถึงขอบสระ ก็ถือว่าสำเร็จ เย้ๆๆๆ - ทำในระยะ 5 เมตรนี้ไปเรื่อยๆ จนชิน ก็ค่อยๆเพิ่มระยะไปเป็น 10 15 20 25 หรือตามแต่จะวางแผนกันไปครับ - ฝึกบ่อยบ่อยให้เชี่ยวชาญ ได้ท่าเดียวให้รอดก็พอแล้วครับ สมาชิก 39 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ปาฏิหาริย์ ในข้อความที่เขียนด้านบน sponsor links 03-08-2008, 12:08 PM #2 ปาฏิหาริย์ สมาชิก วันที่สมัคร: Jan 2006 ข้อความ: 1,293 Groans: 8 Groaned at 2 Times in 2 Posts ได้ให้อนุโมทนา: 9,783 ได้รับอนุโมทนา 15,647 ครั้ง ใน 1,258 โพส พลังการให้คะแนน: 494 ส่วนวิธีปฐมพยาบาล คนจมน้ำ ถ้าว่ายน้ำเป็นกันแล้ว ลองมาดูวิธีการปฐมพยาบาลคนจมน้ำบ้าง การจมน้ำ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยและมีความรุนแรง มักจะทำให้ตายในเวลาเพียงไม่กี่นาที มักเกิดกับ เด็กเล็ก และคนที่ว่ายน้ำไม่เป็น อาจเกิดจากอุบัติเหตุ (เช่น ตกน้ำ เรือคว่ำ เรือชน) เมาเหล้า โรคลมชัก โรคหัวใจวาย หรืออื่น ๆ คนที่จมน้ำมักจะตายเนื่องจากขาดอากาศหายใจ เพราะสำลักน้ำ บางคนอาจตายเนื่องจากภาวะ เกร็งของกล่องเสียง (laryngospasm) ทำให้หายใจไม่ได้ สาเหตุเหล่านี้มักจะทำให้คนที่จมน้ำ ตาย ภายใน 5-10 นาที คนที่จมน้ำถึงแม้จะรอดมาได้ในระยะแรก แต่ก็อาจ จะตายเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนในภายหลังได้ เช่น ปอดอักเสบ การเปลี่ยนแปลงของระดับเกลือแร่ในร่างกาย ภาวะเลือดเป็นกรด ภาวะปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) ภาวะปอดไม่ทำงาน (ปอดล้ม ปอดวาย) เป็นต้น ภาวะเหล่านี้มักเกิดขึ้นไม่ต่างกันมากนัก ทั้งในพวกที่จมน้ำจืด (แม่น้ำ ลำคลอง บ่อ สระน้ำ) และพวก ที่จมน้ำทะเล รวมทั้งอาการแสดงและการรักษาก็ไม่ต่างกันมาก ข้อแตกต่าง คือ น้ำจืดจะมีความเข้มข้นน้อยกว่า เลือด(พลาสมา) ดังนั้น ถ้ามีน้ำอยู่ในปอดจำนวนมาก ก็จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดทันที ทำให้ปริมาตรของเลือดที่ไหลเวียนเพิ่มจากเดิม (hypervolemia) มีผลทำให้ระดับเกลือแร่ (เช่น โซเดียม โพแทสเซียม) ในเลือดลดลง ซึ่งอาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจวายได้ นอกจากนี้ ยังอาจเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (hemolysis) ได้อีกด้วย ส่วนน้ำทะเลจะมีความเข้มข้นมากกว่าเลือด น้ำทะเลที่สำลักอยู่ในปอด จะดูดซึมน้ำเลือด (พลาสมา) จากกระแสเลือดเข้าไปในปอด ทำให้เกิดภาวะปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) ระบบไหลเวียนมี ปริมาตรลดลง (hypovolemia) และระดับเกลือแร่ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจวาย หรือเกิดภาวะช็อกได้ แต่อย่างไรก็ตาม คนที่จมน้ำมักตาย เนื่องจากขาดอากาศหายใจมากกว่า การเปลี่ยนแปลงของระดับ เกลือแร่ และปริมาตรของเลือด อาการ คนที่จมน้ำมักจะมีอาการหมดสติ และหยุดหายใจ บางคนหัวใจอาจหยุดเต้น (คลำชีพจรไม่ได้) ร่วมด้วย ถ้าไม่ถึงกับหมดสติ ก็อาจมีอาการปวดศรีษะ เจ็บหน้าอก อาเจียน กระวนกระวาย หรือ ไอมีฟองเลือดเรื่อ ๆ (ซึ่งแสดงว่ามีภาวะปอดบวมน้ำ) บางคนอาจตรวจพบภาวะหัวใจเต็นเร็วผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันเลือดต่ำ หรือภาวะช็อก การรักษา การปฐมพยาบาล การช่วยเหลือคนที่จมน้ำอย่างถูกต้องก่อนส่งไปโรงพยาบาล มีผลต่อความเป็นความตายของผู้ป่วย มาก ควรแนะนำวิธีปฐมพยาบาลดังนี้ 1. ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้ทำการเป่าปาก ช่วยหายใจทันที อย่ามัวเสียเวลาในการพยายามเอาน้ำออกจาก ปอดของผู้ป่วย (เช่น การจับแบก พาดบ่า) หรือทำการผายปอดด้วยวิธีอื่น เพราะจะไม่ทันกาลและไม่ได้ผล ถ้าเป็นไปได้ ควรลงมือเป่าปาก ตั้งแต่ก่อนขึ้นฝั่ง เช่น หลังจากพาขึ้นบนเรือ หรือพาเข้าที่ตื้น ๆ ได้ แล้ว เมื่อขึ้นบนฝั่งแล้ว ให้ทำการผายปอดด้วยการเป่าปากต่อไป จนกว่าผู้ป่วยจะหายใจได้เอง หรือพา ไปส่งถึงโรงพยาบาลแล้ว วิธีการเป่าปากโดยละเอียด ดูใน "โรคที่ 75 หมดสติ" เมื่อเริ่มเป่าปากสักพัก ถ้าหากรู้สึกว่าลมเข้าปอดได้ไม่เต็มที่เนื่องจากมีน้ำอยู่เต็มท้อง อาจจับผู้ป่วยนอนคว่ำ แล้วใช้มือ 2 ข้าง วางอยู่ใต้ท้องผู้ป่วย ยกท้องผู้ป่วยขึ้นจะช่วยไล่น้ำออกจากท้องให้ไหลออกทางปากได้ แล้วจับผู้ป่วยพลิกหงาย และทำการเป่าปากต่อไป 2. ถ้าคลำชีพจรไม่ได้ หรือหัวใจหยุดเต้น ให้ทำการนวดหัวใจทันที 3. ถ้าผู้ป่วยยังหายใจได้เอง หรือช่วยเหลือจนหายใจได้แล้ว ควรจับผู้ป่วยนอนตะแคงข้าง และศีรษะ หงายไปข้างหลัง เพื่อให้น้ำไหลออกทางปาก ใช้ผ้าห่มคลุมผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความอบอุ่น อย่าให้ ผู้ป่วยกินอาหารและดื่มน้ำทางปาก 4. ควรส่งผู้ป่วยที่จมน้ำไม่ว่าจะมีอาการหนักเบาเพียงใด ไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลทุกราย ในรายที่หมดสติและหยุดหายใจ ควรผายปอด ด้วยวิธีเป่าปากไปตลอดทาง อย่าเพิ่งรู้สึกหมดหวัง แล้วหยุดให้การช่วยเหลือ (เคยพบว่า การเป่าปากนานเป็นชั่วโมง ๆ สามารถช่วยให้ผู้ป่วยรอดและ หายขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าจมน้ำที่มีความเย็น อุณหภูมิต่ำกว่า 70 ํฟ. หรือ 21.1 ํ ซ.) การรักษา ควรรับผู้ป่วยไว้รักษาที่โรงพยาบาลทุกราย ไม่ว่าจะมีอาการหนักเบาเพียงใด เพื่อเฝ้าสังเกตอาการ และหาทางป้องกันและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ควรเจาะเลือดตรวจระดับแก๊สในเลือด และตรวจหาความเข้มข้นของเกลือแร่ เอกซเรย์ดูว่า มีการ อักเสบของปอด หรือปอดแฟบหรือไม่ หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ การรักษา ให้ออกซิเจน, ต่อเครื่องช่วยหายใจ ให้น้ำเกลือ พลาสมาหรือเลือด ถ้ามีภาวะหัวใจวายก็จะให้ยาขับปัสสาวะและ ยารักษาโรคหัวใจ (เช่น ลาน็อกซิน) ถ้ามีปอดอักเสบ จะให้ยาปฏิชีวนะ และสเตอรอยด์ ข้อแนะนำ 1. วิธีผายปอดแก่ผู้ป่วยจมน้ำที่แนะนำในปัจจุบัน คือ วิธีการเป่าปาก และให้ลงมือทำให้เร็วที่สุด อย่าเสียเวลาในการจับแบกพาดบ่าเพื่อเอาน้ำออกจากปอด ดังที่เคยแนะนำกันในสมัยก่อน ส่วนการผายปอดด้วยมือ เช่น วิธีของซิลเวสเตอร์ (Silvester method ) หรือวิธีของโฮลเกอร์นีลเซน (Holger Nielsen method) เป็นต้น ไม่แนะนำให้ทำ เพราะได้ผลน้อย 2. ผู้ป่วยที่จมน้ำทุกรายไม่ว่าจะหมดสติ หรือหยุดหายใจหรือไม่ก็ตาม ควรพักรักษาตัวใน โรงพยาบาลอย่างน้อย 24-72 ชั่วโมง เพื่อเฝ้าระวัง ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในเวลาต่อมา การป้องกัน ควรหาทางป้องกัน โดย 1. ระวังอย่าให้เด็กเล็กเล่นน้ำหรือเล่นในบริเวณ ใกล้กับน้ำตามลำพัง 2. ควรส่งเสริมให้เด็กฝึกว่ายน้ำให้เป็น 3. เวลาลงเรือหรือออกทะเล ควรเตรียมชูชีพไว้ให้พร้อมเสมอ 4. คนที่เมาเหล้า หรือเป็นโรคลมชัก ห้ามลงเล่นน้ำ ที่มา http://www.thailabonline.com/accident.html สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ปาฏิหาริย์ ในข้อความที่เขียนด้านบน 03-08-2008, 05:23 PM #3 sutatip_b สมาชิก วันที่สมัคร: Aug 2007 ข้อความ: 3,355 Groans: 3 Groaned at 30 Times in 26 Posts ได้ให้อนุโมทนา: 20,360 ได้รับอนุโมทนา 58,939 ครั้ง ใน 3,319 โพส พลังการให้คะแนน: 2986 อ้างอิง: ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ปาฏิหาริย์ ฝึกทักษะการว่ายน้ำเบื้องต้นอย่างง่ายครับ สำหรับคนที่ว่ายน้ำไม่เป็น ลองไปหัดดูนะครับ ถ้าเกิดน้ำท่วมใหญ่มา อย่างน้อยจะพอปะทัง เอาตัวรอดได้ ... ส่วนใหญ่ของสาเหตุของคนที่ไม่กล้าว่ายน้ำ .... - กลัวจม - กลัวหายใจไม่ออก - เกร็งและตื่นตระหนกขณะว่ายน้ำ - แม้กระทั่งมีความหลังฝังใจในการจมน้ำ ทั้งปัจจุบัน และ อดีตที่ผ่านมา ... ฉนั้นสำหรับใครที่อยากว่ายน้ำได้หรือแบบเอาแค่ตกน้ำแล้วเอาตัวรอดได้หละก็ทำตามขั้นตอนง่ายๆดังนี้ < ฝึกหายใจเข้าออกขณะอยู่ในน้ำ หรือ ภาษาว่ายน้ำเรียกว่า "ปั้มลม" > วิธีการง่ายๆเลย - ให้จับขอบสระไว้ทั้งสองมือในเอาริมที่ตื้นๆที่เรายืนได้ก่อน - หายใจเข้าเหนือผิวน้ำให้เต็มปอด - แล้วนั่งยองๆลงไปในน้ำ ปล่อยลมหายใจออกใต้น้ำ โดยให้ค่อยๆหายใจออก - เมื่อลมใกล้จะหมดก็ให้ขึ้นมาหายใจให้เต็มปอดอีกครั้ง - ทำสลับกันไปเรื่อยๆเป็นจังหวะช้าๆ เพื่อทำความคุ้นเคยกับการหายใจออกใต้ผิวน้ำ < ฝึกเหยียดตัวตรงตีเท้าในน้ำ > หลังจากที่เราฝึกปั้มน้ำจนชินแล้ว ก็เปลี่ยนจากท่าลุกนั่งไปเป็นเกาะขอบสระเหยียดตัวตรง - เริ่มด้วยท่าเดิมคือเกาะขอบสระฝั่งที่ตื้นๆไว้ก่อน - จากนั้นเมื่อพร้อมก็ให้หายใจเข้าแล้วเหยียดตัวตรงในท่าคว่ำหน้าลงไปในน้ำ โดยยังไม่ต้องตีขาก่อน - ค่อยๆหายใจออกเหมือนในท่าลุกนั่ง - เมื่อลมใกล้หมด ให้เงยหน้าขึ้นตรงๆแล้วหายใจเข้า เหมือนท่าเรานอนอ่านหนังสือนั่นแหละครับ - จากนั้นก็ทำสลับกันไปชนจินในจังหวะหายใจของเราแล้ว - เมื่อชินกับจังหวะหายใจด้วยท่าเหยียดตรงคว่ำหน้าแล้ว - ก็ให้เพิ่มการตีขาสลับซ้ายขวา ขึ้นลง ช้าๆร่วมเข้าไปกับการฝึกหายใจด้วยไป - ข้อควรระวังคือ ให้ตีขาสลับแบบช้าๆไปก่อนจนชินแล้วค่อยๆเพิ่มความเร็วกันไป อย่าเพิ่งไปตีขาเร็วๆ เพราะจำให้เราเสียจังหวะจนทำให้เราสำลักน้ำได้ < ฝึกลอยตัวในน้ำด้วยโฟม > หลังจากเราคุ้นเคยกับการหายใจด้วยการลุกนั่งกับยืดตัวที่ขอบสระแล้วก็ลองใช้โฟมกันดู - หาโฟมว่ายน้ำสักแผ่นเอาแบบที่เราจับเหมาะๆนะ - ทีนี้เราจะหันหน้าออกสระน้ำกันแล้ว เอาง่ายๆก่อนเลย - ถือโฟมแล้วเดินออกไปจากขอบสระประมาณ 5 เมตรก่อน แล้วหันหน้ากลับเข้าขอบสระ - ถือโฟมเหยียดแขนตรงเหมือนว่าเราจะตีเท้าที่ขอบสระแล้ว - จากนั้นก็เริ่มใช้ท่าเหยียดตรงนั้นแหละครับ มือถือโฟมเหยียดไปข้างหน้าพร้อมกับค่อยๆตีเท้าไปแบบไม่ช้าไม่เร็ว - เพราะถ้าช้าไปตัวอาจจะจมได้ และ ถ้าเร็วไปก็จะทำให้ตัวเราไม่นิ่งซึ่งอาจจะส่งผลให้ตกใจได้ - เมื่เริ่มตีเท้าจากจุด 5 เมตรแล้ว ให้ตีเท้าสลับเงยหน้าหายใจตามจังหวะของเราไปเรื่อยๆๆๆๆๆๆ - จนถึงขอบสระ ก็ถือว่าสำเร็จ เย้ๆๆๆ - ทำในระยะ 5 เมตรนี้ไปเรื่อยๆ จนชิน ก็ค่อยๆเพิ่มระยะไปเป็น 10 15 20 25 หรือตามแต่จะวางแผนกันไปครับ - ฝึกบ่อยบ่อยให้เชี่ยวชาญ ได้ท่าเดียวให้รอดก็พอแล้วครับ จัดฝึกจริงเลยไหมคะ จะได้เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์บุญหมายเลข ๒ __________________ สมาชิก 22 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ sutatip_b ในข้อความที่เขียนด้านบน 05-08-2008, 12:00 AM #4 ปาฏิหาริย์ สมาชิก วันที่สมัคร: Jan 2006 ข้อความ: 1,293 Groans: 8 Groaned at 2 Times in 2 Posts ได้ให้อนุโมทนา: 9,783 ได้รับอนุโมทนา 15,647 ครั้ง ใน 1,258 โพส พลังการให้คะแนน: 494 จัดตอนไป ตาฮิติ เมืองไทย อีกรอบ ดีไหมครับ อาจารย์ไก่ สมาชิก 15 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ปาฏิหาริย์ ในข้อความที่เขียนด้านบน 05-08-2008, 11:43 AM #5 monsodsai2 สมาชิก วันที่สมัคร: Oct 2006 ข้อความ: 116 Groans: 1 Groaned at 0 Times in 0 Posts ได้ให้อนุโมทนา: 5,662 ได้รับอนุโมทนา 2,152 ครั้ง ใน 127 โพส พลังการให้คะแนน: 131 อ้างอิง: ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ปาฏิหาริย์ จัดตอนไป ตาฮิติ เมืองไทย อีกรอบ ดีไหมครับ อาจารย์ไก่ เห็นด้วยค่ะ คราวนี้จะไม่ยอมให้พลาดเลย...หุ.หุ...จะเตรียมผ้าถุงไปตีโป่งด้วยนะเอย..นะเอย...อิ.อิ... __________________ " พุทโธ เมนาโถ พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของเรา ธัมโม เมนาโถ พระธรรมเป็นที่พึ่งของเรา สังโฆ เมนาโถ พระสงฆ์เป็นที่พึ่งของเรา " สมาชิก 15 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ monsodsai2 ในข้อความที่เขียนด้านบน 06-08-2008, 09:45 PM #6 เมทิกา สมาชิก วันที่สมัคร: Jun 2008 ข้อความ: 249 Groans: 18 Groaned at 1 Time in 1 Post ได้ให้อนุโมทนา: 3,739 ได้รับอนุโมทนา 2,208 ครั้ง ใน 249 โพส พลังการให้คะแนน: 78 อายจัง แต่ก็ว่ายน้ำไม่เป็นแหละ (ผลของการโดดเรียนว่ายน้ำตั้งแต่ตอนเป็นเด็ก) __________________ http://twitter.com/a_rai_wa_thalok ตามมาทวีตกันได้ สมาชิก 14 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เมทิกา ในข้อความที่เขียนด้านบน 07-08-2008, 06:02 AM #7 marine24 สมาชิก วันที่สมัคร: Aug 2005 อายุ: 51 ข้อความ: 2,182 Groans: 22 Groaned at 9 Times in 8 Posts ได้ให้อนุโมทนา: 19,738 ได้รับอนุโมทนา 21,361 ครั้ง ใน 1,715 โพส พลังการให้คะแนน: 1572 ตอนนี้ต้องเริ่มฝึกแล้วครับ เพราะแนวโน้มมีโอกาสเจอภัยทางน้ำ คนที่ว่ายน้ำไม่เป็นจะลำบากและเสี่ยงมาก แม้คนที่ว่ายน้ำเป็น ถ้าทิ้งไปนาน 2-3 ปี(ไม่เคยไปว่ายน้ำเลย) จะเหนื่อยมากไปว่ายแค่ 30 - 50 เมตร เพราะการว่ายน้ำจะใช้กำลังจากแขน 70 % (ผมเอง ไปว่ายน้ำที่ระยอง หอบแหกๆเลย) สมาชิก 15 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ marine24 ในข้อความที่เขียนด้านบน 07-08-2008, 08:18 AM #8 ปาฏิหาริย์ สมาชิก วันที่สมัคร: Jan 2006 ข้อความ: 1,293 Groans: 8 Groaned at 2 Times in 2 Posts ได้ให้อนุโมทนา: 9,783 ได้รับอนุโมทนา 15,647 ครั้ง ใน 1,258 โพส พลังการให้คะแนน: 494 งานนี้ต้องพี่มารีน มาช่วยแนะนำน้องน้องกันแล้ว อ้างอิง: ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ marine24 ตอนนี้ต้องเริ่มฝึกแล้วครับ เพราะแนวโน้มมีโอกาสเจอภัยทางน้ำ คนที่ว่ายน้ำไม่เป็นจะลำบากและเสี่ยงมาก แม้คนที่ว่ายน้ำเป็น ถ้าทิ้งไปนาน 2-3 ปี(ไม่เคยไปว่ายน้ำเลย) จะเหนื่อยมากไปว่ายแค่ 30 - 50 เมตร เพราะการว่ายน้ำจะใช้กำลังจากแขน 70 % (ผมเอง ไปว่ายน้ำที่ระยอง หอบแหกๆเลย) สมาชิก 12 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ปาฏิหาริย์ ในข้อความที่เขียนด้านบน 08-08-2008, 01:25 AM #9 ชนินทร พลังจิตนานาชาติ วันที่สมัคร: Oct 2007 ข้อความ: 1,914 Groans: 6 Groaned at 3 Times in 3 Posts ได้ให้อนุโมทนา: 12,294 ได้รับอนุโมทนา 22,176 ครั้ง ใน 1,608 โพส พลังการให้คะแนน: 715 แล้วสำหรับคนที่ว่ายน้ำเป็น... แต่ลงน้ำทีไร... ขาเป็นตะคริวทุกที (ทั้งๆ ที่เล่นกีฬาอย่างอื่นเป็นปกตินะคะ)... ควรทำอย่างไรดีค่ะ... ขอบพระคุณค่ะ... __________________ "บุญกุศลและความดีทั้งหลายที่ข้าพเจ้าและสมาชิกพลังจิตพิชิตภัยพิบัติได้สร้างได้บำเพ็ญมานับแต่อดีต ปัจจุบัน และจะบำเพ็ญต่อไปในอนาคต ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายแทบพระบาทองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็นพระมหาธรรมมิกราชามหาโพธิสัตว์ผู้ทรงเปี่ยมล้นไปด้วยพระคุณอันประเสริฐ อีกทั้งองค์สมเด็จพระสังฆราช ผู้ทรงเป็นองค์พระประมุขแห่งพุทธศาสนจักร ขออำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนไตรและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วสากลจักรวาล ได้โปรดอภิบาลทั้งสองพระองค์ท่านให้ทรงพระเกษมสำราญมีพระพลานามัยที่แข็งแรง ทรงพระชนมายุยิ่งยืนนาน แผ่พระบารมีปกเกล้าชาวไทยตลอดไปด้วยเทอญ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ" สมาชิก 10 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชนินทร ในข้อความที่เขียนด้านบน 08-08-2008, 11:09 AM #10 ปาฏิหาริย์ สมาชิก วันที่สมัคร: Jan 2006 ข้อความ: 1,293 Groans: 8 Groaned at 2 Times in 2 Posts ได้ให้อนุโมทนา: 9,783 ได้รับอนุโมทนา 15,647 ครั้ง ใน 1,258 โพส พลังการให้คะแนน: 494 ตะคริว เป็นอาการหดตัวของกร้ามเนื้ออย่างรวดเร็ว มักเกิดที่น่องและต้นขา เมื่อคลำ ที่กล้ามเนื้อบริเวณที่บวดจะรู้สึกเป็นก้อนแข็งแต่จะบรรเทาปวดลงเมื่อเหยียดขาและนวดเบา ๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว หรือทำให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณนั้นดีขึ้น ตะคริวเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น คุณอาจออกกำลังกายมากเกินไป โดยที่กล้ามเนื้อ ไม่เคยได้รับการฝึกฝนมาก่อนหรือเกิดจากการไหลเวียนของหลอดเลือดไม่สะดวก เนื่องจากท่านั่ง หรือยืนที่ทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก หรือในผู้สูงอายุที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว นอกจากนี้ยามอาการเย็นก็อาจทำให้เป็นตะคริวได้ และในรายที่ขาดแคลเซียมต่ำใน เลือดหรือร่างกายที่มีการสูญเสียเกลือแร่ในร่างกายอย่างมากในขณะท้องเสีย อาเจียน หรือเหงื่อออกมาก ๆ เมื่อคุณเป็นตะคริว คุณจะรู้สึกเจ็บปวดบริเวณกล้ามเนื้ออย่างมาก การปฐมพยาบาลจะช่วย บรรเทาลงได้... ถ้าเป็นตะคริวที่น่อง ..ให้เหยียดขาข้างที่เป็นตะคริวให้ตรง ใช้มือข้าวหนึ่งยกประคองส้นเท้าและ ใช้มืออีกข้างค่อย ๆ ดันปลายเท้าขึ้นลงให้เต็มที่อย่างช้า ๆ ประมาณ 5 นาที แล้วนวดเบา ๆ ที่น่อง หรืออาจทา ครีมหรือน้ำมันเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในบริเวณนั้นไม่ควรนวดแรง ๆ เนื่องจากอาจทำให้ กล้ามเนื้อเจ็บได้และอาจเป็นตะคริวซ้ำได้อีก ถ้าเป็นตะคริวที่ต้นขา.. ให้เหยียดขาข้างที่เป็นตะคริวให้ตรง ใช้มือข้างหนึ่งยกประคองส้นเท้า อีกข้างหนึ่งกดลงบนหัวเข่าจากนั้นค่อย ๆ นวดบริเวณที่เป็นตะคริวเบา ๆ ถ้าเป็นตะคริวที่นิ้วเท้า.. ให้เหยียดนิ้วเท้าให้ตรง และลุกขึ้นยืนเข่ยงเท้า จากนั้นค่อย ๆ นวดบริเวณ นิ้วเท้าเบา ๆ ถ้าเป็นตะคริวที่นิ้วมือ.. ให้เหยียดนิ้วมือออกและค่อย ๆ นวด บริเวณนิ้วมือเบา ๆ สำหรับคนที่เป็นตะคริวบ่อย ๆ ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เวลานอนให้ยกขาสูง โดยใช้หมอนรองขา แต่ถ้าเป็น ๆ หาย ๆ บ่อยครั้งควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุแห่งการ ผิดปกติในระบบไหลเวียนของเลือดครับ

การฝึกอบรม

เทคนิคการฝึกอบรม (นงลักษณ์ สินสืบผล 2532 : 58-59) การฝึกอบรมมีความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากร องค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยให้การจัดฝึกอบรมบรรลุผลก็คือ การเลือกเทคนิคการฝึกอบรมอย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งนี้เพราะเทคนิคการฝึกอบรมจะมีส่วนช่วยให้เกิดการเรียนรู้หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามที่ต้องการ เทคนิคการฝึกอบรม (Training Technique) หมายถึง วิธีการที่ใช้ในการสื่อสาร หรือถ่ายทอดความรู้ ความคิดเห็น ข้อเท็จจริง ประสบการณ์ หรือข้อมูลต่าง ๆ ระหว่างผู้ให้การอบรมและผู้เข้ารับการอบรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามที่ได้กำหนดไว้ (น้อย ศิริโชติ 2524 : 70) ข้อควรคำนึงในการเลือกใช้เทคนิคการฝึกอบรม (สมพงษ์ เกษมสิน 2526 : 193-194) 1. พิจารณาถึงความเหมาะสมของเทคนิคที่จะนำมาใช้ คือ ต้องเหมาะสมกับลักษณะของหัวข้อวิชาและสอดคล้องกับความต้องการ ของการพัฒนานั้น ๆ 2. พิจารณาถึงขนาดของกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรม ว่ามีมากน้อยเพียงใด ลักษณะของการฝึกอบรมนั้นเป็นประการใด ควรจะแบ่งกลุ่มย่อยหรือไม่ กลุ่มละเท่าใด แล้วเลือกใช้เทคนิคการฝึกอบรมให้เหมาะสม 3. พิจารณษถึงลักษณะของกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรมว่า มีพื้นฐานความรู้มากน้อยเพียงใด 4. พิจารณาถึงความสามารถ ความคุ้นเคย ต่อเทคนิคการฝึกอบรมที่จะนำไปใช้ว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมคุ้นเคยต่อวิธีการนั้น ๆ หรือไม่ 5. พิจารณาถึงเวลาและอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ว่ามีเพียงพอหรือไม่ 6. พิจารณาถึงงบประมาณที่มีอยู่ 7. พิจารณาและประเมินค่าเกี่ยวกับทัศนคติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมว่าเป้นอย่างไร เทคนิคการฝึกอบรม จำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ 1. ประเภทการบรรยายและอภิปรายโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เทคนิคการฝึกอบรมประเภทนี้ได้แก่ การบรรยายหรือปาฐกถา (Lecture or Speech) การบรรยายเป็นชุด (Symposium) การอภิปรายเป็นคณะ (Panel Discussion) เป็นต้น 2. ประเถทให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีบทบาทร่วม เช่น การสัมมนา (Seminar) การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) การประชุม (Syndicate Method) การระดมความคิด (Brainstorming) การแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) การประชุมถกเถียง (Buzz Session) การศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study) การให้เวลาซักถาม (Question Period) การสัมภาษณ์ (Interview) การสาธิต (Demonstration) การประชุมเชิงปฎิบัติการ (Workshop) การทัศนศึกษา (Field Trip) เป็นต้น 3. ประเภทพัฒนาฌฉพาะตัวบุคคล ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถปรับให้เข้ากับระดับความสมารถในการเรียนรู้และความสะดวกของตนได้ เช่น การสอนแบบสำเร็จรูป (Programmed Instruction) การสอนแนะ (Coaching) 4. ประเภทใช้สื่อในการฝึกอบรม เช่น การใช้สไลด์ประกอบเสียง (Slide/Tape Presentation) การใช้ภาพยนตร์ประกอบ (Instructional Film) <-- Back เทคนิคการฝึกอบรม (ประเภทบรรยาย) การบรรยาย (Lecture) คือ การที่ผู้สอน 2 คน ต่อผู้ฟังจำนวนมาก ซึ่งอาจเป็นการบรรยายแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือเปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถามหรือแสดงความคิดเห็น เรียกว่าการบรรยายกึ่งอภิปราย ข้อดี บรรยายได้กับคนจำนวนมาก ต้นทุนน้อย สมารถขยายหรือรวบรัดได้ตามความต้องการ ข้อเสีย เป็นการสื่อสารทางเดียว ผู้ฟังอาจเข้าใจดีแต่เอาไปปฏิบัติไม่ได้ ผู้พูดอาจพูดมากไป พูดไม่เก่ง พูดซ้ำซาก พูดช้า หรือเร็วเกินไป การประชุมกลุ่ม (Conference) เป็นการร่วมแสดงความคิดเห็นระหว่างสมาชิกผู้เข้าร่วมประชุมเพียงรวบรวมรับฟังควมคิดเห็นจากที่ประชุม ทำให้ผู้เข้ารับการฝึกมีส่วนร่วมในการแสดงอกมากว่ารับฟังอย่างเดียว ข้อดี ผู้เข้ารับการฝึกได้แสดงความคิดเห็น ถามปัญหาได้ รู้จักรับฟังผู้อื่น ข้อเสีย ใช้กับคนจำนวนมาก ๆ ไม่ได้ และเสียเวลามาก การศึกษากรณีตัวอย่าง (Case Study) เป็นการอบรมโดยใช้ตัวอย่างจากปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในอดีต พร้อมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง มาให้ผู้รับการฝึกวิเคราะห์และหาทางแก้ปัญหาและเสนอความคิดเห็น ซึ่งมักจะใช้กับผู้เข้ารับการฝึกในระดับหันหน้างาน หรือระดับบริหาร ข้อดี ทำให้ผู้รับการฝึกได้เรียนรู้ และวิเคราะห์ปัญหาจากข้อมูลจากผู้มีประสบการณ์ และ ความรู้สูง ข้อเสีย ต้องเสียเวลามาก การแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) วิธีนี้จะใช้ควบกับวิธีอื่น ๆ ลักษณะคล้ายแต่ให้ผู้เข้ารับการฝึก เข้าร่วมแสดงบทบาทให้เห็นจริง บางครั้งอาจกำหนดบทบาทให้ล่วงหน้า บางครั้งอาจไม่กำหนดให้โดยให้ผู้แสดงตัดสินใจเองให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ข้อดี ช่วยให้นำความรู้จากการบรรยายหรืออภิปราย มาใช้จริง ๆ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ด้วยการ กระทำซึ่งจะช่วยให้เกิดความสนุกสนานกับสถานการณ์ ข้อเสีย ต้องมีการเตรียมตัว เตรียมอุปกรณ์มาก ทำให้ยุ่งยากเสียเวลา การสาธิต (Demonstration) เป็นแนวความคิดที่ ว่าการเห็นของจริง ทำให้เกิดความเชื่อ ความเข้าใจ มากกว่าการคิด และงานบางอย่าง ไม่สามารถใช้วิธีอื่นได้นอกจากการสาธิตให้เห็น เช่น การควบคุมเครื่องจักร การประกอบ การติดตั้ง ฯลฯ ซึ่งจะมีการอธิบายประกอบไปด้วย ข้อดี ได้ใช้ทั้งการสัมผัสด้วยมือ และเห็นด้วยตา ทำให้ได้ความรู้และเกิดความเข้าใจได้เร็ว จำและเข้าใจได้ดีกว่า มักใช้ในการสอนงาน ข้อเสีย ต้องใช้สถานที่ที่ทำการสาธิต ซึ่งทำให้ยุ่งยากและเสียเวลา นอกจากนี้ยังมีวิธีการอื่น ๆ อีกหลายประการ เช่น การหมุนเวียนงาน การระดมสมอง การเล่นเกมทางการบริหาร เป็นต้น ซึ่งจะใช้วิธีใดขึ้นกับความต้องการ และความเหมาะสมหลายประการ เช่น สถานที่ อุปกรณ์ จำนวนผู้เข้ารับการฝึก ความสามรถของวิทยากร ฯลฯ <-- Back ระบบการฝึกอบรม ความหมายของระบบ ระบบหมายถึง กระบวนการสังเคราะห์และเชื่อมโยงองค์ประกอบของกระบวนการ โดยมีกรอบแนวคิดที่ทำให้มั่นใจได้ว่ากระบวนการ จะมีความต่อเนื่อง ดำเนินตามขั้น และก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ การออกแบบระบบการใช้เทคโนโลยีในการฝึกอบรม การผลิตสื่อในการฝึกอบรมอย่างเป็นระบบย่อมรับประกันคุณภาพของผลงาน และกระบวนการทำงาน ไม่ว่าจะผลิตสื่อในการ ฝึกอบรม ประเภทใด เราสามารถใช้ขั้นตอนของการออกแบบระบบทั้ง 5 ขั้น เป็นหลักในการดำเนินการผลิตได้ ขั้นตอนการผลิตสื่อในการฝึกอบรมเปรียบเทียบกับขั้นตอนของการออกแบบระบบ ขั้นตอนการออกแบบระบบ ขั้นตอนการผลิตสื่อในการฝึกอบรม ตัวอย่างผลงาน/ข้อมูล 1. การวิเคราะห์ วิเคราะห์ความต้องการจำเป็น เกี่ยวกับสื่อในการฝึกอบรม วิเคราะห์ผู้เข้าฝึกอบรม , เนื้อหาวิชา , งาน ปัญหา ความต้องการ สื่อในการฝึกอบรมที่มีอยู่ รายละเอียดของผู้เข้าฝึกอบรม ลักษณะเนื้อหา 2. การออกแบบ กำหนดวัตถุประสงค์ วางแผนการผลิต วางแผนการใช้สื่อในการฝึกอบรม วัตถุประสงค์ของการผลิต ขั้นตอนการผลิต ขั้นตอนการใช้ รายละเอียดของสื่อในการฝึกอบรม 3. การพัฒนา ดำเนินการผลิตตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ สื่อในการฝึกอบรม 4. การนำไปใช้ ทดลองใช้ การใช้สื่อในการฝึกอบรมในสภาพการจริง ผลการทดลองใช้ ผลการใช้จริง 5. การประเมินผล ประเมินผลความก้าวหน้า ประเมินผลรวมสรุป ข้อมูลเพื่อการปรับปรุงพัฒนาต่อไป <-- Back ตัวอย่าง การออกแบบการใช้เทคโนโลยีในการฝึกอบรม : กรณีการผลิตสไลด์-เทป เพื่อใช้ในการฝึกอบรมพนักงานธนาคาร ขั้นที่ 1 การกำหนดวัตถุประสงค์ การกำหนดวัตถุประสงค์ คือ การกำหนดว่าผู้ชมจะรู้หรือสามารถทำอะไรได้หลังจากชมสไลด์-เทปจบ แล้ว ซึ่งควรเขียนวัตถุประสงค์จุดท้าย (Terinal Objectives) และวัตถุประสงค์ย่อย (Enabling Objectives) การผลิตสไลด์-เทป นั้น การกำหนดวัตถุประสงค์ควรเริ่มจากวัตถุประสงค์ทั่วไปก่อน (General Objectives) เพื่อช่วยให้เห็นภาพทั้งหมดก่อนที่จะวิเคราะห์วัตถุประสงค์ย่อย ๆ ต่อไป เช่น การนำเสนอเรื่อง หลักปฏิบัติด้านเงินโอนต่าง ๆ วัตถุประสงค์ทั่วไป คือ "ให้สามารถช่วยโอนเงินได้" หรือถ้าให้แคบกว่านี้ เช่น "เพื่อให้พนักงานธนาคารมีความรู้เกี่ยวกับ วิธีการโอนเงินภายในประเทศ ที่ Low counter ทั้ง 6 วิธี " การกำหนดเช่นนี้ช่วยให้ผู้ผลิตทราบว่า หลังจากจบสไลด์-เทป ผู้ดูต้องรู้ว่าการโอนเงินที่ถูกวิธีทำอย่างไร แต่จะรู้ในรายละเอียด รู้ขนาดไหน เป็นสิ่งที่ผู้ผลิตจะต้องกำหนดในขั้นต่อไป ผู้ผลิตสไลด์-เทป ต้องระลึกไว้เสมอว่า เรื่องจะนำเสนอนั้นต้องจบภายในกี่นาที โดยทั่วไปแล้วเราควรนำเสนอโดยใช้เวลาให้น้อยที่สุด หากเป็นการนำเสนอเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ไม่ซับซ้อนก็ควรใช้เวลาตั้งแต่ 3 - 8 นาที หากเป็นเรื่องยากซับซ้อนก็ใช้เวลาให้มากกว่า 30 นาที ถ้าเป็นไปได้อย่าให้เกิน 20 นาที ในช่วงเวลาสั้น ๆ นี้ผู้ผลิตคงนำเสนอประเด็นสาระสำคัญมากนักไม่ได้ แต่ในการกำหนดวัตถุประสงค์ มักพบว่ามีผู้ผลิตจะกำหนดไว้กว้างมาก ดังนั้น เมื่อวัตถุประสงค์กว้าง เนื้อหาที่นำเสนอจึงทั้งกว้างและมากตามไปด้วยทั้งนี้ผู้ผลิตมักเป็นผู้กำหนดปริมาณ และขอบเขตของเนื้อหาตามความเข้าใจ หรือ ความสนใจของตนเอง อยากให้เนื้อหาแก่ผู้ชมมาก ๆ ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์ผู้ชม ขั้นเป็นการศึกษาคุณลักษณะ คุณสมบัติของผู้ชม พิจารณาความต้องการ ความสามารถ ข้อจำกัดทั้งทางด้านกายภาพ และจิตภาพ ความรู้เดิมเกี่ยวกับเนื้อหาที่กำหนด ความแตกต่างของผู้ชม ด้านอายุ ภูมิหลัง เชาว์ปัญญา พัฒนาการทางความคิด ประสบการณ์เดิม สิ่งเหล่านี้ ผู้ออกแบบ จึงควรกำหนดระดับผู้ชมไว้ 3 ระดับ คือ กลุ่มสูง กลุ่มกลาง และกลุ่มต่ำ ในแต่ละกลุ่ม ควรศึกษาหาข้อมูลประกอบอีก เช่น อายุ ระดับการศึกษา ความสามารถในการอ่าน ระดับความสนใจ ความรู้หรือทักษะที่ควรมีก่อนชมสไลด์-เทป ตัวอย่างการวิเคราะห์ผู้ชม วัตถุประสงค์ทั่วไป : ให้ทราบวิธีโอนเงินภายในประเทศที่ Low counter เรื่องที่จะนำเสนอ : วิธีโอนเงินด้วยระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ลักษณะของผู้ชม : พนักงานธนาคาร ผู้ชม กลุ่มชม กลุ่มกลาง กลุ่มต่ำ 1. อายุ (เฉลี่ย) 42 38 50 2. ระดับการศึกษา ปริญญาโท ปริญญาตรี ปริญญาตรี 3. ความรู้เกี่ยวกับงานธนาคาร สูง ปานกลาง ต่ำ 4. สถิติการให้บริการที่ Low counter 59.98% 21.97% 45.93% 5. ความสามารถในการอ่าน สูง สูง ปานกลาง 6. ประสบการณ์ด้านงานธนาคาร สูง ปานกลาง ไม่มี 7. ระดับความสนใจ ไม่มี ไม่มี ไม่มี 8. ประสบการณ์เดิม สูง ปานกลาง สูง 9. ค่านิยม ขั้นที่ 3 การสำรวจทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง ทรัพยากรในที่นี้ หมายถึง ทุกสิ่งที่ใช้ในการพัฒนาสไลด์-เทป แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบ และพัฒนาและด้านการผลิต วิธีการที่จะให้ได้มาซึ่งทรัพยากรก็ขึ้นอยู่กับวิธีการของแต่ละคน ไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน ไม่มีข้อกำหนดวา่จะต้องอย่างไร ถ้าไม่มีเตรียมสิ่งเหล่านี้ไว้ก่อนล่วงหน้า ข้อเสียคือจะทำให้เสียเวลาในการพัฒนาสไลด์-เทป ทรัพยากรด้านเนื้อหา เช่น หนังสือ ตำรา ที่ว่าด้วยเนื้อหาของเรื่องที่จะนำเสนอ สไลด์ ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ที่มีการนำเสนอทำนองเดียวกัน นอกจากนี้ทรัพยากรเนื้อหาที่สำคัญที่จะมองข้ามไม่ได้เลยก็คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ที่สามารถขอคำแนะนำหรือปรึกษารายละเอียดก็ได้ ทรัพยากรด้านการออกแบบและพัฒนา หมายถึง สิ่งที่จะช่วยให้ออกแบบสไลด์-เทป ได้อย่างดีที่สุด ได้แก่ แหล่งข้อมูล ด้านการออกแบบวางรูปแบบการนำเสนอเนื้อหา (treatement) หลักการเขียนบท หลักการบันทึกเสียง หรือ แม้แต่หลัก จิตวิทยาการเรียนรู้ ทรัพยากรด้านการผลิต หมายถึง สิ่งที่เป็นวัสดุ อุปกรณ์ บุคลากร สถานที่ งบประมาณ และเวลาในการผลิต เป็นต้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้การผลิตดำเนินไปอย่างราบรื่น ตัวอย่าง การสำรวจทรัพยากรสำหรับสไลด์-เทป เรื่อง การโอนเงินภายในประเทศ ที่ Low counter ทรัพยากรด้านเนื้อหา ปลัดกระทรวงสาธารณสุข,สำนักงาน,คู่มือปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับจังหวัด-อำเภอ-ตำบล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกษา ,2531. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข,สำนักงาน. คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับ ผสส./อสม. การดูแลสุขภาพอนามัยของชุมชน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกษา , 2528. นิภา จรูญเวสม็ และคณะ. โรคเขตร้อน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เรือนแล้วการพิมพ์ , 2532. ผู้นำท้องถิ่น ....................................... เจ้าหน้าที่ .......................................... ทรัพยากรด้านการออกแบบและพัฒนา Sunier,J Slide/Sound and Filmstrip Production. New York : Focal Press,1981. Kemp,J. Planning & Producing Audiovisual Materials (3 rd.ed). : New York :Thomas R Crowell,1975. ทรัพยากรด้านการผลิต เครื่องฉายสไลด์ ................................................ ขอยืมจาก ...................................... คู่มือ ....................................................................................................................... ช่างภาพ จำนวน 3 คน งบประมาณ ..................................... บาท เวลา ................................................ เดือน ขั้นที่ 4 การระดมความคิด การกำหนดวัตถุประสงค์ของสไลด์-เทป ว่าจะให้ผู้ดูมีความรู้เรื่องอะไรนั้น ทำได้ง่ายแต่การกำหนดรายละเอียดของเนื้อหา และรูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม ที่คิดว่าดีที่สุดนั้นทำได้ยากกว่าหลายเท่า แม้นักออกแบบที่ชำนาญและมีประสบการณ์ก็ยังพบปัญหาในเรื่องนี้ ขั้นนี้จึงมีขึ้นเพื่อช่วยให้นักออกแบบทั้งหลายได้รูปแบบ การนำเสนอและรายละเอียดของเนื้อหาที่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว วิธีการกำหนดรูปแบบและเนื้อหามีด้วยกันหลายวิธี เช่น นักออกแบบคนใดคนหนึ่งเป็นผู้กำหนดโดยยึดหลักเกณฑ์เหตุผลของตนเอง กลุ่มผู้ออกแบบช่วยกันวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สำหรับการนำเสนอเรื่องที่เกี่ยวข้องด้านพุทธิพิสัย (Cognitive) หรือทำการวิเคราะห์งาน (Task Analysis) สำหรับการระดมความคิดก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะขอขยายความ ดังนี้ วิธีระดมความคิด (Brainstorming) ทำได้โดยให้คนจำนวนหนึ่งเสนอความคิดขอตนเองให้มากที่สุด โดยจะไม่มีการประเมินความคิดเหล่านั้น ไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ คัดค้านใด ๆ ทั้งสิ้น ใครคิดอะไรก็ได้พูดอย่างเสรี ความคิดอาจรวมไปถึงปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ระหว่างการผลิตและวิธีการแก้ปัญหานั้น ๆ ใช้เวลาจนกระทั่งสมาชิกในกลุ่มไม่เสนอความคิดใด ๆ อีก ในขั้นที่ 4 นี้ ความคิดที่เราต้องการจากสมาชิกในกลุ่มนี้ก็คือเนื้อหาที่จะนำเสนอสไลด์-เทปและรูปแบบการนำเสนอ การระดมความคิดจะทำในลำดับต่อไป การระดมความคิดต้องทำ 2 ครั้ง ครั้งแรกเพื่อเสนอรายละเอียดของเนื้อหา โดยสมาชิกในกลุ่มอาจใช้ข้อมูลพื้นฐานจากวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้แล้วในขั้นที่ 1 ใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือ ตำรา เอกสาร หรือสิ่งอื่น ๆ ที่ได้รวบรวมไว้แล้วตั้งแต่ขั้นที่ 3 และในการระดมความคิด ครั้ง 2 เพื่อระดมความคิดเรื่องรูปแบบการนำเสนอ ตัวอย่าง การนำเสนอเรื่อง การโอนเงินภายในประเทศที่ Low Counter 1. ความคิดเรื่องเนื้อหาที่ควรเสนอในสไลด์-เทป ความสำคัญของการโอนเงิน ปัญหาการโอนเงิน แบบฟอร์มการขอโอนเงิน วงเงินรับ / จ่ายเงินโอนเงินของผู้ปฏิบัติงาน วิธีปฏิบัติในการโอนเงิน การคืนเงินโอน วิธีโอนเงินแบบต่าง ๆ หน้าที่และความรับผิดชอบของพนักงาน 2. ความคิดเรื่องรูปแบบการนำเสนอ เชิงบรรยายทางวิชาการ คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับ ....... ให้เห็นกระบวนการทั้งหมด เน้นเฉพาะกรณีที่มีปัญหา หลังจากได้ระดมความคิด 2 เรื่องดังกล่าวแล้ว ลำดับต่อไปการจัดลำดับความคิดมีสิ่งที่ต้องทำ 5 อย่าง คือ เลือกและตัดความคิดที่ไม่เหมาะสมหรือเป็นไปไม่ได้ออก วิเคราะห์ความคิดที่เหลือ เลือกวิธีการนำเสนอที่เหมาะกับเนื้อหา ตัดสินใจเกี่ยวกับองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง จัดลำดับเนื้อหา หลักเกณฑ์ในการพิจารณาประกอบการตัดสินใจที่สำคัญ คือ ลักษณะของผู้ชม ตารางลักษณะผู้ชมที่ทำไว้ในขั้นที่ 2 ควรนำออกมาใช้ในขั้นนี้ เพื่อประกอบการพิจารณาว่าเนื้อหาที่คิดจะนำเสนอนั้นเหมาะกับผู้ชมจริงหรือไม่ วัตถุประสงค์ สิ่งที่จะคงไว้เพื่อนำเสนอต้องสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์อย่างแท้จริง โดยทั่วไปเรามักนำเสนอมากกว่าที่ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ หรือเสนอเนื้อหาที่กำลังพอเหมาะแต่ไม่สามารถบอกได้ว่าตรงกับวัตถุประสงค์หรือไม่ เพราะไม่สามารถวัดได้ เวลาการนำเสนอ เรื่องของเวลาต้องพิจารณาว่าเนื้อหาใดควรใช้เวลามากน้อยเพียงใด เรื่องที่ต้องใช้เวลานำเสนอมากเกินไปก็ควรตัดออก ถ้าพบว่าสไลด์-เทป ต้องมีเนื้อหาจำนวนมาก ไม่สามารถตัดออกได้ ก็ให้สร้างแยกย่อยออกเป็นหลายเรื่อง ความสามารถและข้อจำกัดของสไลด์-เทป วิทยากรต้องทราบว่าอุปกรณ์ต่าง ๆมีข้อจำกัด หรืออำนวยประโยชน์ให้ สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างไรบ้าง เช่น การทำ CAPTION จะเสนอข้อมูลได้กี่บรรทัด บรรทัดละกี่ตัวอักษร การทำภาพซ้อนเป็นไปได้หรือไม่ การใช้เครื่องฉายพร้อมกัน 4 เครื่องเหมาะสมหรือไม่ ความคิดเห็น/ความชอบของวิทยากร การใช้ความคิดหรือความชอบของตนเองเป็นเกณฑ์ไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดีมันเป็นสิ่งดี เพราะในฐานะผู้ออกแบบเราต้องมี/ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้มากที่สุด แต่ต้องมีเหตุผลที่อธิบายหลักวิชาการบ้างไม่มากก็น้อย

โรคหัวใจ

โรคหัวใจ Heart Disease โรคหัวใจ Heart Disease โรคหัวใจ เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม ชั่วโมงการทำงานที่อัดแน่นด้วยความเครียด และการกินอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันและเกลือ กำลังคุกคามสุขภาพของคนยุคปัจจุบัน อีกไม่นาน... การใช้ชีวิตสมัยใหม่แบบนี้ อาจทำให้ โรคหัวใจ ระบาดทั่วเมือง... หัวใจคนเรามี 4 ห้อง แบ่งซ้าย - ขวา โดยผนังของกล้ามเนื้อหัวใจ และแบ่งเป็นห้องบน –ล่างโดยลิ้นหัวใจ ในทุกๆ วัน หัวใจคนเราจะเต้นประมาณ 100,000 ครั้ง และสูบฉีดเลือดประมาณวันละ 2,000 แกลลอน เปรียบเสมือนการทำงานปกติของ "หัวใจ" แต่ถ้าวันหนึ่ง... หัวใจเราเกิดอาการผิดปกติขึ้นมาล่ะ จะทำอย่างไร...? ทั้งนี้ นายแพทย์สุรพันธ์ สิทธิสุข แพทย์จากหน่วย โรคหัวใจ และหลอดเลือด คณะแพทย์ศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า อาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกาย ซึ่งอาจเป็นข้อบ่งชี้ว่า มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็น โรคหัวใจ สามารถแบ่งได้หลายชนิด ดังนี้ โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน... คือ อาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกาย ที่บ่งชี้ว่าอาจเป็น โรคหัวใจ พบบ่อยในคนทั่วไป ที่คิดว่าตัวเองมีสุขภาพดี ทั้งที่ความจริงอาจเป็นโรคหัวใจในระยะแรกเริ่ม มีดังนี้ 1. เหนื่อยเวลาออกกําลังกาย เพราะหัวใจทําหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ขณะที่เราออกกําลังกาย หัวใจจะทํางานหนักมากขึ้น ปกติเวลาที่เราออกกำลังกายไปถึงระดับหนึ่งจะรู้สึกเหนื่อย แต่ในรายของคนที่มีอาการเริ่มต้นของ โรคหัวใจ แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย จะรู้สึกเหนื่อยผิดปกติอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ดังนั้นหากออกกำลังกาย แล้วรู้สึกเหนื่อยง่ายผิดปกติ อาจเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่า คุณอาจเป็น โรคหัวใจ 2. เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก มักพบบ่อยในคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ อาการดังกล่าวจะมีลักษณะเฉพาะคือ รู้สึกเหมือนหายใจอึดอัด และแน่นบริเวณกลางหน้าอก เหมือนมีของหนักทับอยู่ หรือรัดไว้ให้ขยายตัวเวลาหายใจ โดยมากอาการนี้ จะแสดงออกเวลาที่หัวใจต้องทำงานหนัก เช่น ระหว่างการออกกำลังกาย หรือใช้แรงมากๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนว่า อาจเป็น โรคหัวใจ 3. ภาวะหัวใจล้มเหลว เกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างของร่างกายได้อย่างเพียงพอ โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเหนื่อย ทั้งที่ออกกำลังกายเพียงนิดหน่อย หรือเหนื่อยทั้งที่นั่งอยู่เฉยๆ ในกรณีที่เป็นมาก อาจทำให้ไม่สามารถนอนราบได้เหมือนปกติ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจ และอึดอัดตรงหน้าอก นอกจากนั้น อาจมีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึกอีกด้วย อาการภาวะหัวใจล้มเหลวนี้ หากไม่รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว และไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ 4. ใจสั่นและหัวใจเต้นผิดจังหวะ ปกติหัวใจของเราจะเต้นด้วยจังหวะที่สม่ำเสมอประมาณ 60 -100 ครั้ง/นาที แต่สำหรับคนที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจขยับไปถึง150 -250 ครั้ง/นาที ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจที่ไม่สม่ำเสมอนี้ จะทำให้เหนื่อยง่าย ใจสั่น หายใจไม่ทัน 5. เป็นลมหมดสติ คืออีกหนึ่งอาการที่เตือนว่าคุณอาจเป็น โรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ซึ่งมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นลมหมดสติสูง เนื่องจากจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ เพราะเซลล์ซึ่งทำหน้าที่ให้จังหวะไฟฟ้าในหัวใจเสื่อมสภาพ ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง และส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จนทำให้เป็นลมไปชั่วคราวได้ ทั้งนี้ การเป็นลมหมดสติ มักจะเกิดในท่ายืนมากกว่านั่ง ทำให้ขณะล้มลงศีรษะมีโอกาสฟาดพื้น และเกิดการกระทบกระเทือนต่อสมองได้มากกว่า ดังนั้น ใครที่เป็นลมบ่อยๆ ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็น โรคหัวใจ ได้ 6. หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ในกรณีนี้มักเกิดจากความผิดปกติของเซลล์หัวใจโดยตรง และมักเกิดกับคนปกติที่ไม่มีอาการของ โรคหัวใจ มาก่อนล่วงหน้า ซึ่งหากมีอาการหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือที่รวดเร็ว อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่สังเกตได้จากร่างกาย... นอกจากความผิดปกติชนิดเฉียบพลันแล้ว อาการบ่งชี้ที่สังเกตได้จากร่างกายของเราเอง ก็เป็นอีกหนึ่งความผิดปกติที่เตือนให้รู้ว่า คุณอาจเป็น โรคหัวใจ และควรไปพบแพทย์โดยด่วนได้เช่นกัน เป็นต้นว่า... 1. ขาหรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อกดดูแล้วมีรอยบุ๋มตามนิ้วที่กดลงไป ซึ่งหากเกิดขึ้นกับใคร ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คโดยด่วน เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่า เวลานี้คุณอาจอยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลวโดยที่ไม่รู้ตัว 2. ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ อาการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ทางเดินของเลือดในหัวใจห้องขวากับห้องซ้ายมีการเชื่อมต่อที่ผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการผสมของเลือดแดงกับเลือดดํา และทําให้ปริมาณของออกซิเจนในเลือดมีปริมาณน้อยลง โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่ตรวจพบขณะตรวจร่างกาย... การไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพประจำปี เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้เราสามารถคาดคะเนความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจ ได้ เช่น ตรวจเลือดแล้วพบว่าเป็นเบาหวาน หรือมีไขมันในเลือดสูง ก็อาจสันนิษฐานได้ว่า มีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบได้เช่นกัน หรือเอ็กซเรย์แล้วพบว่า ขนาดของหัวใจโตกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว และกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อนกำลังลง ทำให้ห้องต่างๆ ของหัวใจขยายขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ตรวจพบว่ามีความเสี่ยงสูง ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน ป้องกัน โรคหัวใจ อย่างไรดี... ข้อมูลที่ได้บอกไปข้างต้น เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า เรามีอัตราเสี่ยงสูงต่อการป่วยเป็น โรคหัวใจ เท่านั้น ซึ่งผู้ที่จะวินิจฉัยว่าเราเป็น โรคหัวใจ หรือไม่ คือแพทย์ โรคหัวใจ เท่านั้น ดังนั้นหากพบความผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนดีที่สุด สำหรับคนที่หัวใจยังเป็นปกติ เรามีข้อแนะนำในการดูแลหัวใจ (ก่อนสายเกินไป) ดังนี้ค่ะ สังเกตความผิดปกติของตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน เช่น ดูว่าอัตราการเต้นของหัวใจปกติดีหรือไม่ เจ็บหน้าอก ใจสั่นบ่อยๆ หรือเปล่า เป็นต้น ออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สุขภาพจิตแจ่มใสแล้ว ยังช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดีขึ้นอีกด้วย ดูแลสุขภาพใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ พยายามไม่เครียด รู้จักควบคุมอารมณ์ และพึงระลึกไว้เสมอว่า ความเครียดและความโกรธ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้หัวใจเต้นแรง และทำงานหนักขึ้น รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยงดอาหารที่มีไขมันสูง ซึ่งทำให้ความดันโลหิตสูง เกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบได้ง่าย และหันไปกินผักผลไม้ให้มากขึ้น ควรไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันและรักษาโรคร้ายที่อาจคาดไม่ถึง เช่น โรคหัวใจ ซึ่งแฝงอยู่ในตัวเราตั้งแต่เนิ่นๆ ... ยามใดที่ร่างกายอ่อนล้า เราหยุดพักให้หายเหนื่อยได้... แต่ยามใดที่หัวใจอ่อนแรง มันก็ยังคงเดินต่อไป ทำงานต่อไป... เพราะฉะนั้น เมื่อรู้ว่า "หัวใจ" คนเราไม่เคยหยุดพัก อย่าลืมดูแลรักษามันไว้ให้ดีๆ นะคะ เพือจะได้ไม่เป็น โรคหัวใจ ค่ะ

ประวัติพระนารายณ์

ประวัติพระนาราย พระวิษณุ (นารายณ์) เทพผู้คุ้มครองโลก พระวิษณุ (นารายณ์) เทพผู้คุ้มครองโลก ความเชื่อของชาวฮินดูปัจจุบันพระองค์ คือเทพผู้ทำหน้าที่บริหารหรือผู้คุ้มครองโลกที่สำคัญ จากคัมภีร์พราหมณ์ คัมภีร์พราหมณ์ปุราณะกล่าวไว้ว่า “พระปรเมศวร” (พระศิวะ) เป็นผู้สร้างพระวิษณุ เหตุมาจากทรงมีพระประสงค์จะสร้างสวรรค์และโลก ซึ่งถือว่าเป็นงานใหญ่นัก จึงได้ทรงต้องการผู้ช่วย โดยการนำหัตถ์ซ้ายมาลูบหัตถ์ขวา จึงบังเกิดเป็นเทพชื่อ “พระวิษณุ” หรือ “พระนารายณ์” พระปรเมศวร ได้สอนศิลปะด้านต่าง ๆ ให้กับพระวิษณุ ในทุกด้าน และให้ประทับอยู่ ณ เกษียรสมุทร เมื่อเกิดเหตุร้ายในโลกมนุษย์ หรือสวรรค์เมื่อใด พระวิษณุก็จะมีหน้าที่ไปปราบปรามเหล่าอสูร และผู้ประสงค์ร้ายนั้น ๆ โดยในบางคราวก็จะได้รับการร้องขอจากเหล่ามวลเทพเทวดาบ้าง คัมภีร์มหาภารตะ เล่าไว้ถึงพระนารายณ์แต่เดิมคือฤาษีตนหนึ่ง เป็นบุตรของฤาษีธรรมมะ ได้เดินทางจากโลกมนุษย์สู่สถานที่ของพวกพราหมณ์พร้อมเพื่อนสนิทนามว่า “นร” เพื่อบำเพ็ญเพียรจนได้รับการเคารพบูชาจากเทพเทวดาทั้งมวล ต่อมาได้รับการขอร้องจากเหล่าเทวดาให้ช่วยปราบอสูรที่สร้างความเดือดร้อน ฤาษีทั้งสองจึงได้รับปากช่วยเหลือโดยได้ออกรบกับอสูรจนได้รับชัยชนะ จึงได้รับความเคารพนับถือจากเหล่าเทวดายิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน จนภายหลังฤาษีนารายณ์ได้ออกเดินทางไปบำเพ็ญตนยังหิมาลัยจนบรรลุผลเป็นพราหมณ์ (ผู้รู้แจ้งทุกสิ่งในโลก) และได้เป็นผู้นำเหล่าพราหมณ์ในเวลาต่อมา จากการยกย่องบูชาตลอดที่ผ่านมาจนเป็นที่รู้จักในนาม “พระวิษณุ(นารายณ์)” พระนามของพระวิษณุ พระนารายณ์ มีผู้ขนานนามเรียกขานจากความแตกต่างกันตามความเชื่อ พระนามตามฤทธิ์อำนาจ และตามเหตุการณ์ที่ต่างกันตามกาล อาทิ อนันตะ ไม่สิ้นสุด จตุรภุช มี ๔ กร มุราริ เป็นศัตรูแห่งมุระ นระ (นะระ) ผู้ชาย นารายณ์ ผู้ที่เคลื่อนไปในน้ำ ปัญจายุทธ พระผู้ทรงอาวุธทั้ง ๕ อย่าง ปีตามพร ทรงเครื่องสีเหลือง ทโมทร มีเชือกพันเอาไว้รอบเอว กฤษณะ, โควินทะ, โคบาล ผู้เลี้ยงวัว ชลศายิน ผู้นอนเหนือน้ำ พระพิษณุหริ ผู้สงวน อนันตไศยน นอนบนอนัตนาคราช ลักษมีบดี ผู้เป็นสามีของพระลักษมี วิษว์บวร ผู้คุ้มครองโลก สวยภู เกิดเอง เกศวะ มีผมอันงาม กิรีติน ผู้ใส่มงกุฎ พระวิษณุ พระนารายณ์ ทรงประทับบนสวรรค์ เรียก ไว***ณฐ์ พาหนะ คือครุฑ พระวรกายสีนิล ฉลองดั่งกษัตริย์ มีมงกุฎ อาภรณ์สีเหลือง มี ๔ กร ถือ สังข์ จักร ตรี คทา บ้างก็กล่าวไว้ว่าทรงถือ ดอกบัว ลูกศร ดอกไม้ หรือเชือกบ่วงบาศ หรือสายฟ้า อาวุธประจำที่ใช้ คือ สังข์ จักร คทา ธนู และพระขรรค์

พระนเรศวรมหาราช

พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช Tagged with: ประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระราชประวัติพระนเรศวร พระราชประวัติสมเด็จพระมหาธรรมราชา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช รำลึก ๔๐๐ ปี แห่งการสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประวัติองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงมีพระนามเดิมว่า พระองค์ดำ พระราชสมภพ เมื่อวันพฤหัสบดี ปีเถาะ พุทธศักราช ๒๐๙๘ ณ พระราชวังจันทร์ จังหวัดพิษณุโลก เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช และพระวิสุทธิกษัตริย์ ทรงมีพระพี่นาง พระนามว่าพระสุพรรณกัลยา หรือพระองค์ทอง และพระอนุชาทรงพระนามว่า สมเด็จพระเอกาทศรถ หรือพระองค์ขาว ขณะทรงพระเยาว์ สมเด็จพระชนกทรงพระยศเป็นเจ้าขัณฑสีมา ครองเมืองพิษณุโลกมีอำนาจบังคับหัวเมืองฝ่ายเหนือ พ.ศ. ๒๑๐๖ พระเจ้ากรุงหงสาวดีบุเรงนองยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ และทรงขอพระองค์ดำ ซึ่งมีพระชนมายุ ๙ ชันษา ไปเป็นองค์ประกัน ณ กรุงหงสาวดี และทรงการสงครามเป็นครั้งแรกในคราวสงครามช้างเผือก โดยพระเจ้าบุเรงนอง เริ่มโจมตี หัวเมืองเหนือลงมาก่อน ก่อนจะเลิกทัพกลับกรุงหงสาวดี พระเจ้าบุเรงนองไม่ไว้วางพระทัยพระมหาธรรมราชา ซึ่งครองเมืองพิษณุโลก จึงได้ขอพระนเรศวรไปอยู่ที่หงสาวดีเพื่อทรงเลี้ยงเป็นราชบุตรบุญธรรม จนเมื่อมีพระชนมายุ ๑๕ พรรษา พระมหาธรรมราชาซึ่งได้รับการสถาปนาให้เป็นกษัตริย์ปกครองกรุงศรีอยุธยา ในฐานะเมืองประเทศราชได้ขอสมเด็จพระนเรศวรเพื่อมาช่วยราชการ พระเจ้าบุเรงนองยินยอมแต่ต้องแลกกับพระสุพรรณกัลยา โดยนำไปเป็นพระชายาและองค์ประกันแทน พ.ศ. ๒๑๑๔ ได้รับสถาปนาให้ปกครองเมืองพิษณุโลก เมื่อพระชนมายุ ๑๖ พรรษา พ.ศ.๒๑๑๗ พระชนมายุ ๑๙ พระเจ้าบุเรงนองได้เกณฑ์กองทัพไทยไปช่วยตีเมืองเวียงจันทร์ พระองค์ได้เสด็จไปพร้อมกับพระราชบิดา(พระมหาธรรมราชา) เพื่อไปสมทบกับทัพหลวงแห่งกรุงหงสาวดีที่เมืองเวียงจันทร์แต่พระองค์ทรงพระประชวรด้วยไข้ทรพิษจึงได้เสด็จกลับก่อน พ.ศ.๒๑๒๑ พระชนมายุได้ ๒๓ พรรษา พระองค์ได้เสด็จมาเฝ้าพระราชบิดาที่กรุงศรีอยุธยา ประสบเหตุการณ์พระยาจีนจันตุ ขุนนางเขมรอาสาเข้ามาปล้นเมืองเพชรบุรีแต่ไม่สำเร็จ ยอมสวามิภักดิ์ไทย ครั้นสืบได้ความลับบางประการคิดหนีกลับลงเรือออกไปทะเล พระองค์ได้แสดงพระทัยกล้าหาญออกติดตามทันที พ.ศ.๒๑๒๒ พระชนมายุได้ ๒๔ พรรษา พระองค์ทรงเป็นแม่ทัพโจมตีชนะพระทศราชา กษัตริย์เขมรที่ลอบยกกองทัพมาโจมตีทางภาคตะวันออก ได้รับชัยชนะทั้งๆที่กำลังพลน้อยกว่า พ.ศ.๒๑๒๔ พระชนมายุได้ ๒๖ พรรษา เป็นช่วงที่พระเจ้าหงสาวดีสวรรคตได้เสด็จนำทัพไปร่วมในพิธีบรมราชาภิเษกกษัตริย์พระองค์ใหม่ คือ พระเจ้านันทบุเรง แทนพระราชบิดา ในคราวนั้นได้แสดงพระปรีชาสามารถนำทัพโจมตีเมืองคังได้สำเร็จ ซึ่งก่อนหน้านั้น พระมหาอุปราช และพระสังกะทัตราชบุตรพระเจ้าตองอูไม่สามารถเข้าตีได้ แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์สามารถชนะศึกในครั้งนี้ พ.ศ. ๒๑๒๖ พระชนมายุได้ ๒๘ พรรษา พระองค์ได้ทรงนำทัพไปช่วยหงสาวดีรบ กับอังวะตามราชโองการของพระเจ้าหงสาวดีแต่พระองค์ทรงรู้เท่าทันกุศโลบาย จึงแสร้งเดินทัพช้านานเกือบสามเดือนจนถึงเมืองแครง พ.ศ. ๒๑๒๗ พระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา ทรงประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นต่ออำนาจการปกครองของพม่า เมื่อเดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำ ที่เมืองแครง พระเจ้ากรุงหงสาวดีมีรับสั่งให้สุรกรรมา ยกทัพตามไล่จับพระองค์ แต่ในที่สุดพระองค์ทรงยิงปืนข้ามแม่น้ำสะโตงถูกสุรกรรมาแม่ทัพพม่าตาย และกวาดต้อนคนไทยกลับพระนคร พ.ศ. ๒๑๒๘ – ๒๑๓๐ ทรงทำสงครามชนะกองทัพพม่าหลายครั้ง และกองทัพพม่าถูกไทยตีแตกพ่ายกลับไป ทำให้อาณาจักรไทยมั่งคงและปลอดภัยจากสงครามมากขึ้น สมเด็จพระนเรศวรรับบทโดย พันตรีวันชนะ สวัสดี ในภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ.ศ. ๒๑๓๓ ภายหลังจากที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์แทน ณ กรุงศรีอยุธยาเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา พ.ศ. ๒๑๓๕ พระชนมายุ ๓๗ พรรษา เมื่อวันจันทร์แรม๒ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จุลศักราช๙๕๔ พระเจ้านันทบุเรงมีพระราชโองการให้พระมหาอุปราชายกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีก ในครั้งนี้ พระองค์ได้ทรงกระทำยุทธหัตถีประสบชัยชนะโดยได้จ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าวตรงไหล่ขวา พระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง ***และด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ ทรงรบและชนะศึกสงครามทุกครั้งกระทรวงกลาโหมได้ประกาศให้วันที่๒๕ มกราคม ของทุกปีเป็นวันกองทัพไทพ แต่เมื่อนักวิชาการหลายท่านได้คำนวนออกมาใหม่ วันที่กระทำยุทธหัตถีเมื่อ๔๐๐กว่าปี จะตรงกับวันที่๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๑๔๗ ทรงกรีฑาทัพไปตีอังวะ พร้อมด้วยพระอนุชา ครั้นเมื่อไปถึงเมืองหาง ทรงพระประชวร เป็นหัวระลอกขึ้นที่พระพักตร์และเป็นไข้ทรพิษ เสด็จสวรรคต ณ ทุ่งแก้ว เมืองหาง ตรงกับวันขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเส็ง พระชนมายุ ๕๐ พรรษา เสวยราชสมบัติได้ ๑๕ ปี ตลอดระยะเวลาพระองค์ท่านทรงทำศึกอยู่ตลอดเวลา ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงห่วงใยบ้านเมืองและชาวสยาม ทรงประกาศอิสระภาพไม่เป็นเมืองขึ้นแก่พม่า พระองค์ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์ ทรงต่อสู้เพื่อให้ได้เอกราช ให้ชาวไทยได้มีผืนแผ่นเดินอาศัยจนถึงทุกวันนี้

พระเจ้าอโศกมหาราช

may 2011 พระราชประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราช Author: dharma | Filed under: Uncategorized เพื่อให้อนุชนพุทธบริษัทได้รำลึกนึกถึงคุณูปการอันยิ่งใหญ่ต่อพระพุทธศาสนาที่พระเจ้า อโศกมหาราชทรงกระทำไว้ ขอรวบรวมประมวลข้อเขียนเกี่ยวกับเกร็ดพระราชประวัติของ พระองค์มานำเสนอไว้ในหนังสือ ก่อนอื่น พึงทราบว่าพระราชประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราชนั้นปรากฏเป็นหลักฐาน ให้อนุชนชาวพุทธได้ศึกษาค้นคว้าทั้งในคัมภีร์ภาษาบาลีของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ทั้งใน คัมภีร์ภาษาสันสกกฤตของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และจากหลักศิลาจารึกที่พระองค์ทรง โปรดให้จารจารึกบันทึกเกร็ดพระประวัติการบำเพ็ญพระจริยาวัตรของพระองค์ไว้ที่กระจายอยู่ทั่ว แผ่นดินชมพูทวีป ดังที่ท่านอาจารยิ์เสถียร โพธินันทะ นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาที่มี ชื่อเสียงของไทย ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา” ความตอนหนึ่งว่า “….พระเจ้าอโศกเป็นจักรพรรดิราชพระองค์เดียวซึ่งประกอบด้วยพระเดชและพระคุณ ตรึงตราอยู่ในความทรงจำของประชากรนับจำนวนหลายร้อยล้านคน นับตั้งแต่เบื้องปุริมกาล ตราบเท่าปัจจุบัน และจะต้องเป็นดังนี้ต่อไปอีกในอนาคต บรรดาพุทธศาสนิกชนเป็นหนี้บุญคุณ ต่อจักรพรรดิราชพระองค์นี้อย่างไม่รู้จะชดเชยได้หมด พระพุทธศาสนาได้แผ่ขยายออกไปใน นานาประเทศ ก็ด้วยอานุภาพอุปการะของพระองค์ พระองค์เป็นผู้ริเริ่มงานธรรมทูตในดินแดน นอกประเทศอินเดีย ตำนานว่าด้วยประวัติของพระเจ้าอโศก ได้ปรากฏในคัมภีร์สันสกฤตชื่อ “อโศกอวทาน” ตำนานเล่มนี้ได้เรียบเรียงขึ้นราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๕ และได้แปลออกสู่พากย์ จีน ๓ ครั้ง ครั้งแรกแปลโดยอังหวบคิม ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๗ ในรัชสมัยพระเจ้าจิ้นฮุ่ยเต้ ครั้งที่สอง แปลโดยคุณภัทร ราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๙ ครั้งที่สาม แปลโดยสังฆปาละ ราว พุทธศตวรรษที่ ๑๐ ส่วนในพากย์บาลี เราหารายละเอียดเกี่ยวกับพระเจ้าอโศกได้ในคัมภีร์ มหาวังสะ และสมันตปาสาทิกา นอกจากนี้ จริยาวัตรของพระองค์ เรายังอาจทราบได้จาก ศิลาจารึกซึ่งถูกค้นพบเรื่อยๆ ศิลาจารึกเหล่านี้มีกระจัดกระจายทั่วไปในอินเดีย จมดินจมทราย อยู่ เมื่อศิลาจารึกเหล่านี้ได้ถูกขุดค้นขึ้นมา เรื่องราวของพระเจ้าอโศกก็ยิ่งปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้น และบรรดานักปราชญ์ทั้งฝรั่งและแขกต่างค้นคว้าอ่านศิลาจารึกเหล่านั้นเป็นการใหญ่ ต่างผลิต ตำราว่าด้วยเรื่องพระเจ้าอโศกออกมาแข่งขันกัน นักเขียนคนหนึ่งชื่อ เอช. จี. เวลส์ เขียน สรรเสริญพระเจ้าอโศกว่า ในบรรดามหาราชาธิราชนับจำนวนพันๆ องค์ ที่ปรากฏพระนามใน ประวัติศาสตร์ มีแต่พระนามของพระเจ้าอโศกเท่านั้น ที่เป็นดารารุ่ง ณ เบื้องนภากาศ ซึ่งส่องสาดรัศมีนับแต่ลุ่มแม่น้ำโวลก้าจนจดประเทศญี่ปุ่น ฉะนั้น การศึกษาเรื่องราวของพระเจ้าอโศก จึงเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งซึ่งเราจะข้ามพ้นไปเสียมิได้เลย…”* และดังที่ท่านศาสตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์ วรรณปก กล่าวไว้ในบทความ “จาก พระพุทธเจ้าถึงพระเจ้าอโศกมหาราช” ความตอนหนึ่งว่า “…เรื่องราวของพระเจ้าอโศกมหาราชกับพระพุทธศาสนา แม้ทรงจารึกไว้มากมาย นำไป ประดิษฐานยังส่วนต่างๆ แห่งพระราชอาณาจักร พอสิ้นสุดยุคพระเจ้าอโศก สิ้นสุดราชวงศ์ โมริยะไม่นาน เรื่องราวเหล่านี้ก็ถูกลืม หลักฐานต่างๆ ก็ถูกทิ้งให้จมหายไปในดินเป็นศตวรรษๆ แทบไม่มีใครรู้เรื่อง นักประวัติศาสตร์อินเดียก็ดูเหมือนจงใจลืมมหาราชผู้ยิ่งใหญ่พระองค์นี้ รวมถึงพระพุทธศาสนาด้วย มาในยุคหลังนี้เท่านั้น ที่ความจริงอันจมลึกอยู่ใต้แผ่นดินถูกขุดขึ้นมาศึกษาแล้วเผยแพร่ ให้รับทราบกันโดยทั่วไป ประวัติพระพุทธศาสนา ประวัติพระเจ้าอโศก ในช่วงเวลานี้ จึงทอ แสงเจิดจ้าแจ่มแจ้ง ยากที่จะมีอะไรมาปิดบังไว้ได้ต่อไป เรื่องราวพระเจ้าอโศก และกิจกรรมที่พระเจ้าอโศกกระทำเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ไม่ ค่อยมีบันทึกไว้ในหลักฐานฝ่ายอื่นนอกจากคัมภีร์ฝ่ายเถรวาท ข้อมูลอีกส่วนหนึ่งหาได้จากศิลา จารึกของพระองค์เอง และศิลาจารึกนี้ก็ถูกละเลยให้จมดินไปเป็นศตวรรษๆ ถ้าไม่ได้นักวิชาการ ฝรั่งมาขุดขึ้นมาศึกษา ก็ไม่แน่นักว่า ชื่ออโศกมหาราชจะเด่นดังในประวัติศาสตร์อินเดียเหมือน ปัจจุบัน…”** ในการนำเสนอพระราชประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราชในที่นี้ ผู้รวบรวมเรียบเรียง นอกจากจะยึดหลักฐานข้อมูลสำนวนภาษาบาลีตามที่ พระพุทธโฆสาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ ผู้มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา รจนาไว้ในพาหิรนิทาน ตอนว่าด้วยประวัติการ ทำตติยสังคายนา แห่งคัมภีร์สมันตปสาทาทิกา ซึ่งเป็นคัมภีร์ชั้นอรรถกถา คือคัมภีร์อธิบาย ความพระวินัยปิฎก เป็นหลักในการนำเสนอแล้ว ยังได้เสริมสอดแทรกข้อความเกร็ดประวัติ พระจริยาวัตรต่างๆ ของพระองค์ตามที่นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาทั้งหลายได้คัดลอกถอด ความมาจากคัมภีร์สันสกฤตบ้าง หลักศิลาจารึกบ้าง ซึ่งสามารถสืบค้นข้อมูลได้ทางเว็บไซท์ อินเตอร์เน็ตในสังคมโลกออนไลน์ปัจจุบัน ดังต่อไปนี้ พระชาติภูมิ : ทรงเป็นกษัติรย์แห่งราชวงศ์โมริยะ นักปราชญ์ทางประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาบันทึกไว้ว่า หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับ ขันธปรินิพพานแล้ว ในปีพุทธศักราช ๑ แคว้นมคธ ที่มีกรุงราชคฤห์ เป็นนครหลวง ภายใต้ การปกครองโดยระบอบกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราช ก็ยังคงเป็นแคว้นมหาอำนาจที่มีความ เจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในอินเดียภาคกลาง เพราะสามารถรวบอำนาจการปกครองทั้งแคว้น โกศลและแคว้นวัชชีไว้ได้ โดยขณะนั้น ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าอชาตศัตรู พระราชโอรส ของพระเจ้าพิมพิสาร พุทธมามกกษัตริย์องค์สำคัญแห่งแคว้นมคธเมื่อครั้งพุทธกาล พระเจ้าอชาตศัตรูได้ทรงสร้างเมืองปาฏลีบุตร ขึ้นเพื่อใช้เป็นเมืองหน้าด่านในการ ต่อสู้กับแคว้นวัชชี ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำคงคา ต่อมาพระเจ้าอชาตศัตรูถูกพระราชโอรส สำเร็จโทษจนสวรรคต แล้วกษัตริย์ผู้ครองราชย์องค์ต่อๆ มา ได้โปรดให้ย้ายนครหลวงจากนคร ราชคฤห์มาอยู่ที่ปาฏลีบุตร จากนั้น พระนครราชคฤห์ก็เสื่อมลงๆ ในขณะที่พระนครปาฏลีบุตร ได้เจริญมากขึ้นๆ จนจัดได้ว่าเป็นหนึ่งในหกของมหานครที่ยิ่งใหญ่แห่งอินเดียโบราณ ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า กษัตริย์ในราชวงศ์พระเจ้าพิมพิสารนี้ พระโอรสทุกพระองค์ ได้สำเร็จโทษพระราชบิดา แล้วขึ้นครองราชสมบัติถึง ๕ ชั่วโคตร จนในที่สุด ประชาชนทนอยู่ ในการปกครองของกษัตริย์ในราชวงศ์นี้ไม่ได้ จึงพร้อมใจกันสำเร็จโทษกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่ง ราชวงศ์ของพระเจ้าพิมพิสาร แล้วสถาปนาให้พระเจ้าสุสูนาคเป็นกษัตริย์ปกครองต่อมา พระเจ้ากาฬาโศก ได้เสวยราชย์สืบต่อจากพระเจ้าสุสูนาค และทรงครองราชย์อยู่นาน ๒๘ ปี พระองค์ทรงมีพระโอรส ๑๐ องค์ ได้แก่ ภัทรเสน โกรัณฆวรรณ มังกร สัพพัญหะ ชาลิกะ สัญชัย อุภคะ โกรพยะ นันภิวัฑฒนะ ปัญจมตะ และพระโอรสได้ครองราชย์ต่อมา ครั้นเมื่อ พ.ศ. ๑๔๐ ราชวงศ์สุสูนาคก็สิ้นสุดลงด้วยถูกนายโจรนันทะพิฆาตจนหมดสิ้น ต่อจากนั้น นายโจรนันทะได้ตั้งราชวงศ์นันทะขึ้น โดยมีเจ้าครองนครสืบต่อกันมาอีก ๙ องค์ ดังนี้ คือ อุคคเสนนันทะ กนกนันทะ จันทคุติกนันทะ ภูตปาลนันทะ รัฏฐปาลนันทะ โควิสาณกนันทะ ทสสิทธิกนันทะ เกวฏนันทะ และธนนันทะ รวมเวลาครองราชย์อยู่ ๒๒ ปี เจ้ามหาปัทมนันทะ ผู้เป็นโอรสสืบเชื้อสายจากเจ้าธนนันทะ ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาต่อมา ๔๐ ประวัติความสำคัญของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา [กช.ผพ. อเล็กซานเดอร์มหาราชบุกอินเดีย : ในสมัยเดียวกับราชวงศ์นันทะนี่เอง ประเทศ อินเดียได้ถูกย่ำยีจากข้าศึกต่างด้าวทางยุโรป คือ กองทัพกรีก ซึ่งมีอเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรมาซิโดเนีย เป็นนายทัพ บุกเข้ามาตีประเทศอินเดียทางภาคเหนือ เข้าสู่บริเวณแถบลุ่มแม่น้ำสินธุ โดยตีกรุงตักกสิลา ในแคว้นคันธาระแตก แล้วบุกตะลุยลง มาตีแคว้นปัญจาบอเล็กซานเดอร์มหาราชถูกต่อต้านจากกองทัพของพระเจ้าเปารวะ ผู้นำทัพ ที่มีฉายาว่า “สิงห์แห่งปัญจาบ” การสู้รบเป็นไปอย่างดุเดือดบนฝั่งแม่น้ำวิตัสสะ อันเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำ สินธุ ในที่สุด พระเจ้าเปารวะพ่ายแพ้ ถูกจับเป็นเชลยศึก ต่อมาภายหลัง อเล็กซานเดอร์ มหาราชได้คืนบ้านเมืองให้แก่พระเจ้าเปารวะปกครองตามเดิม แต่อยู่ในฐานะเมืองขึ้น จากนั้น อเล็กซานเดอร์มหาราชก็ได้เตรียมการยกพลเพื่อมาตีแคว้นมคธที่มีความมั่งคั่ง สมบูรณ์ต่อไป แต่พวกนายทัพนายกองทั้งปวงเกิดแข็งข้อ ไม่ยอมเดินทัพต่อไป ทุกคนอ้างว่า อิดโรยมากและคิดถึงลูกคิดถึงเมีย อยากกลับบ้านเกิดเมืองนอน อเล็กซานเดอร์มหาราชจึงจำ พระทัยเลิกทัพกลับไปยังประเทศกรีก เมื่อเสด็จกลับถึงกรุงบาบิโลน แห่งลุ่มแม่น้ำไตกริส กับ ยูเฟรตีส ก็ได้สิ้นพระชนม์ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐ ทรงมีพระชนมายุได้เพียง ๓๓ ปีเท่านั้น จันทรคุปต์กู้ชาติ : เมื่ออเล็กซานเดอร์มหาราชตีได้บ้านเมืองใดแล้ว พระองค์ก็มักทรง แต่งตั้งให้ชาวเมืองหรือเจ้าของเดิมเป็นผู้ดูแลปกครองบ้านเมืองต่อไป และได้จัดให้นายทัพ นายกองซึ่งเป็นชาวกรีกคอยควบคุมอีกทีหนึ่ง แต่ครั้นเมื่ออเล็กซานเดอร์มหาราชสวรรคตลง บรรดาแม่ทัพนายกองทั้งหมดทั้งมวลต่างต้องการอิสรภาพ ไม่ต้องขึ้นต่ออาณาจักรกรีกในยุโรป อีกต่อไป ทุกคนต้องการเป็นตัวแทนของอเล็กซานเดอร์กันทั้งนั้น จึงทำสงครามรบพุ่งกันอย่าง ยุ่งเหยิงเป็นพัลวัน ครั้งนั้น ข้าหลวงชาวกรีกผู้หนึ่งซึ่งได้รับมอบให้กำกับควบคุมพระเจ้าเปารวะ เป็นกบฏ จับพระเจ้าเปารวะปลงพระชนม์เสีย ทำให้ชาวอินเดียโกรธแค้นลุกขึ้นจับอาวุธขับไล่ พวกชาวกรีก ในหมู่ชาวอินเดียกู้ชาติเหล่านี้ มีคนสำคัญคนหนึ่งนามว่า จันทรคุปต์ อยู่ด้วย จันทรคุปต์เป็นคนหนุ่ม ที่ใฝ่สูงและกล้าหาญ เล่ากันว่า จันทรคุปต์มีเชื้อสายโมริยะ ซึ่งสืบมาแต่ศากยวงศ์ของพระพุทธองค์ ที่หนีรอดตายมาจากสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์พวกเจ้า ศากยะที่ถือชั้นวรรณะจัดจนเป็นเหตุให้พระเจ้าวิฑูฑภะ กษัตริย์แห่งแคว้นโกศล พระโอรสของ พระเจ้าปเสนทิโกศล พุทธมามกกษัติย์องค์สำคัญครั้งพุทธกาล เกิดความความอาฆาตแค้นแสน สาหัสที่ได้ถูกดูหมิ่นเหยียดหยามว่าเป็นลูกหญิงรับใช้จากพวกเจ้าศากยะเมื่อคราวเสด็จเยี่ยม พระเจ้ามหานามะ กษัตริย์เจ้าศากยะ ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระเจ้าตา โดยเหตุที่พระเจ้าวิฑูฑภะนั้น ประสูติจากพระนางวาสภขัตติยา ผู้เป็นธิดานางทาสีหรือหญิงรับใช้ของเจ้ามหานามะ แต่พวก เจ้าศากยะส่งไปเป็นพระชายาของพระเจ้าปเสนทิโกศลซึ่งมีความประสงค์จะเป็นพระญาติของ พระพุทธเจ้าโดยการอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงศากยะ โดยพวกเจ้าศากยะไม่สามารถขัดพระราช ประสงค์ของพระเจ้าปเสนทิโกศล ซึ่งมีพระราชอำนาจมากในครั้งนั้นได้ แต่เพราะความมี อติมานะถือตัวและถือชั้นวรรณะจัดของพวกเจ้าศากยะ จึงลวงว่าพระนางวาสภขัตติยาเป็นเจ้า หญิงศากยะผู้มีพระชาติเสมอกันกับพระเจ้าปเสนทิโกศลเมื่อพวกเจ้าศายะเหล่านั้นหนีอพยพขึ้นไปทางแถบภูเขาหิมาลัย ได้พบสถานที่น่ารื่นรมย์ กึกก้องด้วยเสียงนกยูง จึงได้สร้างนครขึ้นใหม่ขึ้นชื่อว่า “โมริยนคร” ดำรงสกุลวงศ์สืบเชื้อสาย กษัตริย์ต่อเนื่องกันมา จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๒ พระราชาผู้ครองนครถูกลอบปลงพระชนมน์ แต่ พระมเหสีของพระองค์ซึ่งมีพระครรภ์แก่สามารถเสด็จหลบหนีภัยไปได้ จนมาอาศัยอยู่ที่เมือง ปาฏลีบุตร และได้ประสูติโอรสชื่อว่า จันทรคุปต์ ที่เมืองปาฏลีบุตรนั่นเอง จันทรคุปต์เมื่อเติบใหญ เป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง มีลักษณะเป็นชายชาติทหาร จึงมี ความฮึกเหิมมักใหญ่ใฝ่สูงที่จะเป็นผู้นำหรือเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ ถึงขนาดเคยซ่องสุมจัด กำลังผู้คนเพื่อจะชิงราชสมบัติของกษัตริย์ในราชวงศ์นันทะ แต่ความได้ล่วงรู้ถึงพระเจ้านันทะ เสียก่อน จันทรคุปต์จึงต้องหลบหนีราชภัยไปอยู่ที่เมืองตักกศิลา และได้เข้าไปขันอาสาพระเจ้า อเล็กซานเดอร์มหาราชว่าจะนำทัพกรีกเข้าตีแคว้นมคธ แต่เมื่อทัพกรีกเลิกทัพไปเสียก่อน จันทรคุปต์ก็เที่ยวป้วนเปี้ยนรวบรวมสมัครพรรคพวก อยู่แถวแคว้นปัญจาบและชายแดนมคธ บังเอิญจันทรคุปต์ได้เสนาธิการเป็นพราหมณ์ที่ชื่อ จาณักยะ ซึ่งเป็นคนฉลาดแกมโกงและมีไหวพริบดีมาก เป็นผู้วางแผนการโจมตีแคว้นต่างๆ จน สามารถขับไล่อิทธิพลของกรีกในปัญจาบไปได้ แล้วจันทรคุปต์จึงได้บุกเข้าปล้นเมืองใหญ่ๆ ของ แคว้นมคธ จนในที่สุดสามารถรบชนะพระเจ้าธนนันทะ กษัตริย์องค์ที่ ๙ แห่งราชวงศ์นันทะได้ จันทรคุปต์จึงได้ปราบดาภิเษกเป็นปฐมบรมกษัตริย์และตั้งราชวงศ์โมริยะขึ้น ทรง ครองราชย์อยู่ในนครปาฏลีบุตรนาน ๒๔ ปี โดยมีอาณาเขตพระนครและหัวเมืองขึ้นเป็นจำนวน มาก เวลานั้นมีแต่การรบพุ่งปราบปรามแว่นแคว้นต่างๆ ทั้งในลุ่มแม่น้ำสินธุและแม่น้ำคงคา ตลอดจนสามารถขับไล่กรีกให้พ้นไปจากอินเดียได้ ภายหลังจากที่พระจันทรคุปต์เสด็จสวรรคต พระเจ้าพินทุสาร พระราชโอรสของพระองค์ได้เป็นรัชทายาทปกครองนครปาฏลีบุตรสืบแทน และทรงครองราชย์อยู่นานถึง ๒๘ ปี กำเนิดอโศกราชกุมาร : พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงประสูติเมื่อปีพุทธศักราช ๑๘๔ (บางตำราว่าทรงประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑) ณ นครปาฏลีบุตร แคว้นมคธ ทรงมีพระนามว่า “อโศก” หรืออ่านว่า “อโศกะ” แปลว่า “ผู้ปราศจากความทุกข์โศก” (แต่ทรงโปรดให้เรียก พระองค์ในศิลาจารึกว่า “เทวานัมปิยทัสสี” แปลว่า “กษัตริย์ผู้เป็นที่รักใคร่ของเทพเจ้า”) พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในจำนวนพระราชโอรส ๑๐๑ พระองค์ ของ พระเจ้าพินทุสาร กษัตรย์ พระองค์ที่ ๒ แห่งราชวงศ์โมริยะ (หรือ เมารยะ ในภาษาสันสกฤต) ทรงประสูติจากพระครรภ์ ของพระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสิริธัมมา หรือ พระนางศิริธรรมา บางแห่งเรียกว่า พระนางธรรมา บ้าง พระนางสุภัทรา บ้าง และพระองค์ทรงมีพระอนุชาร่วมครรภ์พระมารดา เดี่ยวกันองค์หนึ่งนามว่า ติสสะ หรือ ติสสราชกุมาร (ในคัมภีร์สันสกฤต กล่าวว่า เจ้าชายอโศกเป็นเพียงโอรสของพระเจ้าพินทุสาร ที่ประสูติจากนางพราหมณี ผู้เป็นพระสนมเอกของ พระเจ้าพินทุสารเท่านั้น และได้มีอนุชาร่วมครรภ์มารดาอยู่ผู้หนึ่งชื่อว่า วีตโศก) มีเรื่องเล่าเพิ่มเติมว่า เมื่อพระนางสิริธัมมา พระราชมารดา ทรงครรภ์อโศกราชกุมาร นั้น มีอันเป็นให้พระนางทรงนึกปรารถนาจักเหยียบดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ พร้อมทั้งทรง ปรารถนาอยากจะเสวยดวงดาวและเมฆกับรากดินภายใต้พื้นปฐพี และต่อมาวันหนึ่ง พระเจ้า พินทุสารทรงอุ้มอโศกราชกุมารให้นั่งเล่นอยู่บนพระเพลา ทรงหยิบมหาสังข์ทักษิณาวัตรให้อโศก ราชกุมารเล่น แต่อโศกราชกุมารกลับถ่ายมูตรลงใส่มหาสังข์นั้น พระราชบิดาจึงทรงยกสังข์ขึ้น รดลงยังเศียรเกล้าของพระราชโอรส พระนางสิริธัมมาทรงให้บอกความแก่อาชีวกคนหนึ่งที่ทรง นับถือ อาชีวกนั้นพยากรณ์ว่า พระโอรสอโศกราชกุมารผู้นี้ต่อไปจักได้เป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ แห่งชมพูทวีปด้วยนิมิตนั้น กระแสความคำพยากรณ์ของอาชีวกนี้ได้ทราบถึงพระเจ้าพินทุสาร ดำรงตำแหน่งอุปราช ครองเมืองอุชเชนี โดยเหตุที่พระเจ้าพินทุสารทรงมีพระราชโอรสนับจำนวนรวมทั้งเจ้าชายอโศกได้ ๑๐๑ พระองค์ ซึ่งพระราชโอรสองค์หัวปีที่เป็นพระเชษฐาหรือพี่ชายใหญ่ มีพระนามว่า สุมนะ (หรือ สุสิมะ ในคัมภีร์สันสกฤต) ได้เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าพินทุสารเช่นกันถึงขั้นตั้งพระทัยจะ มอบราชสมบัติให้ แต่เจ้าชายอโศกได้แสดงความสามารถในการรณรงค์ยงยุทธกับพวกเจ้าเมือง ตักศิลา ซึ่งเป็นกบฏตั้งแข็งเมืองจนได้ชัยชนะ โดยตอนแรก พระเจ้าพินทุสารได้ส่งเจ้าชาย สุมนะพร้อมกองทัพไปปราบ แต่เจ้าชายสุมนะไม่สามารถปราบสำเร็จได้ พระองค์จึงส่งเจ้าชาย อโศกไปแทน เมื่อเจ้าชายอโศกปราบกบฏได้สำเร็จโดยที่ขณะนั้นเจ้าชายอโศกทรงมีพระชนมายุ ได้เพียง ๑๗ พรรษา ทำให้เจ้าชายอโศกมีชื่อเสียงปรากฏเลื่องลื่อว่ามีความสามารถเก่งกาจใน การรบโดดเด่นโด่งดังมากกว่าพระโอรสองค์อื่นๆ พร้อมกับเลื่องลือว่าทรงมีพระนิสัยดุร้ายมาก ดังนั้น พระเจ้าพินทุสารจึงทรงแต่งตั้งเจ้าชายอโศกให้ไปดำรงตำแหน่งอุปราช ปกครองกรุง อุชเชนี นครหลวงแห่งแคว้นอวันตี ซึ่งเป็นการเสือกไสให้ไกลออกไปจากราชธานีป้องกันไม่ให้ มาแย่งราชสมบัติกับเจ้าชายสุมนะ เพราะพระเจ้าพินทุสารทรงเกิดความปริวิตกกังวลพระทัย เกรงว่าจะมีการรบราฆ่าฟันแย่งชิงราชสมบัติในระหว่างพระราชโอรสของพระองค์ด้วยกัน อภิเษกสมรส กล่าวกันว่า ขณะเสด็จดำเนินไปครองเมืองอุชเชนีตามพระราชบัญชา เจ้าชายยอโศก เสด็จผ่านเมืองเวทิส ทรงพบสาวสวยนางหนึ่งนามว่า เวทิสา ผู้เป็นธิดาของเศรษฐีประจำเมือง จึงทรงตกหลุมรักและขออภิเษกสมรสตั้งนางเป็นมหาเทวีหรือพระวรชายาครองเมืองอุชเชนีอยู่ ด้วยกัน ทรงมีพระโอรสและพระธิดาที่ประสูติจากพระนางเวทิสามหาเทวี ๒ พระองค์ด้วยกัน คือ พระโอรสองค์แรก พระนามว่า มหินทะ ทรงประสูติเมื่อเจ้าชายอโศกมีพระชนมายุได้ ๒๐ พรรษา และพระธิดาองค์แรก พระนามว่า สังฆมิตตา ทรงประสูติเมื่อเจ้าชายอโศกมีพระชนมายุ ได้ ๒๒ พรรษา ภายหลังจากที่เจ้าชายอโศกราชทรงครองราชสมบัติ ณ นครปาฏลีบุตรแล้ว ได้ทรง สถาปนา พระนางอสันธิมิตตา เป็นพระอัครมเหสี กล่าวกันว่า พระองค์ทรงมีพระโอรสและ พระธิดากับพระมเหสีองค์อื่นๆ รวมกันทั้งหมด ๑๑ พระองค์